ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประเพณีในเกาะเกร็ด

การปล่อยปลา

เนื่องจากคนมอญส่วนมากมีอาชีพเกษตรกรรม การเดินทางสัญจรตามท้องทุ่ง ในบางฤดูกาลพบเห็นปลาตกคลัก เพราะขาดน้ำอยู่เสมอ จึงพากันนำไปปล่อยที่แม่น้ำ ต่อมาจึงได้กลายเป็นประเพณีปล่อยปลาในวันสงกรานต์ เพราะเดือนเมษายนของไทยเป็นเดือนแห่งการขาดฝน พิธีกรรมปล่อยปลาถือเป็นการช่วยต่ออายุสัตว์ คนมอญจึงถือว่าการปล่อยปลาในวันสงกรานต์ เป็นการสะเดาะเคราะห์ช่วยต่ออายุของผู้กระทำ และเป็นการนำตนไปประสบโชคดี หลังวันที่ 15 เมษายนแล้ว จะมีขบวนแห่ปลาและนกของคนไทยเชื้อสายมอญที่เกาะเกร็ด หนุ่มสาวจะแต่งตัวกันอย่างงามพริ้ง หิ้วถังปลา หรือโถแก้วใส่ปลาและกรงนกที่ตกแต่งสวยงาม เดินเป็นขบวนนำปลาไปปล่อยที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาส และปล่อยนกที่บริเวณลานวัดนั่นเอง

ตามตำนานการปล่อยปลา กล่าวไว้ว่า เมื่อโบราณกาลมีพระอาจารย์รูปหนึ่งมีลูกศิษย์หลายคน พระอาจารย์มี ความชำนาญในการทายโชคชะตาราศี วันหนึ่งได้ตรวจดวงชะตาศิษย์รักก็ทราบว่าอยู่ในเกณฑ์อายุ ถึงฆาตจะต้องตายในไม่ช้า ด้วยความสงสารจึงบอกให้เณรน้อยกลับไปเยี่ยมบ้าน เพื่อเยี่ยมโยม บิดามารดาเป็นครั้งสุดท้าย โดยมิได้บอกเรื่องดวงชะตา สามเณรดีใจออกเดินทางเพื่อกลับไปยัง บ้านของตน ระหว่างทางได้ผ่านหนองน้ำที่มีน้ำแห้งขอด มีปลาตกคลักเป็นจำนวนมากจึงจับปลา เหล่านั้นไปปล่อยแม่น้ำให้รอดตายทุกตัว จากนั้นจึงเดินทางต่อไปจนถึงบ้าน เยี่ยมโยมบิดามารดา อยู่นานพอสมควรจึงเดินทางกลับมายังสำนักอาจารย์ ฝ่ายอาจารย์เห็นศิษย์กลับมาอย่างปลอดภัย ก็แปลกใจจึงสอบถามเรื่องราวต่างๆ เมื่อทราบว่าลูกศิษย์ได้ประกอบความดีด้วยเมตตาจิต ด้วย การช่วยชีวิตปลาจึงรอดปลอดภัยมาได้

ประเพณีสงกรานต์
แห่สงกรานต์
แห่น้ำหวาน
แห่ข้าวแช่
แห่หางหงส์
สะบ้ามอญ
ทะแยมอญ
รำเจ้า
การปล่อยปลา
การทำบุญกลางบ้าน
สรงน้ำพระและเจดีย์มอญ
ประเพณีการจุดลูกหนู
ประเพณีทำบุญออกพรรษา
ประเพณีตักบาตรทางน้ำ
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
ปี่พาทย์มอญเกาะเกร็ด
ประเพณีรำมอญ
ประเพณีการเล่นเพลงเจ้าขาว
ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง
การละเล่นเพลงระบำบ้านไกล
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีทำบุญตักบาตรพระร้อยแปด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย