ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

การละเล่นไทย สร้างเสริมคุณธรรม

การเล่นในสมัยกรุงสุโขทัย
ว่าวหง่าว
โคเกวียน
การเล่นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
มอญซ่อนผ้า
สะบ้า
ไม้หึ่ง
ลิงชิงหลัก
การเล่นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
วิ่งวัว
ตะกร้อ
ขี่ม้าส่งเมือง
กลองหม้อตาล
หม้อข้าวหม้อแกง

ลิงชิงหลัก

(การเล่นในสมัยอยุธยา)
เป็นการเล่นที่ต้องใช้ความคล่องแคล่วในการวิ่งเปลี่ยนหลัก แข่งขันกันระหว่างผู้เล่น ที่เป็นลิงและผู้เล่นที่เปลี่ยนหลัก โดยมากนิยมเล่นกันในเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต เด็ก ๆ จะเล่นกัน ใต้ถุนบ้านหรือใต้ถุนโรงเรียน

วัตถุประสงค์
เพื่อฝึกไหวพริบ การสังเกต และความว่องไว

อุปกรณ์
หลักหรือเสา 3 ต้น โดยเอาจำนวนผู้เล่นลบออกด้วยหนึ่งจะเป็นจำนวนของเสาหรือหลัก แต่ถ้ามีผู้เล่นตั้งแต่ 8 คน จะลบออกสองหรือสามก็ได้

ผู้เล่น
อย่างน้อย 4 คน

รูปแบบ
วงกลม 1 วง มีผู้เล่นอยู่กลางวง 1 คน ทำหน้าที่เป็นลิง ดังภาพประกอบ


ภาพประกอบ รูปแบบการเล่นลิงชิงหลัก
ที่มา : จิรกรณ์ ศิริประเสริฐ. เกมเบ็ดเตล็ด หน้า 42

วิธีการเล่น

เลือกผู้เล่นให้ออกมาเป็นลิง 1 คนหรือ 2 คน แล้วแต่จำนวนของผู้เล่น ให้ผู้เล่นทุกคนที่ไม่ได้เป็นลิงยืนเกาะอยู่กับหลักของตนเอง ให้ลิงอยู่ตรงกลางระหว่างหลัก ผู้เล่นทุกคนจะต้องพยายามที่จะเปลี่ยนหลักหรือเสากัน แล้วผู้เล่นที่เป็นลิงจะต้องคอยแย่งหลักให้ได้ ถ้าลิง แย่งเกาะหลักไม่ได้จะต้องใช้ความว่องไวและการสังเกตมากขึ้น เพื่อที่จะแย่งหลักให้ได้ แต่ถ้าลิงแย่งหลักได้ ผู้ที่ไม่มีหลักจะกลายมาเป็นลิงแทน

ข้อเสนอแนะ

  1. ในการเปลี่ยนหลักถ้าผู้เล่นผู้ใดมาถึงหลักที่ว่างอยู่ก่อนจะได้หลักนั้นไป
  2. ผู้เล่นที่ชำนาญแล้ว จะทำท่าเปลี่ยนหลักกับผู้เล่นอื่น ๆ เพื่อเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของผู้เล่นที่เป็นลิง ผู้เล่นที่เหลือคอยวิ่งเปลี่ยนหลัก
  3. ผู้เล่นทำท่าว่าจะเปลี่ยนหลัก แล้วไม่เปลี่ยนถือว่าเป็นการล่อ ผู้เล่นคนอื่น จะเข้ามาชิงหลักไม่ได้ เพราะถือว่าเท้ายังยึดหลักอยู่

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย