ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พระพุทธศาสนาสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
พระบรมไตรโลกนาถทรงครองราชย์ประมาณปี พ. ศ. 1991 เป็นต้นมา
พระองค์ทรงครองราชย์อยู่ 40 ปี
พระองค์สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์พระร่วง(พระมารดาเป็นพระธิดาของกรุงสุโขทัย)
พระองค์ปกครองบ้านเมืองระบอบเดียวกันกับกรุงสุโขทัย คือธรรมราชา
พระไปประทับอยู่ที่พระราชวังเมืองพิษณุโลก
ทรงดำเนินนโยบายการปกครองประเทศตามอย่างพระราชา 2 พระองค์ คือ ตามอย่าง
พระธรรมราชาลิไทและพระเจ้าอโศกมหาราช
พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากถึงกับได้ลาพักราชการออกผนวชที่วัดจุฬามณี
เมืองพิษณุโลก พร้อมด้วยพระราชโอรสและพระราชนัดดาและข้าราชการรวมทั้งหมดถึง 1,000
เศษ เป็นเวลา 8 เดือน (หลักฐานจากพงศาวดารของหลวงประเสริฐเขียนไว้)
พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกในกรุงศรีอยุธยาที่ทรงผนวชในขณะที่กำลังครองราชย์อยู่
หลังจากที่พระองค์ลาสึกจากการผนวชแล้ว
พระองค์ทรงสนับสนุนให้พระราชโอรสและพระราชนัดดาและข้าราชการให้ลาข้าราชการออกบวชในพระพุทธศาสนาและในขณะที่ออกบวชก็ยังจ่ายเงินเดือนให้ทุกเดือนขณะบวช
เรียกเงินประเภทนี้ว่า เงิน ราชภัต
ในศตวรรษที่ 21 นี้
พระสงฆ์จากลานนาและกรุงศรีอยุธยาไปบวชเรียนจากสำนักพระวันรัตที่ลังกา
แล้วมาฟื้นนิกายลังกาวงศ์ขึ้นใหม่แบบสำนักพระวันรัต
พระองค์ทรงโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตสมัยนั้นแต่งหนังสือโดยอาศัยคัมภีร์พระไตรปิฎกหนังสืออ้างอิง
เรื่อง มหาชาติคำหลวง ในปี พ. ศ. 2025 ถือเป็นวรรณคดีเล่มแรกของกรุงศรีอยุธยา
การที่คนไทยนิยมฟังเทศน์มหาชาติได้เกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา
แต่อิทธิพลที่อยู่เบื้องหลังของการฟังเทศน์มหาชาติอยู่ที่เรื่องพระมาลัยเทวเถระ
และพระองค์โปรดให้สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์
ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับวัดพระเเก้วในปัจจุบัน โปรดให้หล่อรูปพระโพธิสัตว์ 500
ชาติไว้ในวัดนั้น ปัจจุบันยังคงเหลืออยู่สองสามรูป
พุทธศิลป์ในยุคพระบรมไตรโลกนาถ
ยุคนี้ได้สืบทอดแบบการสร้างพระพุทธรูปแบบ สมัยลพบุรี และ ลังกาวงศ์
เช่นมีปรากฏพุทธศิลป์ให้เห็นได้ เช่น ที่วัดพุทไธสวรรค์ , วัดพระราม , วัดมหาธาตุ
เป็นต้น ที่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ได้ทรงหล่อพระพุทธรูปยืน สูง 8 วา พระอุระกว้าง 11
ศอก น้ำหนัก 50,000 ชั่ง หล่อแล้วแผ่ทองคำหุ้ม หนัก 200 กว่าชั่ง พระพักตร์ยาว 4
ศอก ใช้เวลาหล่อตกแต่ง 3 ปีจึงแล้วเสร็จ ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์
คิดเป็นราคาทองในตลาดปัจจุบัน 15 ล้านบาท
นับว่าเป็นพระพุทธรูปทองที่ใหญ่ที่สุดในโลก
แต่ก็ถูกพม่าทำลายเมื่อคราวกรุงแตกครั้งที่ 2
แต่เราสามารถหาตัวอย่างดูได้จากพระพุทธรูปใหญ่อีกองค์หนึ่ง คือ พระโลกนาถ
ซึ่งหล่อในสมัยพระเจ้าบรมราชาหน่อพุทธางกูร เป็นพระพุทธรูปยืนสูง 5 วา
อยู่ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้วยกัน ปัจจุบันอยู่ในวิหารมุขตะวันออก วัดพระเชตุพน
ยุคฟูนัน (พนม) (ศตวรรษที่ 67)
ยุคทวาราวดี (ศตวรรษที่ 1116)
กษัตริย์เทียบเท่าพระโพธิสัตว์
ยุคศรีวิชัย (ศตวรรษที่ 1218)
ยุคลพบุรี (ศตวรรษที่ 1518)
พระพุทธศาสนายุคสุโขทัย(ศตวรรษที่ 18)
พระพุทธศาสนาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
การปกครองคณะสงฆ์สมัยสุโขทัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท
พระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา(ลานนา)
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเม็งราย(ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา)
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช (ตื้อนา)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163 เป็นต้นมา)
พระพุทธศาสนาสมัยพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199เป็นต้นมา)
แผนการยึดเมืองไทยของฝรั่งเศส
พระพุทธศาสนาสมัยสมเด็จพระบรมโกษฐ์(พ.ศ. 2275เป็นต้นมา
สรุปพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.23102325)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน)
พระพุทธศาสนาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยลเดช
นาคหลวง
ภาวะแห่งความแย้งขัดระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาอื่น
เกี่ยวกับนิกายแห่งศาสนาและลัทธิอื่น
นิกายหรือลัทธิใหม่ที่เกิดมีขึ้นในประเทศไทย
การเข้ามาสู่ประเทศไทยของพระพุทธศาสนา
ยุคที่ 1 ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท
ยุคที่ 2 ลัทธิมหายาน
ยุคที่ 3 ลัทธิหินยานอย่างพุกาม
ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์
บรรณานุกรม