ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ทฤษฎีธรรมชาติของความรู้

จิตนิยม (Idealism)
สัจนิยม (Realism)
ปฏิบัตินิยม (Pragmatism)

สัจนิยม (Realism)

สัจนิยมมีความเชื่อว่าผัสสะหรือประสบการณ์มีส่วนเข้าถึงความจริงได้เช่นกัน สิ่งที่เรารู้โดยตรงจากประการณ์นั้นไม่ขึ้นอยู่กับจิตของผู้รับรู้ กล่าวคือ จิตของผู้รับรู้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของความจริงสิ่งที่ปรากฏต่อประสาทสัมผัสของเราอย่างไร ความจริงก็เป็นอย่างนั้นไม่มีความแตกต่างระหว่างสภาพที่ปรากฎกับสภาพที่เป็นจริงอาจจะมีบางอย่างที่ประสาทสัมผัสของเรารับไม่ได้ เพราะประสาทสัมผัสของเรามีขอบเขตจำกัดในการรับรู้ บางครั้งมนุษย์ต้องสร้างเครื่องมือขึ้นมาช่วยขยายความสามารถของประสาทสัมผัสเพื่อให้รู้ความจริงได้มากขึ้น เช่น แว่นขยาย กล้องจุลทรรศน์ เป็นต้น

สัจนิยมเป็นทฤษฎีที่ให้ความสำคัญแก่ความมีอยู่ของวัตถุว่าเป็นจริง สัจนิยมแบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ

  1. สัจนิยมแบบผิวเผิน (Native Realism) สัจนิยมแบบผิวเผินยังเชื่อว่าความจริงเป็นเอกทัศในตัวมันเอง ไม่ขึ้นกับการรับรู้ของจิตหรือผู้รู้ ไม่ว่าจะมีใครไปรับรู้มันหรือไม่ มันก็คงมีอยู่ตามปกติของมัน และมันก็ปรากฎต่อประสาทของเราตามที่มันเป็น ความรู้เกิดจากการที่จิตของเราถ่ายแบบหรือลอกแบบสิ่งภายนอกพร้อมทั้งคุณภาพทุกอย่างของมัน ความเป็นจริงของแต่ละสิ่งเป็นอย่างไรจิตของเราสามารถถ่ายแบบได้หมดไม่ว่าจะเป็นขนาด สี รูปร่าง เสียง อุณหภูมิ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นคุณภาพ (quality) ที่มีอยู่จริงของวัตถุภายนอก มิใช่เป็นสิ่งที่จิตสร้างขึ้น
  2. สัจนิยมแบบตัวแทน (Representative Realism) สัจนิยมแบบตัวแทนเชื่อว่าเราไม่สามารถเข้าถึงความจริงโดยตรง แต่เข้าถึงด้วยข้อมูลอันเป็นตัวแทนของความจริง นักปรัชญาสัจนิยมแบบตัวแทนนี้คือ ล็อค ล็อคได้กล่าวว่า การรับรู้ (Perception) โลกภายนอกโดยผ่านทางมโนคติ (idea) มโนคติคือตัวแทนของวัตถุซึ่งไม่ได้มีอยู่จริงในจิตมนุษย์ แต่เป็นภาพถ่ายของโลกภายนอก แต่เรารับรู้โลกภายนอกโดยตรงไม่ได้ สิ่งที่เรารู้ได้คือ มโนคติที่มาของมโนคติมี 2 ทาง คือ ประสาทสัมผัส (sensation) คือ การรับรู้ข้อมูลจากภายนอก เช่น นัยต์ตาเห็นดอกกุหลาบ (ข้อมูลภายนอก) มโนคติของดอกกุหลาบเกิดขึ้นในจิต สิ่งที่รับรู้จึงไม่ใช่ดอกกุหลาบแต่เป็นมโนคติของดอกกุหลาบ (มโนคติได้จากประสาทสัมผัสชัดเจนกว่ามโนคติได้จากการไตร่ตรอง) การไตร่ตรอง (reflection) เป็นการทำงานของจิต เช่น มโนคติที่เกิดจากการรับรู้ (เห็น) ดอกกุหลาบย่อมชัดเจนกว่าการนึกถึงดอกกุหลาบ การไตร่ตรองเป็นข้อมูลภายในซึ่งจะเกิดไม่ได้หากไม่ผ่านประสาทสัมผัสมาก่อนเช่น ถ้าไม่เคยเห็นดอกกุหลาบมาก่อนก็จะไม่สามารถนึกถึงดอกกุหลาบได้
  3. สัจนิยมใหม่ (Neo-Realism) สัจนิยมใหม่เชื่อว่าทั้งประสบการณ์ และเหตุผลต่างก็มีส่วนในการเข้าถึงความจริงเหมือนกัน ดังนั้น มาตรการตัดสินความจริงควรเกิดจากการประนีประนอมความรู้ทุกอย่างของมนุษย์ นักปรัชญาสัจนิยมใหม่ ได้แก่ จอร์จ เอดเวิด มัวร์ (George Edward Moore) ได้กล่าวว่ามนุษย์เราสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ได้โดยตรงเรารับรู้อย่างไรความจริงก็เป็นอย่างนั้น ไม่มีความแตกต่างระหว่างสภาพที่เป็นจริงกับสภาพที่ปรากฏ เช่น เรารับรู้ว่าดอกกุหลายสีแดง ในความเป็นจริงดอกกุหลาบก็มีสีแดงแบบเดียวกับที่เรารับรู้

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย