ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
ประเพณีแต่งงานไททรงดำ
ขั้นตอนของประเพณีแต่งงาน
พิธีแต่งงาน
พิธีมอบลูกเขย-สะใภ้
พิธีสู่ขวัญญาติผู้ใหญ่และเพื่อนที่มาส่งเจ้าสาว
พิธีสู่ขวัญบ่าวสาว
หมอสู่ขวัญเริ่มพิธี
หมอสู่ขวัญเริ่มพิธี
เจ้าภาพมอบปานเครื่องเซ่น(ปานขวัญ)ให้แก่หมอสู่ขวัญทั้งหมด
หมอสู่ขวัญจะพูดบอกกล่าวถึงการวางตัวของบ่าวสาวในการอยู่ร่วมกันต้องทำใจให้หนักแน่น
มีการถนอมน้ำใจกัน หนักนิดเบาหน่อยให้อภัยซึ่งกันและกัน ให้อยู่ร่วมกันอย่าง
มีความสุขตลอดไป
เมื่อถึงเวลาอันสมควรแล้วจึงมีพิธี กางก่วงกางหยั่น (พิธีปูที่นอน)
มุ้งของโซ่งตัดเย็บด้วยผ้าสีดำตกแต่งด้วยเศษผ้าไหมสีต่างๆ ที่ขอบบนทั้ง 4 ด้าน
หูมุ้ง ทำด้วยเชือกที่มาเกี่ยวกับหูมุ้งทั้ง 4 นั้น
ตรงปลายจะทำด้วยกิ่งไผ่ที่มีลักษณะคล้ายผ้าไหมสีต่าง ๆ เช่นเดียวกัน
ทุกขั้นตอนในพิธีจะต้องมีผู้ใหญ่ที่มีสถานภาพใน
การครองเรือนดีเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไปเป็นผู้นำก่อนเสมอ
ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่คู่บ่าวสาวและเป็นตัวอย่างที่ดีในการครองเรือนต่อไป
ก่อนจะปูที่นอนและกางมุ้งนั้น หมอพิธีและญาติผู้ใหญ่จะต้อง สาดเงิน สาดกำ
คือโปรยเงินโปรยทองลงบนพื้นที่นั้นเพื่อให้เจ้าบ่าวได้เก็บไว้เป็นสิริมงคล แล้วให้
ลุงตา หรือ พี่ข้างเมียเลือกตะขอที่เกี่ยวหูมุ้งทั้งสี่ ซึ่งได้เตรียมไว้ 5 อัน
เลือกที่ดี ๆ 4 อันทิ้งไป 1 อัน
ตะขอหูมุ้งนี้ทำด้วยแขนงไผ่ที่มีกิ่งยื่นออกมาเป็นตะขอสำหรับเกี่ยวมุ้งได้
แล้วหมอพิธีก็จะกล่าวคำสั่งสอนดังคำสอนตอนหนึ่งว่า เป็นสะใภ้อย่าชวนผัวแยกบ้าน
ถึงเวลาเย็นอย่าอุ้มลูกไปเที่ยวนอกบ้านหมายความว่าเป็นสะใภ้ต้องไม่ทะเลาะกับพ่อแม่ของฝ่ายชายจนต้องชวนกัน
แยกบ้านไปอยู่ที่อื่น และให้หุงหาอาหารในตอนเย็น มิใช่อุ้มลูกออกไปเที่ยว บ้านอื่น
ที่กล่าวมานี้เป็นการสอนฝ่ายเจ้าสาว ส่วนการสั่งสอนเจ้าบ่าวนั้น
ดังตอนหนึ่งมีว่า บอกเมียอย่าถือพร้าบอกหล้าอย่าถือขวาน บอกกันอย่ากำฆ้อง
มีความหมายว่าฝ่ายสามีควรทำให้หนักแน่น
เวลามีปากเสียงกันอย่าพูดท้าทายภรรยาให้ใช้ของมีคมเหล่านั้น
จากนั้นผู้ประกอบพิธีเข้าซุ้มลงนอนก่อน พอเป็นตัวอย่างเพื่อเป็นเคล็ดว่า
ให้คู่สามีภรรยาจงมีชีวิตคู่ที่ดีดังตัวอย่างนี้ด้วย แล้วจากนั้นจึงให้ผู้บ่าวสาว
ได้เข้านอนต่อไป เป็นอันเสร็จพิธี
บรรณานุกรม
- จิรัชฌา วิณิช. (2541). การทดลองใช้เรื่องเล่าจากโครงเรื่องวรรณกรรมตะวันตก เพื่อวัดทัศนคติที่มีต่อการแก้ปมปัญหาครอบครัวของชาวบ้านลาวโซ่ง ต.หนองปรง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี. คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- สุมิตร ปิติพัฒน์, บัณฑร อ่อนดำ และพูนสุข ธรรมาภิมุข. (2521). ลาวโซ่ง วิถี ชีวิต พิธีกรรม ชุมชน เพชรบุรี. ห้องสมุดศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. แผนกอิสระสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
- อรไทย ผลดี, อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล, วิภากร วงศ์ไทย, ทัศนาลัย บูรพาชีพ และ วิไลศักดิ์ กิ่งดำ. (ม.ป.ป). ภาษาและวัฒนธรรมการแต่งกายของชนเผ่า ไทย. สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
- อัมรินทร์ แรงเพ็ชร. (2545). วงปี่ไม้แมน : ดนตรีในพิพิธเสนของชาวลาวโซ่ง ในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. คณะศิลปะศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล.
- บุญยง ชื่นสุวิมล. (2546). การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในพิธีกรรมชุมชน และ ประเพณีเกี่ยวกับชีวิต : ศึกษากรณีชุมชนลาวโซ่ง จังหวัดสุพรรณบุรี. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
- พิสมัย เอี่ยมกิจ. (2550). การศึกษาสภาพการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมของชุมชนลาวโซ่งเขตตำบลดอนคลัง จังหวัด ราชบุรี. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านจอมบึง.