ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

บทวิเคราะห์เรื่องพุทธปรัชญา

หลักแห่งการทดสอบข้อเท็จจริง

การเข้าใจไม่ถูกต้อง มีศรัทธาผิด ๆ ทำให้เสนอข้อเท็จจริงผิดพลาดแม้นักวิทยาศาสตร์บางคนก็ไม่พ้นไปจากความผิดพลาดอันเกิดจากศรัทธาที่ผิด เช่นค้นพบว่าธรรมชาติมีกฎเกณฑ์นั้นมีพระเจ้าเป็นผู้สร้าง

นักวิทยาศาสตร์บางพวกงมงายในกระบวนการจักรกลทางฟิสิกส์และเคนี เห็นปรากฎการณ์ต่าง ๆ เป็นเรื่องจักรกล ส่วนพวกนักศาสนาที่เคร่งครัดเรื่องจิตต์ เห็นโลกสสารเป็นปรากฏการณ์ทางจิตต์ ผู้ไม่หลุดพ้นซึ่งมีศรัทธาผิด ๆ มักนำสิ่งที่ตัวเห็นมาก่อความคิดต่อไป ผลที่คิดได้จะยิ่งเป็นเท็จเป็นการ “ โกหกแบบเทฆนิค ” เพื่อแก้ความผิดพลาดควรหัดคิดแต่น้อยแต่พยายามหาข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ให้มาก

ความถูกต้องของข้อเท็จจริง

เมื่อข้อเท็จจริงได้ถูกเสนอความคลาดเคลื่อนไปเพราะ“ โกหกแบบเทฆนิค ” เราต้องหาวิธีทดสอบความจริงโดยถามจากพยาน เปิดให้มีการโต้แย้ง (Dialectic Method ) มิลินทปัญหาเป็นการเปิดเผยสัจจธรรม และวรรณคดีสมัยกรีกเล่าถึงการโต้แย้งสนทนาระหว่างซอเครตีสกับสานุศิษย์แม้พระพุทธองค์เองก็ทรงใช้วิธีนี้อยู่เสมอระหว่างพุทธกาล

เรารู้ “ สิ่งที่มี ” ได้ทางประสาทสัมผัส

เรารู้ว่าอะไรมีหรืออะไรไม่มี ก็เพราะใช้ประสาทสัมผัสทดสอบดูแม้สิ่งที่โดยธรรมดาแล้วประสาทสัมผัสไม่ไวพอจะรู้ว่ามีได้ เราก็ใช้วิธี “ขยาย” มันด้วยวิธีต่าง ๆ จนแจ้งต่อประสาทสัมผัสจนได้ วิทยาศาสตร์ถือหลักแรงทางกายสัมผัสเป็นรากฐานแห่งการวัดพลังงานทั้งมวล จะเป็นความร้อน แสงเสียงหรือไฟฟ้า นักวิทยาศาสตร์ก็ทอนลงเป็นแรงหรือพลังทางกายสัมผัสหมด ความรู้ที่ได้ทางประสาทสัมผัส ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “ ความรู้เดิม ( Apriori knowledge) เลย ส่วนความรู้ที่อ้างว่าได้จากเหตุผลนั้น ที่แท้แล้วก็คือกรทวนระลึกถึงสิ่งนอกกายเราที่เราเคยเห็นทางประสาทสัมผัสว่าเกี่ยวข้องกัน มีนักปรัชญาหลายท่านสอนไม่ให้เราเชื่อประสาทสัมผัสทั้งนี้โดยการตั้งข้อดูถูกเอาง่าย ๆ ว่าประสาทสัมผัสเป็นเรื่องของ “ เนื้อ ๆ” สู้การใช้เหตถุผลทางความคิดไม่ได้ ต้วอย่างของเดค๊าซ์ บิดาแห่งปรัชญาสมัยใหม่ของยุโรป กล่าวว่าเราเชื่อประสาทสัมผัสไม่ได้ เพราะมีตัวอย่าง เช่นของไกลเห็นเล็ก ความคิดของคนเราเป็นเพียงการเรียกทวนความจัดเจนทางประสาทสัมผัส อันยึดถือว่าถูกต้องคนเราไม่สามารถจะผลิตความคิดอะไรขึ้นมาได้ นอกจากจะทวนระลึกถึงความประจักษ์ทางประสาทสัมผัสตามประสบการณ์เดิม

จิตของคนเรา มีอำนาจสร้างสรรค์มโนภาพขึ้นจากข้อเท็จจริงที่เคยประสบมาแต่เดิมทางประสาทสัมผัส พระพุทธอง5ทรงสอนไว้ในเรื่องขันธ์ 5 และทรงเรียกว่า “ สังขารา ” มโนภาพที่ถูกสร้างขึ้นอาจเป็นสิ่งหรือเป็นหลักคิด หรือเป็นความเกี่ยวข้องระหว่างสิ่งหรือเป็นหลักคิดก็ได้ แต่จิตต์ของคนเราไม่มีวัน “ หลั่งหรือเนรมิต ” มโนภาพหรือหลักคิดอะไรขึ้นมาได้เลย คงได้สร้างสรรค์ขึ้นจากวัตถุดิบที่มีอยู่เดิมเท่านั้น

วิธีการทางวิทยาศาสตร์คือการค้นหาข้อเท็จจริงทางประสาทสัมผัส ความซื่อสัตย์ต่อการเสนอความประจักษ์เป็นลักษณะนิสัยสันดานของพวกเขา หลักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ถูกคิดขึ้นมาจากการนั่งคิด แต่หากถูก “ สังเกต ” ได้ทางประสาทสัมผัสแท้ ๆ

ลักษณะของ “สิ่งที่มี ”“สิ่งที่มี ”อันปรากฏแก่เราทางประสาทมีอยู่ 3 ประการ คือ

  1. รูปธรรม อันได้แก่สิ่งมีรูปที่สัมผัสได้โดยตรงทางประสาทสัมผัส
  2. การเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงของรูปธรรมอันเรียกว่าปรากฏการณ์และ
  3. นามธรรม หรือความสัมพันธ์ระหว่างรูปธรรม หรือระหว่างปรากฏการณ์ อันเป็นนามธรรม “ สิ่งที่มี ” ล้วน ๆ เช่นตัวอย่าง แมว เป็นรูปธรรมที่มีอยู่

การเติบโตหรือการเคลื่อนไหวของมันเป็นปรากฏการณ์ และทางนามธรรม มนุษย์ซึ่งส่วนรูปของเขาเป็นรูปธรรม การเติบโตและการกระทำของเขาเป็นปรากฏการณ์ของ “ สิ่งที่มี ” คือรูปธรรมที่เรียกว่ามนุษย์ และ “ ความยุติธรรม ” เป็นความเกี่ยวข้องของเขากับผู้อื่นเป็นความเกี่ยวข้องมนุษย์ที่เป็น “ สิ่งที่มี ”

นามธรรมเท่านั้นที่อาจล่อให้เราหลงใหลได้อย่างมากมายว่ามีอยู่ทั้ง ๆ ที่มันอาจไม่มีอยู่หรือเป็นเท็จก็ได้เราจึงควรทดสอบหา “ สิ่งที่มี ” ซึ่งแทนมันอยู่ทางประสาทสัมผัสเสียก่อนเชื่อในความมีอยู่ของมัน

» ศาสนวิทยาและจริยสังคมวิทยา

» ประวัติศาสตร์ของศาสนา

» ศาสนาแต่เบื้องบุพกาล

» วิญญาณนิยม และเทวนิยม

» ศาสนาแห่งความกลัว

» ศาสนาแห่งความสำนึกคุณ

» ศาสนาแห่งกลียุค

» แนวทางของจริยสังคมวิทยา

» กำเนิดและการแผ่พุทธศาสนา

» อารยธรรมดึกดำบรรพ์

» การแบ่งชนชั้นวรรณะในอินเดีย

» การค้นพบพุทธปรัชญา

» พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

» การเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย

» ญาณวิทยาของพระพุทธศาสนา

» ปรัชญาเถรวาทให้ข้อแนะนำไว้ในกาลามสูตร

» ก่อนที่จะยอมรับหลักคิดหรือความรู้ใด ๆ เป็นสรณะ

» ต้นกำเนิดความรู้ของมนุษย์

» หลักแห่งการทดสอบข้อเท็จจริง

» พุทธภววิทยา

» วิทยาอักซิโอในพุทธปรัชญาพุทธจริยศาสตร์

» พุทธปรัชญาเป็นลัทธิมัชฌิมาปฏิปทา

» ปรัชญาเถรวาทและสุนทรศาสตร์

» ปรัชญาเถรวาทและปฏิมากรรมวิทยา

» พุทธจริยศาสตร์ (BUDDHIST ETHICS )

» ความจำเป็นของจริยศาสตร์

» พุทธจริยศาสตร์ว่าด้วย “ กรรม ”

» ผลสนองของกรรม

» คำสอนว่าด้วยปรุงจิตต์แต่งกรรม

» ภารกิจของพระพุทธศาสนาต่อประเทศไทยและพุทธศิลปะในประเทศไทย

» ผลทางจิตใจ

» ผลทางวัตถุ

» สิ่งเคารพอันเป็นพระพุทธรูป

» สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนา

» ภาพศิลปะทางพระพุทธศาสนา

» วรรณคดีทางพระพุทธศาสนา

» ภาระกิจของพระพุทธศาสนาต่อสังคมไทย

» พระสงฆ์

» นักศาสนา

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย