ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ยุคฟูนัน (พนม) (ศตวรรษที่ 67)
ดินแดนของอาณาจักรฟูนัน พื้นที่ในประเทศเขมรทังหมด รวมทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ของประเทศไทยปัจจุบัน ไปจนจรดประเทศประพม่า
โอ. ดับบลิว. โวลเตอร์ กล่าวว่า
พัฒนาการของฟูนันมีที่มาจากการที่รัฐสร้างโครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่
ทำให้เกิดการผลิตในทางการเกษตรกรรม โดยเฉพาะข้าวที่รัฐฟูนัน
ดึงเข้ามายังส่วนกลางในรูปของส่วนอาการ เพื่อสร้างความมั่นคง
และความมั่นคงให้แก่รัฐและกลุ่มชนชั้นปกครอง ขณะเดียวกัน มีนักวิชาการท่านหนึ่ง
ได้ค้านแนวความคิดเรื่องโครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่ดังกล่าว คือ ดับบลิว.เจ. แวนเลอ
(W.J. Van Liere) กล่าวว่า ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นว่า
โครงสร้างชลประทานขนาดใหญ่จะมีผลไปถึงการเพาะปลูก ตรงข้ามโครงสร้างดังกล่าว
เป็นเรื่องของศาสนาที่ค้ำจุนฐานะของกษัตริย์ในลัทธิเทวราช และอาจเป็น
คูคลองป้องกันเมืองก็ได้ ส่วนการปลูกข้าวยังอาศัยฤดูกาลทางธรรมชาติ
ตลอดจนการชลประทานขนาดเล็ก ที่ราษฎรทำเองเรียกว่า ชลประทานราษฎร์
ตัวอย่างดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดต่าง ๆ
และแนวความคิดที่คัดค้านกันเป็นวิธีศึกษาทางวิชาการ
ที่นักวิชาการพยายามจะหาข้อมูลที่ถูกต้อง หรือใกล้ความจริงมากที่สุด
เพื่อแสดงให้เห็นว่า สังคมเผ่าพัฒนามาเป็นสังคมรัฐได้อย่างไร
ความเจริญและความเสื่อมของฟูนัน หลักฐานของจีนกล่าวว่า
ฟูนันตั้งขึ้นโดยพราหมณ์โกณธิญญะ (Kaundinya)
ผู้มีอิทธิพลเหนือชาวพื้นเมืองและได้แต่งงานกับเจ้าหญิงนาคี(Nagi) ของแคว้นนี้
เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 1 ฟูนันอยู่ในลุ่มแม่น้ำโขงตอนใต้ เมืองหลวงชื่อ
วยาธปุระ(Vyadhapura) แปลว่า เมืองของกษัตริย์นายพราน (The city of the hunter
king) ชื่อของฟูนันเทียบกับภาษาเขมร คือ พนม บนม หรือภูเขา ผู้ปกครองของฟูนัน
เรียกว่า กูรุง บนม(Kurung Phnom) และมีเมืองท่าชายทะเลที่สำคัญ คือ เมืองออกเเก้ว
มีแม่น้ำสายยาว 200 กิโลเมตร ต่อเชื่อมเมืองท่าออกเเก้วกับเมืองวยาธปุระ
เนื่องจากเมืองหลวงตั้งอยู่ส่วนสูงสุดของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ใกล้ภูเขาบาพนม
ตรงที่แม่น้ำทะเลสาบไหลมารวมกัน จึงช่วยระบายน้ำในทะเลสาบไปยังพื้นที่ทางทิศตะวันตก
ซึ่งช่วยในการเพาะปลูกได้ดี สถานที่ตั้งทางด้านยุทธศาสตร์ของฟูนัน
ทำให้สามารถควบคุมช่องแคบเดินเรือที่เชื่อมฝั่งทะเลของอ่าวไทยเข้ากับทะเลอันดามันและเมืองท่าต่าง
ๆ ของจีนทางตอนใต้ เห็นได้ชัดว่า ได้ให้ความมั่นคง
และอิทธิพลทางการเมืองอย่างสำคัญยิ่ง
ทำให้ฟูนันมีอำนาจปกครองเหนือเมืองลังกาสุคะ(Langkasuka
มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองปัตตานี) และเมืองตามพรลิงค์ (Tambralinga
มีเมืองหลวงอยู่ที่นครศรีธรรมราชหรือไชยา)
เมืองทั้งสองตั้งอยู่สองฝั่งเส้นทางเดินเรือค้าขายที่สำคัญ
ฟูนันยังมีอำนาจเหนือเจนละ ซึ่งอยู่ตอนเหนือของฟูนัน
ฟูนันปกครองเหนือดินแดนในอินโดจีนส่วนใหญ่ถึง 5 ศตวรรษ
การขนส่งภายในฟูนันใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ประชากรอาศัยอยู่ริมฝั่งน้ำ
ปลูกบ้านแบบใต้ถุนสูง กีฬาที่โปรดปราน คือ การชนไก่ การชนหมู ภาษีอากรจ่ายเป็นทอง
เงิน ไข่มุก น้ำหอม ฟูนัน ได้ติดต่อค้าขายกับตะวันตกด้วย
เพราะจากการขุดค้นได้พบรากฐานของอาคารหลายแห่งที่เมืองออกแก้ว
ได้พบหลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างฟูนันกับตะวันตก เช่น เหรียญโรมันต่าง ๆ
มีรูปจักรพรรดิโรมัน แหวนจารึกภาษาอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 2-5 หินสลักรูปต่าง
ๆที่ได้แบบมาจากกรีก
ลักษณะวัฒนธรรมที่เมืองออกแก้ว เป็นแบบผสมกันระหว่าง
วัฒนธรรมพื้นเมืองและวัฒนธรรมอินเดีย เช่น ประเพณีการบูชาภูเขาอันศักดิ์สิทธิ์
และเจ้าหญิงธิดาพญานาคของชาวฟูนัน
ได้สืบทอดต่อมาเป็นธรรมเนียมที่กษัตริย์กัมพูชาทรงปฏิบัติ
ส่วนลักษณะของสถาปัตยกรรมเป็นแบบวัฒนธรรมอินเดีย ได้แก่ โบราณสถานของกัมพูชา
สมัยก่อนนครวัด นอกจากนั้น มีพระพุทธรูปแบบคุปตะ ภาพปั้นพระวิษณุสวมมาลาทรงกระบอก
และภาพปั้นพระหริหระ ล้วนแสดงให้เห็นว่า ปฏิมากรรมชาวฟูนัน
ได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากอินเดีย สมัยราชวงศ์ปาลวะ และราชวงศ์คุปตะ
ทั้งศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู
มีภาษาสันสกฤตซึ่งเห็นได้จากบันทึกของชาวฟูนันที่บันทึกไว้คราวมีงานเฉลิมฉลองรัชกาลพระเจ้าโกณธิญญะที่
2 (สวรรคต ค. ศ. 434) และรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 (ครองราชย์ ค.ศ. 478514)
ที่มีประเพณีการจัดงานต่าง ๆ ซึ่งนอกจากจะแสดงถึงอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียแล้ว
ยังปรากฏคำลงท้ายกษัตริย์ฟูนันว่า วรมัน ภาษาสันสกฤต แปลว่า
ผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์ ที่ผู้อยู่ในวรรณะกษัตริย์ของอินเดียนิยมใช้กัน
สิ่งเหล่านี้ ล้วนแสดงให้เห็นอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียที่มีต่อรัฐฟูนัน
ฟูนันมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน ดังนั้น
เรื่องราวของฟูนันจึงปรากฏในบันทึกของจีน ที่กล่าวไว้ว่า เมืองต่าง ๆ
ในฟูนันมีกำแพงล้อมรอบ มีปราสาทราชวัง และบ้านเรือนราษฎร ชาวฟูนัน มีผิวดำ ผมหยิก
เดินเท้าเปล่า ทำการเพาะปลูก ชอบการเกาะสลักเครื่องประดับ การสลักหิน
มีตัวอักษรใช้ลักษณะคล้ายกับอักษรของพวก ฮู้ (อยู่ในเอเชียตอนกลาง
ใช้อักษรแบบอินเดีย) มีทาสเชลยศึก มีการค้าทองคำ ค้าเงิน ค้าไหม ทำแหวน
สร้อยมือทองคำ ถ้วยชามเงิน การพิจารณาคดีความใช้แบบจารีตนครบาล เช่น ล้วงหยิบ
แหวนทองเหลือง หรือไข่ในน้ำเดือด ใช้โซ่ร้อนจัดคล้องมือแล้วเดินไป 7 ก้าว
หรือดำน้ำพิสูจน์ เป็นต้น มีแหล่งน้ำใช้ร่วมกัน มีการทดน้ำเพื่อการเพาะปลูก
สถาปัตยกรรมเป็นแบบหลังคา เป็นชั้นเล็ก ๆ จำนวนมาก
ตกแต่งด้วยช่องเล็กช่องน้อยครอบอยู่
สรุปได้ว่า เรื่องราวของฟูนันได้ทราบจากชาวจีน ชื่อ คังไถ่
ซึ่งเดินทางมากับคณะทูตจีน ประมาณ คริสต์ศตวรรษที่ 3
นักประวัติศาสตร์ชาวตะวันตกนำมากล่าวอ้างอิงกันมาก
แต่ปัจจุบันได้มีนักวิชาการนำบันทึกของคังไถ่ มาวิเคราะห์กันใหม่
และได้แสดงความคิดเห็นคัดค้านข้อมูลเกี่ยวกับฟูนัน
โดยยกเหตุผลมาสนับสนุนข้อคัดค้านของตน ยังมีอีกหลายประเด็นที่ เคนเนธ อาร์. ฮอลล์
กล่าวไว้ รวมทั้งตำนานเกี่ยวกับการเข้ามาตั้งฟูนัน
โดยพราหมณ์โกณธิญญะมาแต่งงานกับเจ้าหญิงนาคี
ว่าเป็นเรื่องของการใช้ตำนานเพื่อให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์น่านิยมยินดีและเพื่อสถานภาพของกษัตริย์
ความเห็นนี้ ตรงกับ มิลตัน ออสบอร์น ที่กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นตำนานเล่ากันมา
เป็นการบิดเบือน เพื่อหวังผลทางปฏิบัติอย่างสูง
สำหรับคนระดับที่เป็นผู้ปกครองของรัฐนี้
ฟูนันรับวัฒนธรรมอินเดียทั้งรูปแบบการปกครอง สังคม วัฒนธรรม
อิทธิพลวัฒนธรรมอินเดีย มีอยู่มากในชนระดับสูง
ส่วนชาวบ้านทั่วไปยังยึดมั่นในขนบประเพณีสังคมดั้งเดิมของตนอยู่
ฟูนันมีลักษณะเป็นรัฐชลประทาน มีการชลประทานเพื่อปลูกข้าว โดยการขุดคูคลอง
ทำนบกักเก็บน้ำ แล้วระบายไปยังไร่นาต่าง ๆ ขณะเดียวกัน
ก็มีเมืองท่าชื่อเมืองออกเเก้ว เป็นแหล่งนำรายได้ผลประโยชน์มาสู่รัฐอีกทางหนึ่ง
นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ด้วย ฟูนันยั่งยืนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6
กษัตริย์ของอาณาจักรฟูนัน คือ
พราหมณ์โกญทัญญะได้แต่งงานกับหัวหน้าของเผ่าฟูนัน ชื่อโสมนาคี
และในลัทธิที่เขานับถือนิยมบูชา งูใหญ่ พราหมณ์โกญทัญญะ
ได้นำสร้อยนามของกษัตริย์อินเดียใต้มาใช้ ในยุคฟูนัน เช่น โกญทัญญะวรมัน เป็นต้น
ศาสนาของอาณาจักรฟูนัน
ศาสนาที่กษัตริย์และประชาชนยุคนี้นับถือมีทั้ง ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์ ศาสนาพุทธ
มีทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน ศิลปวัตถุในยุคนี้ยังหาไม่พบ
อาจจะเป็นไปได้ที่รูปพระนารายณ์สวมหมวก อาจจะเป็นศิลปะยุคนี้ ตัวอาณาจักรฟูนัน
น่าจะอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ อำเภอศรีเทพปัจจุบัน เพราะจากการขุดค้นได้พบ
เทวรูปพระนารายณ์ เข็มหลักเมืองซึ่งมีอักษรสันสกฤตจารึกอยู่
เป็นอักษรแบบราชวงศ์ปัลลวะ ในอินเดียใต้
จดหมายเหตุของจีนในราชวงศ์ซุ้ย ราชวงศ์ถัง
ได้กล่าวถึงสภาพของฟูหนำว่า ชาวฟูหนำ นับถือพระพุทธศาสนาและพราหมณ์ปนกันไป
มีทั้งมหายานและเถรวาท มีการศึกษาพระพุทธศาสนารุ่งเรืองมาก
จนสามารถส่งสมณทูตไปเมืองจีน เพื่อทำการแปลพระคัมภีร์ ปรากฏว่าในพุทธศตวรรษที่ 10
มีธรรมทูตชาวฟูนัน 2 รูป ชื่อ พระสังฆปาละ และ พระมันทรเสน
ได้เดินทางไปสู่นครนานกิง
ที่นานกิงรัฐบาลจีนได้ตั้งสถาบันอันหนึ่งสำหรับต้อนรับสมณทูตฟูหนำ
โดยเฉพาะท่านสังฆปาละ ได้แปลหนังสือวิมุตติมรรค จากตั้นฉบับบภาษาบาลี
ส่วนพระมันทรเสนนั้นได้แปลคัมภีร์เกี่ยวกับลัทธิมนตรยาน หลายเล่ม
จากผลงานของคัมภีร์เหล่านี้ ทำให้เราทราบว่า อาณาจักรฟูหนำ
มีพระพุทธศาสนาดำรงมั่นคงจนถึงสามารถทำประโยชน์ให้แก่ประเทศอื่นได้
การสิ้นสุดของอาณาจักรฟูนัน เมื่อพวกเจนละ(ขอมหรือเขมร)
เข้ามายึดอำนาจ พวกเจนละนับถือศาสนาพราหมณ์
จึงได้นำศาสนาพราหมณ์มาเผยแพร่ในดินแดนนี้ด้วย
สาเหตุแห่งความพ่ายแพ้หรือความเสื่อมสลายนี้ มิได้มีหลักฐานแน่ชัด
จากพงศาวดารราชวงศ์ถัง ซึ่งคณะทูตชาวจีนที่เดินทางไปยังดินแดนแถบฟูนัน
ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 กล่าวเพียงว่า ได้พ่ายแพ้แก่พวกเจนละ
กษัตริย์ฟูนันต้องหนีไปทางใต้
ฟูนันเป็นรัฐที่เรืองอำนาจแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สามารถรักษาเกียรติภูมิอันยิ่งใหญ่ เป็นที่ระลึกแก่ชนรุ่นหลัง
เห็นได้จากเหตุการณ์หลังจากที่รัฐเจนละเข้าครอบครองฟูนันแล้ว
กษัตริย์ของเจนละทุกพระองค์ได้รับเอาเรื่องราวของราชวงศ์ฟูนันเป็นของตนด้วย
และสมัยต่อมา คือ สมัยนครวัด
กษัตริย์ทุกพระองค์ที่นครวัดจะถือว่าพระองค์สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์แห่งเมืองวยาธปุระทั้งสิ้น
จึงกล่าวได้ว่า
รัฐฟูนันน่าจะมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการช่วยแพร่ขยายอารยธรรมอินเดียในอินโดจีน
และเป็นรัฐที่เป็นรากฐานของประเทศกัมพูชา
ยุคฟูนัน (พนม) (ศตวรรษที่ 67)
ยุคทวาราวดี (ศตวรรษที่ 1116)
กษัตริย์เทียบเท่าพระโพธิสัตว์
ยุคศรีวิชัย (ศตวรรษที่ 1218)
ยุคลพบุรี (ศตวรรษที่ 1518)
พระพุทธศาสนายุคสุโขทัย(ศตวรรษที่ 18)
พระพุทธศาสนาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
การปกครองคณะสงฆ์สมัยสุโขทัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท
พระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา(ลานนา)
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเม็งราย(ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา)
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช (ตื้อนา)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163 เป็นต้นมา)
พระพุทธศาสนาสมัยพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199เป็นต้นมา)
แผนการยึดเมืองไทยของฝรั่งเศส
พระพุทธศาสนาสมัยสมเด็จพระบรมโกษฐ์(พ.ศ. 2275เป็นต้นมา
สรุปพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.23102325)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน)
พระพุทธศาสนาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยลเดช
นาคหลวง
ภาวะแห่งความแย้งขัดระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาอื่น
เกี่ยวกับนิกายแห่งศาสนาและลัทธิอื่น
นิกายหรือลัทธิใหม่ที่เกิดมีขึ้นในประเทศไทย
การเข้ามาสู่ประเทศไทยของพระพุทธศาสนา
ยุคที่ 1 ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท
ยุคที่ 2 ลัทธิมหายาน
ยุคที่ 3 ลัทธิหินยานอย่างพุกาม
ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์
บรรณานุกรม