ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ปรัชญาเถรวาทให้ข้อแนะนำไว้ในกาลามสูตร
ปรัชญาเถรวาทให้ข้อแนะนำไว้ในกาลามสูตร เป็นการตั้งข้อสงสัยดังนี้
คนเรามีความใคร่ที่จะเชื่ออย่างงมงายคนเราจะอยู่ไม่ได้ถ้าขาดศรัทธา
ถ้าหากขาดหลักที่จะดำเนินการ ก็จะรับเอาหลักที่ผู้อื่นเสนอให้
เบื้องหลังของศรัทธอันเหนียวแน่นคือความอยากได้ผู้ที่หวังปัญญาอันแท้จริง
ย่อมจำต้องตั้งข้อสงสัยไว้เสียทุกสิ่งอย่างไปในหลักคิดที่มีอยู่และที่มีผู้อื่นนำมามอบให้
เรื่องของการตั้งข้อสงสัยนี้ได้เกิดแก่ชาวเมืองกาลามะแล้วในสมัยพุทธกาล
ในเวลานั้นอินเดียกำลังตกอยู่กลียุค ประชาชนหาที่พึ่ง
และอภิสิทธิ์ชนที่มีความสุขเที่ยวแสวงหาธรรมอันจะให้อมฤตหรือความไม่ตาย
จึงเกิดมีนักบวชคิดหลักปรัชญาและศาสนา เป็นหตุให้เกิดการกรโจมตีศรัทธาของกันและกัน
ดังนั้นชาวเมืองกาลามะจึงทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นปรมาจารย์ใหม่เพื่อทดสอบความจริงทันที
ต่อมา นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสชื่อ Descartes จึงได้ค้นพบวิธี สงสัยไว้ก่อน
ของชาวกาลามะและนำมาเป็นหลักสำคัญในปรัชญาของเขาที่ชื่อว่า ความสงสัยในปรัชญา
(Philosophical Doubt) ซึ่งยังคงมีชื่อเสียงถึงปัจจุบัน
เนื่องเขานำเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มใช้เป็นครั้งแรก
เดค๊าทซ์กล่าวว่าครั้งหนึ่งจิตต์ใจเต็มไปด้วยความสงสัยแห่งปรัชญาเพราะยืนยันว่าแม้สัมผัสได้ก็อาจหลอกได้และเขพบว่าความมีอยู่ของตัวเขาเองซึ่งเป็นตัวผู้สงสัยเป็นรากฐานสร้างความคิดต่อไป
ถ้าหากเราถือความสงสัยนำมาอ้าง ตัวผู้สงสัยมีอยู่จริงเป็นแก่นแห่งความคิดคืบต่อไป
ถ้าหากคิดว่าตัวเองถูกหลอกลวง
ตามคำของเดค๊าทซ์เองแล้วนั้นตัวที่มีอยู่อย่างแน่นอนคือตัวเราเองเพราะตัวเราเองเป็นผู้ถูกลวง
ดังนั้นเขาจึงสรุปว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้คิด (สงสัย)ฉะนั้นข้าพจึงมีอยู่ ( I THINK
THEREFORE I AM.) เขาได้ชื่อว่าบิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่
ซึ่งได้ตั้งหลักทดสอบความจริงไว้ว่า
- จะต้องไม่รับว่าอะไรเป็นความจริงเลย หากตัวเราเองยังมองไม่เห็นว่าเป็นเช่นนั้น
- จะต้องแยกแยะพิจารณาความรู้เท่าที่เรามี ออกไป
- จะต้องใช้ความคิดให้ถูกหลัก (เหตุผล )
- จะต้องทดสอบผลที่เราคิดขึ้นมาได้ว่าเป็นจริง
นี่เป็นหลักตรรกวิทยาทางวิทยาศาสตร์ที่เรียกกันว่า Scientific Method นั่นเอง
และด้วยหลักสี่ประการนี้วิชาวิทยาศาสตร์จึงเกิดขึ้นมาได้
พระพุทธองค์ได้ทรงเทศนาแนะให้ชาวกาลามะรู้จักสงสัยในความรู้อันได้มาสองทางด้วยกัน
ทั้งนี้ปรากฏในกาลามสูตรอาจารย์สุชีพ บุญญานุภาพได้ย้ำเสมอ ๆ
ในการเผยแผ่ธรรมของเขาคือสงสัยในความรู้หรือคำบอกเล่าที่ได้จากผู้อื่น
สงสัยแม้ในความรู้ที่ตัวเองได้มาโดยตรง
สงสัยในความรู้ที่ได้จากผู้อื่น
» การเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
» ปรัชญาเถรวาทให้ข้อแนะนำไว้ในกาลามสูตร
» ก่อนที่จะยอมรับหลักคิดหรือความรู้ใด ๆ เป็นสรณะ
» วิทยาอักซิโอในพุทธปรัชญาพุทธจริยศาสตร์
» พุทธปรัชญาเป็นลัทธิมัชฌิมาปฏิปทา
» ปรัชญาเถรวาทและปฏิมากรรมวิทยา
» พุทธจริยศาสตร์ (BUDDHIST ETHICS )
» พุทธจริยศาสตร์ว่าด้วย กรรม
» คำสอนว่าด้วยปรุงจิตต์แต่งกรรม
» ภารกิจของพระพุทธศาสนาต่อประเทศไทยและพุทธศิลปะในประเทศไทย
» ภาระกิจของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
» พระสงฆ์
» นักศาสนา