ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประเพณีในเกาะเกร็ด

ประเพณีตักบาตรทางน้ำ

ประเพณีตักบาตรทางน้ำเป็นประเพณีในเทศกาลออกพรรษา ซึ่งชาวเกาะเกร็ด และชาวอำเภอปากเกร็ดจะทำกันในวันพระขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 โดยคนมอญจะตบแต่งเรือสำหรับให้พระภิกษุสงฆ์และลูกศิษย์จากวัดต่างๆ พายออกไปรับบิณฑบาตตามบ้านเรือนของคนมอญที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ตะวันขึ้นเป็นต้นไป คนมอญจะพร้อมกันทำบุญมากกว่าวันอื่นๆ เรือแต่ละลำส่วนมากเป็นเรือขนาดใหญ่ เรือบางลำมีลูกศิษย์มากกว่า 20 คน ทั้งยังมีเสียงเพลงที่ลูกศิษย์แต่ละลำ ร้องรำทำเพลงดังไปทั่วท้องน้ำอย่างสนุกสนานครึกครื้น เมื่อครบทุกหมู่บ้านแล้วจึงกลับวัด

สำหรับเพลงที่ร้องนั้น น่าสนใจมาก เรียกกันว่า "เพลงโหยนโหย่" ท่วงทำนองเพลงเป็นการให้สัญญาณกำกับจังหวะแก่ฝีพาย ขณะพายเรือตามแบบมอญ ขอยกตัวอย่าง ดังนี้

ต้นเสียง - เยอว ป๊ะ เยอว
ลูกเรือ - เย้อว (พร้อมกับจ้วงฝีพาย)

เดิมที่เดียวใช้คำร้องเป็นภาษามอญ ต่อมามีการผูกคำร้องเป็นภาษาไทย เนื้อร้องมีไม่มากนัก เป็นการร้องด้นโดยใช้ทำนอง "โหยนโหย่" เป็นเครื่องประกอบทำนอง โดยคำลงท้ายเป็นสระโอ ตัวอย่าง เช่น

ต้นเสียง - ไชโย โหยนโหย่ ผมมาก็ที่โหล่
ลูกคู่รับ - ไชโย โหยนโหย่ ขอแกงผมสักโถ
ไชโย โหยนโหย่ แกงหมูชิ้นโตๆ
ไชโย โหยนโหย่ ขอให้ได้บุญอักโข
ไชโย โหยนโหย่ ให้พรั่งพร้อมด้วยลาโภ ฯลฯ

ปัจจุบันทางอำเภอปากเกร็ดได้จัดให้มีการประกวดการตักบาตรทางน้ำด้วย ทำให้มีการเปลี่ยนรูปแบบประเพณีเดิม เช่น ตบแต่งเรือมากเกินไป มีการนำผู้หญิงร่ายรำในเรือด้วย นับว่าไม่สมควรอย่างยิ่ง

ประเพณีสงกรานต์
แห่สงกรานต์
แห่น้ำหวาน
แห่ข้าวแช่
แห่หางหงส์
สะบ้ามอญ
ทะแยมอญ
รำเจ้า
การปล่อยปลา
การทำบุญกลางบ้าน
สรงน้ำพระและเจดีย์มอญ
ประเพณีการจุดลูกหนู
ประเพณีทำบุญออกพรรษา
ประเพณีตักบาตรทางน้ำ
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
ปี่พาทย์มอญเกาะเกร็ด
ประเพณีรำมอญ
ประเพณีการเล่นเพลงเจ้าขาว
ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง
การละเล่นเพลงระบำบ้านไกล
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีทำบุญตักบาตรพระร้อยแปด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย