ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ญาณวิทยาของพระพุทธศาสนา
พระพุทธองค์ได้ทรงสอนถึงที่มาหรือกำเนิดของความรู้ของมนุษย์ไว้หลายครั้ง หลายหน
ในพระสูตรต่าง ๆ ซึ่งอาจนำมารวบรวมไว้เป็นญาณวิทยาของพระพุทธศาสนา (Buddhist
Epistemology ) ได้ จัดได้ว่าเป็นบทต้นของปรัชญาเถรวาท
ต่อไปก็มีภววิทยาของพระพุทธศาสนา(Buddhist Ontology) ซึ่งว่าด้วย สิ่งที่มี
ในทำนองที่ว่า อะไรมี อะไรไม่มี และถ้าสิ่งหนึ่งมีอยู่จริง มันมีอยู่อย่างไร
ท้ายที่สุดก็ถึงข้อใหญ่ใจความในปรัชญาเถรวาทคือ จริยศาสตร์ของพระพุทธศาสนา(Buddhist
Ethics) ซึ่งว่าด้วยความประพฤติของมนุษย์และแนวทางแห่งความประพฤติที่ดีงาม
อวิชชาเป็นธรรมชาติเดิมของคนเรา คนเราเริ่มชีวิตด้วย ความไม่รู้
หรืออวิชชามาก่อน พระวิสุทธิมรรคสาธยายว่า
วิทยาการที่คนเราจะเรียนให้รู้ได้นั้นมีอยู่มากมายด้วยกัน
และปัญญาในทางพระพุทธศาสนา
หมายถึงวิทยากรว่าด้วยการหลุดพ้นและวิถีทางอันนำไปสู่การหลุดพ้นจากกิเลส ตัณหา
ปัญญาย่อมได้จากการแสวงหาด้วยการศึกษา
และการทำพสมาธิช่วยในการทำจิตให้หลุดพ้นจากการเกาะโลก กัมมันตภาพของคนเราคือ
การศึกษา จึงเป็นการ ดับอวิชชา และสร้างวิชาขึ้นในจิตต์ใจของเรา
เป็นการกระทำเพื่อทำให้จิตต์ใจเคลื่อนจาก ความไม่รู้ไปสู่ความรู้
ในพระพุทธศาสนาจึง ไม่มีอะไรที่เราไม่รู้
จะมีก็แต่สิ่งที่เรายังไม่ได้เรียนรู้เท่านั้น
จิตใจของเรามีอวิชชาเป็นมูลฐานมาแต่เดิมจนกระทั่งต่อเมื่อได้เรียน
ได้แสวงปัญญาจนมีปัญญาดีแล้ว ประกอบกับการปฏิบัติธรรมอย่างเพียงพอดีแล้ว
คนเราจึงจะหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา มีจิตต์บริสุทธิ์เป็นพระอริยเจ้าได้
พุทธศาสนานิกายมหายานหรือเซ็นซึ่งเชื่อในการมีจิตต์บริสุทธิ์หรือธาตุพุทธะมาแต่เดิม
จึงมีคำสอนตรงกันข้ามกับปรัชญาเถรวาท แต่ไพล่ไปสอนเหมือนกับปรัชญาเวทานตะของพราหมณ์
ซึ่งเชื่อว่า อาตมันหรือตัวตนของมนุษย์เป็นสิ่งบริสุทธิ์โดยธรรมชาติมาแต่ดั้งเดิม
ปรัชญาเถรวาทสอนเบิกโรงไว้ในญานวิทยาของพระพุทธศาสนาว่า
มนุษย์เรามีอวิชชหรือความไม่รู้เป็นมูลฐานมาแต่เดิม ต่อเมื่อเรียนจึงค่อย ๆ
รู้ขึ้นทีละน้อย ๆ จนกระทั่งรู้มากที่สุด
คือรู้เท่าถึงเหตุและผลของสรรพสิ่งทั้งหมดและสามารถทำให้จิตต์ใจของผู้รู้หลุดพ้นจากกิเลสตัณหาได้
» การเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
» ปรัชญาเถรวาทให้ข้อแนะนำไว้ในกาลามสูตร
» ก่อนที่จะยอมรับหลักคิดหรือความรู้ใด ๆ เป็นสรณะ
» วิทยาอักซิโอในพุทธปรัชญาพุทธจริยศาสตร์
» พุทธปรัชญาเป็นลัทธิมัชฌิมาปฏิปทา
» ปรัชญาเถรวาทและปฏิมากรรมวิทยา
» พุทธจริยศาสตร์ (BUDDHIST ETHICS )
» พุทธจริยศาสตร์ว่าด้วย กรรม
» คำสอนว่าด้วยปรุงจิตต์แต่งกรรม
» ภารกิจของพระพุทธศาสนาต่อประเทศไทยและพุทธศิลปะในประเทศไทย
» ภาระกิจของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
» พระสงฆ์
» นักศาสนา