ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์
ชีวประวัติของพระพุทธองค์ได้แสดงถึงการได้มาซึ่งความรู้จากการศึกษาอบรมก่อน และพระองค์ก็ได้ทรงนำความรู้เหล่านี้ไปทดสอบดูผล จนกระทั่งทรงคิดหลักได้ใหม่อันนำไปยังผลคือความหลุดพ้นที่ทรงแสวงอยู่ ในการนี้พระองค์ทรงใช้วิธีไตร่ตรองทบทวนดู ความชัดเจนในชีวิตที่ผ่านมาแล้ว เป็นความจัดเจนในข้อเท็จจริงอันทรงประสพทางประสาทสัมผัสมาตั้งแต่ต้นกล่าวคือตั้งแต่ทรงเห็นคนแก่ คนชรา คนป่วย คนตาย และนักพรตเพื่อให้เข้าใจข้อนี้ดี เราควรพิจารณาเป็นข้อ ๆ ไปว่า นอกจากความรู้ที่เราได้จากการศึกษาแล้ว เราได้ความรู้จากทางใดบ้าง
- ความรู้คนเราอาจได้จากทางสัญชาตญานแต่ความรู้อย่างนี้มีวงศ์จำกัด
ความรู้แบบได้จากสัญชาตญาณเช่นนี้
มนุษย์เราย่อมมีเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่
แต่เหตุการณ์เกี่ยวกับเพศอาจทำให้มนุษย์วัยต่าง ๆ กันสำนึกรู้ในเรื่องเพศ
ช้าเร็วผิดกันได้
- มีการเชื่อถือว่าความรู้ของคนเรา แต่ชาติก่อนอาจถูกระลึกขึ้นมาได้ในชาตินี้
กล่าวคือมีการทอดต่อกันทางจิตต์ใจของคนชาตินี้ที่เป็นคน ๆ เดียวกัน
- ปราชญ์โบราณและผู้รู้ ชั้นสูง
บางคนในสมัยนี้สอนว่าความรู้เกิดจากการบันดาลให้มีขึ้นในจิตต์ใจของคนเราโดยสิ่งศักดิ์สิทธิ์
บางทีก็สอนว่าความร็เป็นของมีอยู่โดยตัวของมันเอง และเป็นของศักดิ์สิทธิ์
ตัวอย่างที่ดีที่สุดคือพระเวทของพวกพราหมณ์ในอินเดีย
เมื่อมีพระผู้เป็นเจ้าคอยดลใจ จิตต์ของพระองค์รวมกับจิตต์ด้อย ๆ ของคนเราอยู่
เราก็ได้ความรู้ตรงจากพระผู้เป็นเจ้านั้น
หรือเมื่อเราบำเพ็ญโยคกรรมจนกระทั่งขึ้นสูงถึง ชั้นสำเร็จ
แล้วพระเวทที่มีอยู่ชั่วนิรันดรก็เคลื่อนมาอยู่ในจิตต์ใจ หรือมาดลใจเรา
- มีความรู้ดั้งเดิมติดมากับตัวคนเรา
บางอย่างมันคือความรู้ในการกำหนดหมายที่คนเรามีร่วมกันอยู่
นักปรัชญเอกของเยอรมันชื่อ Kant เรียกความรู้ประเภทนี้ว่า
ความรู้ในความเกี่ยวข้องระหว่างสรรพสิ่งเช่นรู้ว่า ปลาย เกี่ยวกับ ต้น
รู้ว่าชะลอมคือประมวญแห่งไม้ไผ่สานเป็นต้น ความรู้ดั้งเดิมหรือ Apriori
knowledge เช่นนี้ ค๊านท์อ้างว่าเรามีติดตัวมาแต่กำเนิด
มิใช่ได้มาจากการศึกษาแต่อย่างไร
แต่เราคิดว่าความรู้ดั้งเดิมได้จากความรู้ทางประสาทสัมผัสนั่นเอง
และฉะนั้นจึงหาใช่ความรู้ดั้งเดิมที่มีมาในจิตต์ใจแต่เดิมทางเดียวจริงๆ ไม่
- ความรู้มนุษย์นั้นย่อมได้จากการสัมผัสโลกภายนอกเป็นปฐม
กล่าวคือได้มาทางประสาทสัมผัสนั่นเอง แต่มิใช่ได้จากความคิดล้วน ๆ
แม้ความคิดของเราเองก็หาใช่อื่นไกลไม่
หากเป็นการสะท้อนของสิ่งที่เห็นนอกกายเราขึ้นในสมองของเรานั่นเอง
เรามีอำนาจพิเศษอยู่อย่างเดียวคืออำนาจความทรงจำ
- ความรู้ได้จากการคิดตามตรรก มีนักคิดสมัยใหม่ผหลายท่านทีเดียวเชื่อว่าประสาทสัมผัสทำให้เรารู้อะไรลึกซึ้งไม่ได้ จึงสอนว่าเหตุผลจะนำเราไปสู่ความแท้จริงที่อยู่ซ่อนเร้นลึกซึ้ง การเชื่อมั่นนี้ทำให้เกิดการเก็งความจริงทางปรัชญาด้วยเหตุผลทางตรรกวิทยา และทำให้เกิดวิทยาการ สูง ที่เรียกกันว่าอภิปรัชญาขึ้น
การพบความทุกข์ยากของประชาชนทางประสาทสัมผัสแล้วทรงเก็บไปคิดจนกระทั่งทรงค้นพบพุทธธรรมนั้น
แสดงว่าความรู้อันทำให้เกิดความคิดย่อมมีรากฐานมาจากข้อเท็จจริงทางประสาทสัมผัสก่อน
หลักกาลามสูตรของพระองค์ย่อมแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงใช้วิธีคิดจากสิ่งที่แน่นอนอย่างหนึ่งไปสู่สิ่งที่แน่นอนอีกอย่างหนึ่ง
เป็นการคิดจากข้อเท็จจริง จากสัจธรรมไปสู่สัจธรรม
วิธีการกหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาของพระองค์ได้ถูกค้นพบ
แต่ไม่ใช่ถูกคิดขึ้นมาด้วยประการฉะนี้
ความรู้ในพุทธปรัชญาจึงเป็นความรู้ที่หามาได้ตามวิธีการของวิทยาศาสตร์
และพุทธธรรมก็หาใช่อื่นไกลไม่
หากเป็นวิทยาศาสตร์ว่าด้วยความประพฤติและความเป็นไปของมนุษย์เท่านั้นเอง
ความรู้ที่เราได้มาทางประสาทสัมผัสนั้น อาจมีได้หลายทางด้วยกันเช่นทางวิทยาศาสตร์
ทางวิศวกรรม ทางอุตสาหกรรม แต่ความรู้เหล่านี้ ยังไม่ใช่ความรอบรู้
เพราะมันเป็นความรู้โดยเฉพาะในวงแคบสำหรับสิ่งที่เรา ติดข้อง อยู่
ปัญญาหรือความรอบรู้คือความรู้ในหลักอันกว้างที่สุดเพื่อประโยชน์แห่งกรเข้าใจโลก
และเพื่อประโยชน์แห่งการหลุดพ้นไปเสียจากความคิดข้องขอบเขตของความรู้ทางพระพุทธศาสนาคือ
การหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาไปได้
เขาย่อมจะหมดความสงสัยทุกประการและนั่นย่อมหมายความว่าเขามีปัญญาขั้นสูงถึงขีดสุดแล้วความรู้เดิมของคนเราย่อมได้ทางประสาทสัมผัส
ค๊านท์ นักปรัชญาเอกของศตวรรษที่ 18 ได้สอนไว้ว่า
ความรู้เดิมของมนุษย์นั้นได้ทางประสาทสัมผัส
ความรู้เดิมที่ติดตัวมากับเชื้อชาติมนุษย์ ก็มีเหมือนกัน
เช่นความรู้ในกาลและอวกาศและความรู้ในความเกี่ยวข้องอันอยู่เหนือสัมผัสของคน
ในทางพระพุทธศาสนาไม่ปรากฏมีคำสอนตรงไปตรงมาอย่างนี้แต่จากการ
โต้ตอบระหว่างพระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสนในตำรับมิลินทปัญหา
ซึ่งเป็นตำหรับปรัชญาเถรวาทอย่างแท้ที่สุด
ปรัชญาเถรวาทรับคำสอนที่ว่าความรู้นั้นได้รับมาทางประสาทสัมผัสก่อน
กล่าวคือในมิลินทปัญหา พระนาคเสนปฏิเสธการคิดความรู้ขึ้นมาเองของจิตต์ใจ
ความรู้ในสิ่งข้างนอกเกิดจากประสาทสัมผัสนั่นเอง
อีกประการหนึ่งพระนาคเสนปฏิเสธการมี เจตภูต หรือจิตต์โดยตัวของมันเอง
นักปราชญ์และนักคิดจำนวนมากมายไม่ให้เราเชื่อประสาทสัมผัส
ทั้งนี้โดยอ้างว่าอาจลวงเราได้
ความประจักษ์ทางประสาทสัมผัสเป็นเครื่องทดสอบว่าสิ่งหนึ่งมีอยู่จริง
แต่มันมีอยู่อย่างไร นานช้าเท่าไรเป็นสิ่งที่ต้องศึกษากันต่อไป
เมื่อเราได้รับข้อเท็จจริงจากความประจักษ์มาอย่างหนึ่ง
เรากลับนำข้อเท็จจริงอันได้จากความประจักษ์ทางประสาทสัมผัสไปบอกแก่มนุษย์โดยใช้ภาษาเป็นสิ่งแทน
มนุษย์ใช้เสียงต่าง ๆ ซึ่งผันแปรไปตามการระคนกันของเสียงพยัญชนะ
เสียงสระและเสียงวรรณยุกต์เป็นสิ่งแทนข้อเท็จ
ต่อมาเมื่อมีข้อคิดทางนามธรรมเกิดขึ้นก็ใช้เสียงแทนสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน
ปัญญาชนที่สร้างคำนามธรรมเกิดขึ้นก็ใช้เสียงแทนสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน
ปัญญาชนที่สร้างคำนามธรรมขึ้น ได้กรทำตามความเข้าใจของตน
การศึกษาสิ่งที่ปัญญาชนเสนอมา จึงอาจเป็นอย่างที่ Lewis Carral กล่าวไว้ว่า
คนเราเรียนวิชาตามที่ครูสอน
ความรู้ของมนุษย์พวกนี้ แบ่งชนชั้นวรรณะ
โดยให้ความเข้าใจว่าความรู้สูงมาจากปัญญาชน
ส่วนความรู้ต่ำมีอยู่ในหมู่ประชาชนการไม่กล่าวเท็จเป็นเบื้องต้นของปรัชญาเถรวาท
ความรู้ซึ่งคนเราได้มาทางความประจักษ์ผ่านประสาทสัมผัสนั้นย่อมเป็นความรู้เฉพาะตัวเราแท้
ๆ แต่เมื่อเรานำความรู้นี้ไปบอกให้บุรุษที่สองฟังตรงตามที่เราประจักษ์
โดยใช้ภาษาแทนเราย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้กล่าวความสัตย์
แต่ถ้าเราประสพข้อเท็จจริงและเข้าใจอย่างหนึ่ง
แต่กลับไปบอกเล่าให้คนที่สองฟังด้วยถ้อยคำที่ไม่ตรงกัน
เราย่อมอยู่ในลักษณะเสนอข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อน ศาสนาหรือปรัชญาใด ๆ ก็ตาม
ต้องเสนอแต่สัจจธรรม
ปรัชญาเถรวาทมีวัตถุประสงค์จะสั่งสอนให้คนเรามีศีลธรรมอันสมบูรณ์
» การเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย
» ปรัชญาเถรวาทให้ข้อแนะนำไว้ในกาลามสูตร
» ก่อนที่จะยอมรับหลักคิดหรือความรู้ใด ๆ เป็นสรณะ
» วิทยาอักซิโอในพุทธปรัชญาพุทธจริยศาสตร์
» พุทธปรัชญาเป็นลัทธิมัชฌิมาปฏิปทา
» ปรัชญาเถรวาทและปฏิมากรรมวิทยา
» พุทธจริยศาสตร์ (BUDDHIST ETHICS )
» พุทธจริยศาสตร์ว่าด้วย กรรม
» คำสอนว่าด้วยปรุงจิตต์แต่งกรรม
» ภารกิจของพระพุทธศาสนาต่อประเทศไทยและพุทธศิลปะในประเทศไทย
» ภาระกิจของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย
» พระสงฆ์
» นักศาสนา