ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ประเพณีในเกาะเกร็ด

ประเพณีลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีความเชื่อของคนไทยที่นิยมทำกันในวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งสืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ เรื่อยมาจนถึงสมัยปัจจุบัน คือในตอนกลางคืนนิยมจัดงานสนุกสนานรื่นเริง และร่วมกันปลดปล่อยความทุกข์กับสิ่งไม่ดีที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน นำสัญลักษณ์บางอย่างของตนเองใส่ในกระทง เช่น เศษผม เศษเงิน เมื่อลอยกระทงก็จุดธูปเทียนกล่าวขอขมาพระแม่คงคา เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ตนเอง

สำหรับประเพณีลอยกระทงที่เกาะเกร็ดและอำเภอปากเกร็ด ที่จัดในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปีนั้น มักจะจัดที่เกาะเกร็ด เพราะเป็นสถานที่ที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับการลอยกระทง เนื่องจากมีวัดและบ้านเรือนส่วนใหญ่อยู่ริมแม่น้ำอยู่แล้ว โดยทางอำเภอปากเกร็ดและเทศบาลตำบลปากเกร็ดได้จัดงานลอยกระทงที่วัดปรมัยยิกาวาส เพราะสถานที่เหมาะสมกับการลอยกระทงอย่างยิ่งนั่นเอง แต่ปีนี้ (พ.ศ. 2542) ได้จัดที่เมืองทองธานี ซึ่งสถานที่ไม่ได้อยู่ริมแม่น้ำเหมือนที่เกาะเกร็ดส่วนทางจังหวัดนนทบุรีได้ร่วมกับเทศบาลเมืองนนทบุรี จัดให้มีงานประเพณีลอยกระทงขึ้น ณ บริเวณริมเขื่อนหน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า โดยในวันดังกล่าว จะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวดการประดิษฐ์กระทงดอกไม้สด การประกวดกระทง ในภาคค่ำก็จะมีการประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพตลอดคืน เมื่อเวลา 24.00 น. มาถึง ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน รวมทั้งนางนพมาศก็จะพร้อมใจกันร่วมลอยกระทงบริเวณริมเขื่อนเป็นภาพที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง

ประเพณีสงกรานต์
แห่สงกรานต์
แห่น้ำหวาน
แห่ข้าวแช่
แห่หางหงส์
สะบ้ามอญ
ทะแยมอญ
รำเจ้า
การปล่อยปลา
การทำบุญกลางบ้าน
สรงน้ำพระและเจดีย์มอญ
ประเพณีการจุดลูกหนู
ประเพณีทำบุญออกพรรษา
ประเพณีตักบาตรทางน้ำ
ประเพณีตักบาตรดอกไม้
ปี่พาทย์มอญเกาะเกร็ด
ประเพณีรำมอญ
ประเพณีการเล่นเพลงเจ้าขาว
ประเพณีการตักบาตรน้ำผึ้ง
การละเล่นเพลงระบำบ้านไกล
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีทำบุญตักบาตรพระร้อยแปด

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย