ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>
แห่หางหงส์
การแห่หางหงส์ เป็นประเพณีในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งคนไทยเชื้อสายมอญที่เกาะเกร็ด
จะจัดพิธีแห่หางหงส์เพื่อเฉลิมฉลอง
หางหงส์จะทำด้วยผ้ามาตัดเย็บเป็นรูปธงยาวผูกปลายไม้ แห่ไปตามหมู่บ้าน
เพื่อเป็นศิริมงคล ความร่มเย็นเป็นสุขของบ้าน และถวายเป็นพุทธบูชา
ชาวบ้านมีศรัทธามาร่วมกันทำหางหงส์ ผู้มีศรัทธามักตัดผมตนเองไปผูกไว้ที่หางหงส์
แล้วแห่ไปถึงหมู่บ้าน เมื่อถึงวัดชาวบ้านจะทำการสักการะพระเจดีย์ที่สำคัญของวัดนั้น
แล้วเชิญหางหงส์ขึ้นสู่ยอดเสาหงส์ของวัด พระสงฆ์สวดชยันโตเพื่อเป็นศิริมงคล
ประเพณีแห่หางหงส์ยังทำกันในเกาะเกร็ดจนถึงปัจจุบันนี้
เนื่องจาก "หงส์" เป็นสัญลักษณ์ของชนชาติมอญมาแต่โบราณ
ซึ่งมีตำนานเกี่ยวกับ "หงส์" ในพงศาวดารมอญกล่าวไว้ว่า
ครั้งหนึ่งเมื่อประมาณพันปีเศษมาแล้วมีสำเภาใหญ่ลำหนึ่งแล่นมาจากพิทยานคร
ในประเทศอินเดีย เพื่อจะไปค้าขายยังสุวรรณภูมิลมได้พัดพาเรือสำเภาไปถึงบริเวณภูเขา
สุทัศนะมรังสฤษดิ์
บรรดาผู้คนในเรือสำเภานั้นแลเห็นหงส์ทองสองตัวกำลังเล่นน้ำอยู่ที่หาดทราย
พราหมณ์ผู้รู้จดหมายเหตุโบราณได้กราบทูลพระเจ้าบัณฑุราชาเจ้าผู้ครองพิทยานครว่า
เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังมีพระชนมายุอยู่นั้น
ได้เคยเสด็จมาถึงสถานที่หงส์ทองสองตัวลงเล่นน้ำ
ได้ทรงทำนายว่าสถานที่นี้จะได้เป็นพระมหานครต่อมา
เจ้าชายสมละกุมารและเจ้าชายวิมลกุมารโอรสฝาแฝดของพระเจ้าเสนะคงคาและพระนางวิมลาราชเทวีได้พาผู้คนมาตั้งบ้านเรือนและสร้างเมืองขึ้นมีพระอินทร์ลงมาช่วยสร้าง
เหตุที่มีหงส์ทองมาลงแล่นน้ำที่นั้น จึงขนานนามว่า "หงสาวดี"
หงส์จึงเป็นสัญลักษณ์ของชนชาติมอญมาแต่โบราณ และเพื่อเป็นสิริมงคลจึงนิยมทำเสาหงส์
ไว้ตามวัดเป็นพุทธบูชา
ประเพณีสงกรานต์
แห่สงกรานต์
แห่น้ำหวาน
แห่ข้าวแช่
แห่หางหงส์
สะบ้ามอญ
ทะแยมอญ
รำเจ้า
การปล่อยปลา
การทำบุญกลางบ้าน
สรงน้ำพระและเจดีย์มอญ
ประเพณีการจุดลูกหนู
ประเพณีทำบุญออกพรรษา
ประเพณีตักบาตรทางน้ำ
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
ปี่พาทย์มอญเกาะเกร็ด
ประเพณีรำมอญ
ประเพณีการเล่นเพลงเจ้าขาว
ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง
การละเล่นเพลงระบำบ้านไกล
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีทำบุญตักบาตรพระร้อยแปด