ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประเพณีในเกาะเกร็ด

ประเพณีรำมอญ

รำมอญ เป็นนาฏศิลป์ที่เก่าแก่ของคนมอญ และคงเหลืออยู่สืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ลูกหลานมอญรุ่นหลังๆ นี้ ยังคงได้รับการถ่ายทอดศิลปะนี้ไว้ด้วยดีตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกาะเกร็ด พระประแดง และปทุมธานี ยังมีผู้ที่รำมอญได้จำนวนมาก ซึ่งรวมทั้งมี วงปี่พาทย์มอญ บรรเลงประกอบการรำ ก็ยังคงมีอยู่หลายวงเช่นกัน แต่ละวงล้วนมีฝีมือเยี่ยมทางบรรเลงเพลงมอญกันทั้งสิ้น คนมอญจะเรียก รำมอญ ว่า " ปัว-หะเปิ้น " จะมีรำมอญในโอกาสมีงานมงคล งานสมโภชต่างๆ ตลอดจนงานศพโดยเฉพาะในงานศพพระสงฆ์ ชาวบ้านจะนิยมรำถวายหน้าศพเพราะถือว่าได้บุญ ในงานศพคฤหัสถ์ผู้มีอาวุโส หรือผู้ที่เป็นที่เคารพนับถือ ชาวบ้านจะมารำด้วยความเคารพเช่นกัน

ท่ารำ
ท่ารำดั้งเดิมมี 10 ท่า ที่เกาะเกร็ดนิยมรำ 12 ท่า (เพลง) แต่ละท่ามีปี่พาทย์บรรเลงประกอบการรำ ก่อนรำผู้รำจะทำการกราบครั้งหนึ่ง และเมื่อรำจบแล้วจะกราบอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อแสดงการเคารพ เพราะการรำมอญนั้น โดยปกติมักจะรำเพื่อแสดงความเคารพ มิใช่รำเพื่อความรื่นเริงแต่ เพียงอย่างเดียว การรำมอญผู้รำจะอาศัยจังหวะตะโพนมอญเป็นหลัก หน้าทับของการตี ตะโพนมอญ เมื่อลงจังหวะตีทางหน้าด้านใหญ่ ผู้รำจะทิ้งมือลงให้พอดีกับจังหวะของตะโพน การเคลื่อนไหวตัวของผู้รำจะทำโดยการเอนตัวอย่างอ่อนช้อย และกระเถิบเท้าไปทีละ น้อยๆ ตามจังหวะดนตรี ส่วนใหญ่จะใช้มือร่ายรำเคลื่อนไหวน้อยมาก ซึ่งต่างกับการรำไทย การรำมอญผู้รำจะเหยียดมือทั้งสองออกรำในท่านิ่งอยู่กับที่ พร้อมกับการเคลื่อนไหวลำตัวดังกล่าวข้างต้นนี้ เมื่อรำจบแต่ละเพลงผู้รำจะทิ้งมือลง ปี่พาทย์จะขึ้นเพลงใหม่

การแต่งกาย
ผู้รำแต่งกายแบบสตรีมอญ เครื่องแต่งกายผ้านุ่งใช้ผ้าซิ่นยาว กรอมเท้า เสื้อแขนกระบอก พาดผ้าสะไบไหล่เดียว หรือคล้องคอปล่อยชายให้ห้อยอยู่ ข้างหน้าทั้งสองชาย และจะใช้เครื่องแต่งกายสีอะไรก็ได้ แม้ในงานศพ เพราะคนมอญ ไม่ถือว่าในงานศพต้องแต่งสีดำ จึงแต่งสีอะไรก็ได้ รำมอญยังคงมีอยู่ในหมู่ชาวมอญและ คงจะสืบทอดศิลปะนี้ไปอีกนาน อันเป็นการแสดงถึงสัญลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรมอันมี ค่ายิ่งที่คนมอญได้พยายามรักษาไว้ให้คงอยู่คู่กับความเป็นมอญตลอดเวลาที่ยาวนาน การ รำมอญในจังหวัดนนทบุรี ยังคงมีสืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ลูกหลานมอญรุ่นหลังๆ ได้ รับการถ่ายทอดศิลปะนี้ไว้ด้วยดีตลอดมา รำมอญที่นับว่างดงามสมบูรณ์แบบทุกขบวนท่า รำที่สุดในประเทศไทยขณะนี้ คือรำมอญของชาวบ้านตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด

เพลงประกอบการรำ
เริ่มต้นด้วยการบรรเลงเพลงโหมโรง มอญเรียกเพลงนี้ว่า " ซอ-ป๊าด " จะได้ยินเพลงนี้ทุกวันทางสถานีวิทยุกระจายเสียงกรมประชาสัมพันธ์ ในเวลา 8.00 น. เวลาเทียบนาฬิกา เพลงนี้เป็นเพลงโหมโรงของมอญ ปี่พาทย์มอญจะบรรเลงทุกครั้งก่อนมีการรำ จากนั้นจึงบรรเลงเพลงที่ 1 ถึง 10 ประกอบการรำของผู้รำ

เพลงต่างๆ มีเนื้อร้อง และมีชื่อเพลงเป็นภาษามอญดังนี้

  • เพลงที่ 1 ชื่อเพลง - " ยาก-หะเปิ้น "
  • เพลงที่ 2 ชื่อเพลง - " ถะบ๊ะ-ซาน "
  • เพลงที่ 3 ชื่อเพลง - " ดอม-ทอ "
  • เพลงที่ 4 ชื่อเพลง - " ขะวัว-ตอห์ "
  • เพลงที่ 5 ชื่อเพลง - " ขะวัว-ขะนอม "
  • เพลงที่ 6 ไม่ทราบชื่อเพลง
  • เพลงที่ 7 ชื่อเพลง - " กะ-ยาน"
  • เพลงที่ 8 ชื่อเพลง - " หะ-ว่าย "
  • เพลงที่ 9 ชื่อเพลง - " เมี่ยง-ปล้าย-หะเลี่ย "
  • เพลงที่ 10 ชื่อเพลง - " ป๊าก-เมียะ "

ที่น่าประทับใจก็คือ คนมอญในเกาะเกร็ดได้รำมอญถวายหน้าพระที่นั่งมาแล้วรวม 3 ครั้งด้วยกัน คือ ครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2427 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินมาฉลองวัดปรมัยยิกาวาส ครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2474 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ พระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าอาวาสวัดปรมัยยิกาวาส เป็นที่พระสุเมธาจารย์บริหารธรรมขันธ์รามัญสังฆนายก ในการฉลองสมณศักดิ์มีการำมอญถวายเป็นการบูชาด้วย และครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จมายังวัดปรมัยยิกาวาส เพื่อสำราญพระอริยาบท

ประเพณีสงกรานต์
แห่สงกรานต์
แห่น้ำหวาน
แห่ข้าวแช่
แห่หางหงส์
สะบ้ามอญ
ทะแยมอญ
รำเจ้า
การปล่อยปลา
การทำบุญกลางบ้าน
สรงน้ำพระและเจดีย์มอญ
ประเพณีการจุดลูกหนู
ประเพณีทำบุญออกพรรษา
ประเพณีตักบาตรทางน้ำ
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
ปี่พาทย์มอญเกาะเกร็ด
ประเพณีรำมอญ
ประเพณีการเล่นเพลงเจ้าขาว
ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง
การละเล่นเพลงระบำบ้านไกล
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีทำบุญตักบาตรพระร้อยแปด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย