ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประเพณีในเกาะเกร็ด

รำเจ้า

การรำเจ้านี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของงานสงกรานต์ของคนมอญที่เกาะเกร็ด และเป็นการรำที่หมู่บ้านคนมอญถือปฎิบัติตั้งแต่เมื่ออยู่เมืองมอญ และคนไทยเชื้อสายมอญก๊ได้ปฎิบัติสืบต่อกันมา ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันนี้ โดยจะมีการรำเจ้าเป็นประเพณีทุกปีหลังเทศาลสงกรานต์ หรือขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 เป็นการแสดงความเคารพต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ทุกหมู่บ้านจะมีศาลประจำหมู่บ้านของตนเอง ได้แก่ศาลเจ้าพ่อชั้นผู้ใหญ่คือ "เจ้าพ่อเกษแก้วไชยฤทธิ์" หรือ "เจ้าพ่อหนุ่ม"

ตามตำนานการรำเจ้า เล่ากันต่อๆมาว่า เจ้าพ่อเกษแก้วไชยฤทธิ์เป็นหนุ่มโสด คังนั้นจึงเรียกกันว่า เจ้าพ่อหนุ่มอีกชื่อหนึ่ง คนไทยเชื้อสายมอญในเกาะเกร็ด จะถือว่า เจ้าพ่อเกษแก้วไชยฤทธิ์ หรือเจ้าพ่อหนุ่มเป็นเจ้าพ่อชั้นผู้ใหญมีศาลอยู่ที่เมือง "เมาะตะมะ" คนมอญเรียกว่า " เล๊ะจุ๊สะเป็นปล่าย " คนมอญเคารพนับถือมาก เมื่อคนมอญได้มาอยู่ในประทศไทย จึงได้ตั้งศาลให้ท่านที่เกาะเกร็ด ซึ่งอยู่ใต้วัดปรมัยยิกาวาสไม่ไกลนัก เจ้าพ่อหนุ่มเป็นที่พึ่งทางใจของคนมอญ ทุกๆปีจะมีการรำถวายเจ้าพ่อหนุ่มพร้อมด้วยเครื่องเซ่น นอกจากเป็นที่พึ่งทางใจแล้ว คนมอญยังเชื่อว่าเจ้าพ่อจะนำสิ่งที่ดีที่เป็นมงคลมาสู่ชีวิต ทำให้ชาวบ้านได้อยู่ดีมีความสุขทุกครอบครัวและทุกหมู่บ้าน

เครื่องเซ่นในพิธีรำเจ้า ประกอบด้วย ขนมต้มแดง ต้มขาว อย่างละถ้วย มะพร้าวอ่อน 1 ผล กล้วย 1 หวี ข้าวสวย 1 ถ้วย ไข่ต้ม 1 ฟอง วางบนข้าว นำสิ่งเหล่านี้จัดใส่ถาด นำไม้ไผ่อันเล็กๆ ยาวๆ เรียกไม้เกี้ยว มาหักเป็นรอยให้เป็นข้อ แต่ละข้อห่างกันประมาณครึ่งนิ้ว รอยข้อหมายถึงจำนวนคนในบ้าน บ้านไหนคนมากรอยข้อมาก ข้อหนึ่งหมายถึงคนหนึ่ง นำไม้เกี้ยวนี้ไปปักบนหวีกล้วยในถาด ชาวบ้านจะนำถาดเหล่านี้ไปวางบนโต๊ะที่จัดไว้ในบริเวณพิธี และจะต้องจัดหาผ้าม่วง ผ้าขาวม้า ผ้านุ่งที่เป็นผ้าไหมสวยๆ เตรียมไว้หลายๆชุด เพราะในการรำเจ้านี้ นอกจากเจ้าพ่อหนุ่มแล้ว จะมีเจ้าพ่อเจ้าแม่องค์อื่นๆ ซึ่งได้รับเชิฺญมารำร่วมด้วย

พิธีกรรมในการรำเจ้า จะเริ่มประมาณบ่าย 3 โมง ผู้ร่วมพิธีจะเป็นสตรีที่ได้รับเชิญให้เป็นร่างทรง ไม่จำกัดจำนวน ก่อนรำร่างทรงจะต้องรับเครื่องเซ่น คือ ถาดที่ชาวบ้านจัดมา และเมื่อเจ้าเข้าประทับในร่างทรงแล้ว ร่างทรงจะเลือกหยิบผ้านุ่ง หรือสไบมาสวมทับชุดเดิมหลังจากนั้นก็จะรำดาบ โดยหยิบดาบที่วางอยู่ขึ้นมารำไปรวบๆ รำใบหว้าก็หยิบใบหว้าขึ้นมา ใช้ปี่พาทย์มอญบรรเลงเพลงมอญโบราณ บรรเลงเป็นช่วงสั้นๆไม่มีคำร้อง เพลงแรกให้เชิญเพลงคล้ายๆเพลงสาธุการ เพลงรำดาบ เพลงรำใบไม้ เพลงหาบกล้วยในขณะที่รำนั้นเจ้า พ่อหนุ่มจะเข้าประทับในร่างทรง และท่าน็จะเลือกสาวๆให้ออกมารำด้วย โดยร่างทรงของเจ้าพ่อจะชี้ไปที่สาวๆ ซึ่งมักเป็นคนสวยให้ออกมารำ และจะมีเจ้าเข้าประทับก็จะต้องเป็นร่างทรง เมื่อเป็นร่างทรงแล้วจะต้องมารำถวาย เจ้าพ่อเป็นประจำทุกปี เวลาเจ้าพ่อจะกลับ ร่างทรงนั้นก็จะล้มลง

ประเพณีสงกรานต์
แห่สงกรานต์
แห่น้ำหวาน
แห่ข้าวแช่
แห่หางหงส์
สะบ้ามอญ
ทะแยมอญ
รำเจ้า
การปล่อยปลา
การทำบุญกลางบ้าน
สรงน้ำพระและเจดีย์มอญ
ประเพณีการจุดลูกหนู
ประเพณีทำบุญออกพรรษา
ประเพณีตักบาตรทางน้ำ
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
ปี่พาทย์มอญเกาะเกร็ด
ประเพณีรำมอญ
ประเพณีการเล่นเพลงเจ้าขาว
ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง
การละเล่นเพลงระบำบ้านไกล
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีทำบุญตักบาตรพระร้อยแปด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย