ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
ยุคทวาราวดี (ศตวรรษที่ 1116)
นามทวาราวดี
นามของกรุงศรีอยุธยา(กรุงเก่า-หนองโสน) นั้น
สืบเนื่องมาจากนามของกรุงทวาราวดีโบราณ สมัย พ.ศ. 10501181 นี้ นามพระรามาธิบดี
(อู่ทอง) ของกษัตริย์องค์ปฐมบรมวงศ์ของกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ตั้งขึ้นตามนามของพระราม
ผู้ตั้งกรุงโบราณนั้น
คนไทยโบราณใช้คำนี้ในภาษาไทยว่า ทวาราวดี มีสระ อา
เราเห็นได้ชัดจากการบันทึกของคนจีนที่เป็นพ่อค้า เรียกนามนี้ว่า ตว้อ เหอ หลอ คือคำ
ทะวา หะ หรา ส่วนพระภิกษุจีนรู้ภาษาสันสกฤตดี ได้บันทึกว่า โต โล โป ติ คือ ทวา ระ
ปะ ติ นามทั้งสองนี้มีบันทึกอยู่ในภาษาจีนมากมาย
ตำนานไทยไม่ค่อยมีที่เรียกนามนครนี้ว่า ทวาราวดี แต่เรียกว่า
เมืองราม รัมมนคร รัมมประเทศ และบางตำนานเรียก อโยฌชปุระ
คนจีนที่บันทึกไว้ตามชื่อนี้ บันทึกว่า ฟู เย ชิ เหยา ฟู ตรงกับ ปุระ , เยชิเหยา
คือ โย ฌิ หยา.
กรุงทวาราวดีในตำนานไทย
ตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ เรื่องพระสิขีปฏิมา เล่าเรื่อง
ความรุ่งเรืองของเมืองรามว่า พระราชาธิราชแห่งนครราม
ได้ให้ช่างทำพระพุทธรูปด้วยศิลาดำขึ้น 5 องค์ ได้แจกให้เมืองลูกหลาน คือเมืองมหานคร
1 องค์ , เมืองลวปุระ 1 องค์ , เมืองสุธรรม 1 องค์ , ไว้ในเมืองราม 2 องค์ .
แสดงว่าในสมัยรุ่งเรือง นครรามนี้เป็นประมุขแห่งไศเลนทรวงศ์
ส่งลูกหลานไปครองบ้านเมืองหลายแห่ง ตรงกับที่จีนจดว่า ประเทศตว้อเหอหลอ
ทางใต้จดพันพาน , เหนือจดเจียหลอเซอฝอ , ตะวันออกจดเจนละ, ตะวันตกติดทะเลใหญ่
คือมหาสมุทรอินเดีย เมืองมอญ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของทวาราวดี ยังคงเป็นเมืองเล็ก ๆ
เป็นเมืองขึ้น หรืออาจเป็นเมืองของบุตรเขยของกรุงทวาราวดี
พอพระรามองศ์ปฐมวงศ์สวรรคตแล้ว เมืองมอญ (จีนเรียก ลังกาสุกะ)
ก็รุ่งเรืองขึ้นทัดเทียมกับกรุงทวาราวดี ต่อมาได้ยกมาปราบทวาราวดีได้
และประกาศตนเป็นพระเจ้าราชาธิราช ไม่ยอมใช้มหาศักราชของไศเลนทรวงศ์
แต่ได้ตั้งจุลศักราชขึ้นใช้ เมื่อ พ. ศ. 1182.
พงศาวดารเหนือเล่าความว่า กรุงกษัตริย์เมืองตักกสิลามหานคร
ทรงพระนามว่า พระยาสักรดำมหาราชาธิราช ได้ให้ตั้งจุลศักราชขึ้นไว้เมื่อ พ. ศ. 1182
พระองค์ได้ตั้งจุลศักราชแล้ว พระองค์สวรรคตในปีนั้น เสวยราชสมบัติ 72 ปี จุลศักราช
ได้ศก 1 จุลศักราช 10 ปีระกา สัมฤทธิศก จึงพระยากาฬวรรณดิศราชบุตรของพระยากากพัตร
ได้เสวยราชสมบัติเมืองตักกศิลามหานคร จึงให้พราหมณ์ทั้งหลาย
ยกพลลงไปสร้างเมืองละโว้ พระยากาฬวรรณดิศราชก็ถอยลงมาเมืองสวางคบุรี
ที่บรรจุพระรากขวัญของพระพุทธเจ้าไว้แต่ก่อนนั้นแล้ว
พระยากาฬวรรณดิศราชจึงอาราธนาพระรากขวัญกับพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้ามาว่าจะบรรจุไว้ในเมืองละโว้
จึงพระบรมธาตุของพระพุทเจ้ามาทำพระอริยปาฏิหาริย์ ลอยกลับขึ้นไปเหนือน้ำ
ถึงเมืองสวางคบุรี แล้วก็อาราธนามา แล้วกลับขึ้นไป ถึง เจ็ดครั้ง
พระรากขวัญกับพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า ไม่อยู่ได้ในเมืองละโว้ จุลศักได้ 17
ปีมะโรง พระยากาฬวรรณดิศราช จึงอาราธนาพระรากขวัญกับพระบรมธาตุนั้น
ลงมาบรรจุไว้ในพระเจดีย์เมืองละโว้ สิ้นสองปี พระองค์สวรรคต
ตำนานทางเหนือเล่าว่า พระยาอนุรุธธรรมราช เป็นใหญ่ในเมืองมลราช
และบรรดาเมืองใหญ่ในชมพูทวีป ได้ทำพิธีลบศักราช ให้เริ่มใช้จุลศักราช นับ 1 เมื่อ
พ. ศ. 1182 มีพระยาต่าง ๆ มาร่วมในพิธีมาก(998 เมือง
มีแต่เมืองหริภุญชัยกับเมืองสุโขทัยเท่านั้นมิได้มา)
ดินแดนของอาณาจักรทวาราวดี
จากหลักฐานจดหมายเหตุของพระสมณะเฮี้ยงจัง(ถังซัมจั๋ง)ในพุทธศตวรรษที่ 12
บันทึกไว้ว่า ถัดไปทางทิศตะวันออกของอินเดียทางมณฑลอัสสัม มีภูเขาใหญ่สีดำเทียมเมฆ
ถัดภูเขาไปมีอาณาจักรชื่อสิกหลีสักตอล้อ คือ ศรีเกษตรหรือ พม่า
ถัดจากอาณาจักรนี้ออกไป มีอาณาจักรชื่อ ตุยล้อกัวตี่ ซึ่งเซเดส์ สันนิษฐานว่า
ตรงกับคำว่า ทวาราวดี ต่อมาภายหลังได้พบหลักฐาน อันเป็นจารึกของกัมพูชา
หลักหนึ่งออกชื่อเมืองทวารกะเดย จึงทำให้มั่นใจว่า อาณาจักรทวาราวดีเป็นมหาอาณาจักร
ตั้งอยู่ระหว่างประเทศพม่ากับประเทศเขมร อาณาจักรขยายออกไปทางภาคเหนือคือ
ลำพูน(หริภุญไชย) ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด และขยายไปทางภาคใต้ถึง
สุราษฎร์ธานี
ชนชาติและกษัตริย์ของอาณาจักรทวาราวดี คือพวกมอญโบราณ
จากการค้นพบจารึกภาษามอญโบราณที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและลุ่มแม่น้ำโขง
พระนางจามเทวีธิดากษัตริย์มอญ เป็นผู้ปกครองเมืองหริภุญไชย
ยุคฟูนัน (พนม) (ศตวรรษที่ 67)
ยุคทวาราวดี (ศตวรรษที่ 1116)
กษัตริย์เทียบเท่าพระโพธิสัตว์
ยุคศรีวิชัย (ศตวรรษที่ 1218)
ยุคลพบุรี (ศตวรรษที่ 1518)
พระพุทธศาสนายุคสุโขทัย(ศตวรรษที่ 18)
พระพุทธศาสนาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
การปกครองคณะสงฆ์สมัยสุโขทัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท
พระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา(ลานนา)
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเม็งราย(ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา)
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช (ตื้อนา)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163 เป็นต้นมา)
พระพุทธศาสนาสมัยพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199เป็นต้นมา)
แผนการยึดเมืองไทยของฝรั่งเศส
พระพุทธศาสนาสมัยสมเด็จพระบรมโกษฐ์(พ.ศ. 2275เป็นต้นมา
สรุปพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.23102325)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน)
พระพุทธศาสนาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยลเดช
นาคหลวง
ภาวะแห่งความแย้งขัดระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาอื่น
เกี่ยวกับนิกายแห่งศาสนาและลัทธิอื่น
นิกายหรือลัทธิใหม่ที่เกิดมีขึ้นในประเทศไทย
การเข้ามาสู่ประเทศไทยของพระพุทธศาสนา
ยุคที่ 1 ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท
ยุคที่ 2 ลัทธิมหายาน
ยุคที่ 3 ลัทธิหินยานอย่างพุกาม
ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์
บรรณานุกรม