ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)

ศิลปะของไบแซนไทน์เป็นอีกสมัยหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการออกแบบเครื่องประดับ ทั้งการศึกษารูปแบบไปจนถึงอิทธิพลที่มีต่อการออกแบบเครื่องประดับมาหลายยุคสมัย เนื่องจากมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ซึ่งพบเห็นเป็นจำนวนมากของเครื่องประดับราคาสูงหรือเครื่องประดับของหมู่ชนชั้นสูง ดังนั้นความเป็นมาของสมัยไบแซนไทน์จึงมีดังนี้

อาณาจักรไบแซนไทน์ปรากฏเมื่อปี ค.ศ.330 ถึงปี ค.ศ.1453 อยู่ทางตะวันออกของยุโรป โดยมีประวัติศาสตร์การสู้รบเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการทำสงครามระหว่างชาวเปอร์เซีย อาหรับออตโตมันเติร์ก สงครามครูเสส โดยเฉพาะสงครามครูเสสที่พยายามยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลจนได้ดินแดนไปส่วนหนึ่ง สุดท้ายเมื่อปี ค.ศ.1453 ชาวออตโตมันเติร์กได้ยึดกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ในที่สุด เป็นอันสิ้นสุดสมัยอาณาจักรของศิลปะไบแซนไทน์

เครื่องประดับไบแซนไทน์ที่พบนั้น พบในยุคของสมัยพระจักรพรรดิคอนสแตนไทน์ที่ 1 เมื่อประมาณ 337 ปีก่อนคริสตศักราช หลังจากได้ย้ายเมืองหลวงจากโรมมายังเมืองคอนสแตนติโนเปิล และได้ตั้งตนเป็นจักรพรรดิ์ในอาณาจักรทั้งทางตะวันออกและทางตะวันตกอย่างยิ่งใหญ่ กรุงคอนสแตนติโนเปิลมีการเติบโตขึ้นโดยมีนโยบาย มีวัฒนธรรม และมีศูนย์กลางของศาสนา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมระดับนานาชาติ

เมืองคอนสแตนติโนเปิลเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและการรวมตัวของศิลปินเป็นจำนวนมาก พระจักรพรรดิ์ไบแซนไทน์จึงออกนโยบายและทำการค้าระดับนานาชาติ โดยให้ออกเรือของทหารไปยังเมืองคอนเวล ประเทศอังกฤษ เพื่อแลกเปลี่ยนเหรียญทองคำที่สวยงาม ต่อมาเมื่อถึงช่วง 483 ถึง 565 ปีก่อนคริสตศักราช ได้ค้นพบเส้นทางที่มีระยะทางไกลขึ้น ได้แก่ ประเทศสวีเดน จีน ซึ่งมีทองคำ การ์เน็ต ทับทิม มรกต แซฟไฟน์ ไข่มุกและงาช้างเป็นจำนวนมาก ได้เข้าไปยังคอนสแตนติโนเปิล นอกจากนี้วัตถุอันมีค่าอื่นๆ ยังได้มาจากอินเดีย พม่า ตอนใต้ของรัสเซียและแอฟริกาด้วย ความหรูหราของเครื่องประดับของกรุงคอนสแตนติโนเปิลนั้นมีชื่อเสียงระดับโลก พระจักรพรรดิ์ไบแซนไทน์มีมรดกตกทอดกันมา มีการพัฒนาทางด้านทักษะของศิลปิน ซึ่งมีอยู่มากมายในกรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยได้รับการสนับสนุนหรือมีการอุปถัมป์อย่างดีเยี่ยมจากผู้ที่มีฐานะอันมั่นคั่ง

ดังนั้นศิลปะและเครื่องประดับในยุคนี้ทำให้เกิดการออกแบบสองรูปแบบหลักๆ ได้แก่ประการแรก เป็นพื้นฐานของรูปแบบกรีกและโรมันแบบคลาสสิค ซึ่งดูมีระเบียบ ประกาที่สอง มีความเป็นนามธรรมมากกว่า เพราะได้เสนอรูปแบบเป็นสองมิติของเอเชียตะวันตกและตะวันออกไกล จนเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์แบบที่สุด โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่หกซึ่งมีการแต่งกายของไบแซนไทน์ดูหรูหรามาก มีสีสันและผสมผสานรายละเอียดทั้งแบบเปอร์เซีย และแบบกรีกสมัยเฮเลนนิสติก

การออกแบบเครื่องประดับที่เป็นจุดเด่นที่สุดคือ การออกแบบเครื่องประดับแบบโมเสส โมเสสเป็นแหล่งสำคัญของข้อมูลทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะเครื่องประดับที่นำไปฝังที่หลุมฝังศพที่อยู่ตามโบสถ์ นอกจากนี้เครื่องประดับชั้นสูงเป็นเครื่องประดับที่งดงามมาก ไม่ว่าเป็นมงกุฎของพระจักรพรรดิ เป็นสัญลักษณ์ของความสง่าของเครื่องประดับไบแซนไทน์มากที่สุด เครื่องประดับแหวนทำมาจากแซฟไฟน์ และแอมิทิสเจียนะไนรูปทรงเบี้ยหลังเต่า โดยมีทองคำล้อมรอบกับเจียระไนมรกตแบบธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีคริสตัลและไข่มุก จี้ห้อยคอ ประดับลวดลายเส้นเป็นเทคนิคของชาวโรมันสำหรับการฝึกหัด มีเทคนิคใหม่ๆ เรียกว่า Opus interrasile เป็นการตัดโลหะเป็นแผ่นบางๆ ทำให้เครื่องประดับมีแพทเทิร์นแบบปลายเปิดได้

ในช่วงต้นของจักรพรรดิคอนสแตนไทน์ได้เกี่ยวข้องกันกับชาวคริสเตียน ทำให้เกิดการสร้างสัญลักษณ์ทางศาสนาขึ้น มีสร้อยคอเหมือนเครื่องราง เมื่อยุคโบราณคลาสสิคได้สิ้นสุดลง จึงเกิดทัศนคติของศาสนาใหม่ โดยการสวมใส่เครื่องประดับเพื่อเตือนว่าควรมีความรัก หินไม่มีค่า แต่สามารถสักการบูชาได้ ชาวไบแซนไทน์จึงสวมเครื่องประดับที่เป็นสัญลักษณ์ของชาวคริสเตียนต่อไป อย่างมิได้ละทิ้งคำสอน จึงได้ปรากฎวัสดุที่ให้ความรู้สึกที่มากถึงวิญญาณมากกว่าคุณค่าทางวัตถุ

» ลักษณะต้นแบบโบราณ

» ลักษณะการนำต้นแบบมาพัฒนาใหม่ หรือมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ

» ลักษณะการออกแบบรูปแบบใหม่

» ลักษณะการออกแบบข้ามวัฒนธรรม

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุดก่อนประวัติศาสตร์

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับอารยธรรมโบราณ

» ศิลปะเครื่องประดับอียิปต์ (Egypt)

» ยุค Middle Kingdom หรือยุคอาณาจักรกลาง

» ยุค New Kingdom หรือยุคอาณาจักรใหญ่

» ศิลปะเครื่องประดับเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia)

» ศิลปะเครื่องประดับมิโนอัน - ไมซีเน (Minoan - Mycenae)

» ศิลปะเครื่องประดับกรีก (Greek)

» ศิลปะเครื่องประดับอีทรัสกัน (Etrucan)

» ศิลปะเครื่องประดับเชลติก (Celtic)

» ยุค Princes

» ยุควัฒนธรรม La Tene

» ยุคขยายอาณาจักร

» ยุคอิทธิพลของนักรบ

» ศิลปะเครื่องประดับโรมัน (Rome)

» ศิลปะเครื่องประดับไบแซนไทน์ (Byzantine)

» ประวัติศาสตร์ศิลปะเครื่องประดับตะวันตกยุคประวัติศาสตร์

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงยุคกลาง

» ศิลปะเครื่องประดับโกธิค (Gothic)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยเรอนาซองค์ (Renaissance)

» ศิลปะเครื่องประดับแมนเนอริส (Mannerist)

» นักออกแบบเครื่องประดับ Benvenuto Cellini

» การออกแบบเครื่องประดับเชิงนามธรรม

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยอลิซาเบธที่ 1

» ศิลปะเครื่องประดับบาร็อค (Baroque)

» การประดิษฐ์ตกแต่ง

» ศิลปะเครื่องประดับโรโคโค

» ศิลปะเครื่องประดับนีโอคลาสสิค

» ศิลปะเครื่องประดับคาเมโอ (Cameo)

» ศิลปะเครื่องประดับนโปเลียนกับโจเซฟิน (Napoleon & Josephine)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบคัทสติล (Cut Steel)

» ศิลปะเครื่องประดับแบบแชทเทิลเลน (Chatelaines)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

» ศิลปะเครื่องประดับอนุรักษ์นิยม

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fortunato Pio Castellani

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อนาย Carlo Giuliano

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Peter Carl Faberge

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Eugene Fontenay

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตนูโว (Art Nouveau)

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Rene Lalique

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Charles Lewis Tiffany

» ศิลปะเครื่องประดับวิคตอเรีย (Victoria)

» ศิลปะเครื่องประดับสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1

» นักออกแบบเครื่องประดับ Fulco di Verdura

» ศิลปะเครื่องประดับอาร์ตเดโค (Art Deco)

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1920

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1930

» นักออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ McClelland Barclay

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1940

» บริษัทที่ออกแบบเครื่องประดับเทียมชื่อ Trifari

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Coro

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Boucher

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Haskell

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Cartier

» บริษัทเครื่องประดับแท้ชื่อ Van Cleep & Arpels

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1950

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Daniel Swarovski

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Eisenberg

» บริษัทเครื่องประดับเทียมชื่อ Hobe

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1960

» นักออกแบบเครื่องประดับชื่อ Bulgari

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1970

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1980

» ศิลปะเครื่องประดับยุค 1990

» ศิลปะเครื่องประดับหลังสมัยใหม่

» ศิลปะเครื่องประดับมินิมอล (Minimalism)

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงศิลปะ

» ศิลปะเครื่องประดับเชิงอุตสาหกรรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย