ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช(พ.ศ.24112453)พระองค์เสวยราชย์แล้วดำเนินตามโบราณราชประเพณีแล้ว
เมื่อพระองค์มีพระชนมายุครบ 20 พรรษา ทรงลาผนวช 15 วัน เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ.
2416 ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยกรมหมื่นรังสีสุริยพันธ์ เป็นพระราชอุปัชฌาย์
เมื่อทรงกระทำพิธีราชาภิเษกครั้งที่ 2 จึงทรงสถาปนาพระราชอุปัชฌาย์ขึ้นเป็น
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระปวเรศวริยาลงภรณ์ ในปี พ.ศ. 2434
โปรดให้ตั้งพระราชพิธีมหาสมณุตมาภิเษก เลื่อนขึ้นเป็นสมเด็จพระปวเรศวิรยาลงกรณ์
ดำรงตำแหน่งมหาสังฆปรินายก เหมือนกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ
พระองค์สนพระทัยศึกษาทางพระพุทธศาสนามาก
ทรงพระราชนิพนธ์เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาไว้หลายเรื่อง
ทั้งยังทรงส่งเสริมและโปรดริเริ่มเกี่ยวกับวรรณคดีทางพระพุทธศาสนา
จนเป็นเหตุให้เกิดหนังสือที่เป็นประโยชน์ในการศึกษาพระพุทธศาสนามิใช่น้อย
โดยในรัชกาลนี้ได้มีการคัดเลือกมหาชาติร่ายยาวขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2445
โดยกรมศึกษาธิการ
ถึงปัจจุบันหนังสือนี้ยังได้ใช้เป็นแบบเรียนในโรงเรียนชั้นสูงและมหาวิทยาลัยด้วย
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ได้นิพนธ์หลักการใช้ตัวอักษรไทยเพื่อถ่ายทอดคำบาลี ชื่อ กถาปัฏฐปนะและอักขราวิธาน
เมื่อ พ.ศ. 2426 ซึ่งเป็นผลให้การใช้ภาษาบาลีอักษรไทย
โดยใช้เครื่องหมายในวงเล็บ(.)แทนการใช้ไม้ยมก ดังปรากฏในปัจจุบัน
และวรรณกรรมที่เรียกว่า ประเภทสัททศาสตร์ก็ปรากฏขึ้นในรัชกาลที่ 5 นี้
เกี่ยวกับพระศาสนสถาน รัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธา
สร้างวัดขึ้นหลายวัดและทรงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆอีกหลายวัด
เกี่ยวกับต่างประเทศ ในปี พ.ศ. 2414 หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์ได้ 3 ปี
ได้เสด็จประพาสต่างประเทศและเสด็จถึงประเทศอินเดียแดนพุทธภูมิด้วย
เสด็จไปบูชาสังเวชนียสถานมฤคทายวัน ทรงหาศาสนวัตถุ
ตลอดจนภาพพุทธเจดีย์ได้มาหลายอย่าง
และการเสด็จประเทศอินเดียครั้งนี้เองเป็นเหตุให้นักศึกษาพระพุทธศาสนาเปลี่ยนเส้นทางจากศรีลังกาหันไปสนใจอินเดียตั้งแต่นั้นสืบมา
และนับว่ารัชกาลที่ 5 เป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จประเทศอินเดีย อนึ่ง
ในรัชกาลนี้ ยังได้พันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากพุทธคยาโดยตรงอีกด้วย
ทรงโปรดให้ปลูกไว้ที่วัดเบญจมบพิตร 1 ต้น และที่วัตอัษฎางคนิมิตร 1 ต้น
ต่อมาได้มีผู้ค้นพบพระบรมสารีริกธาตุ
และมีคำจารึกเป็นอักษรเก่าสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นหลักฐาน ณ ป่าเมืองกบิลพัสดุ์
มาร์ควิส เดอสัน อุปราชอินเดียในสมัยนั้นจึงอัญเชิญกราบทูลถวายมายังประเทศไทย
ในรัชกาลที่ 5 นี้ด้วย
พระองค์จึงโปรดให้พระยาสุขุมนัยประดิษฐ์ซึ่งต่อมาได้เป็นเจ้าพระยายมราช(มหาปั้น
สุขุม)เดินทางไปอัญเชิญมา
ในการนี้ปรากฏว่ามีทูตานุทูตจากประเทศพระพุทธศาสนาเข้ามาเมืองไทย
กราบทูลขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ พระองค์ก็ทรงพระกรุณาแบ่งให้
ส่วนที่เป็นสมบัติของไทย
โปรดให้บรรจุไว้ในพระเจดีย์บนยอดเขาสุวรรณบรรพต(ภูเขาทอง)วัดสระเกศ กรุงเทพฯ
เกี่ยวกับการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราชทรงนิมนต์ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส เป็นประธานในการวางระเบียบการศึกษาของประชาชน
โดยให้พระเถระทั้งหลายทั้งในส่วนกลางและตามหัวเมืองต่างๆทั่วพระราชอาณาจักรตั้งโรงเรียนสอนเด็กขึ้นในวัด
โดยให้พระเป็นครูอาจารย์สอนเอง รัฐบาลเป็นฝ่ายเกื้อกูล
นี้คือจุดเริ่มต้นการศึกษาของชาติที่เกิดมาจากวัด
ต่อมาเมื่อมีกระทรวงธรรมการขึ้นจึงได้รับงานการศึกษานี้ไป
อันเป็นเหตุให้การศึกษาของชาติขั้นมูลฐานห่างออกไปจากวัดและพระสงฆ์มาโดยลำดับ
และพระองค์ยังทรงส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์ในระดับสูงอีก
คือโปรดให้ตั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้น 2 แห่ง คือที่วัดบวรนิเวศวิหาร เรียก
มหามกุฎราชวิทยาลัย และที่วัดมหาธาตุเรียกว่า มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
เกี่ยวกับพระไตรปิฎก เมื่อพระองค์เสวยราชย์ได้ 25 ปี
ทรงปรารภจะบำเพ็ญพระมหากุศล
เนื่องจากทรงเห็นว่าพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์หลักสำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนาที่จารึกไว้ในใบลานนั้นเป็นการไม่มั่นคง
ทั้งมีจำนวนมากยากแก่การรักษา และ ยังเป็นอักษรขอมอีกด้วย
ผู้ไม่ได้เรียนภาษาขอมก็อ่านไม่ออกไม่เข้าใจไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร
จึงโปรดให้พระเถรานุเถระทั้งหลายประชุมทำสังคายนาชำระพระไตรปิฎก
ถ่ายจากอักษรขอมเป็นอักษรไทย ภาษาบาลีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2431 เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2436
และได้จัดพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือจำนวน 1,000 จบ(ชุด)
พระราชทานไปตามพระอารามหลวงทุกแห่งและหอสมุดในนานาประเทศพระพุทธศาสนา
ในการนี้พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาสละพระราชทรัพย์ทั้งสิ้นเพื่อทรงบำเพ็ญพระมหากุศล
เนื่องในวโรกาสที่พระองค์เสวยราชย์มาครบ 25 พรรษา
นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มด้วยอักษรไทย
และเป็นประโยชน์แก่การศึกษาค้นคว้าทางพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากที่ได้รับความสะดวกยิ่งขึ้น
และถือว่าเป็นการวางรากฐานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทยด้วย
จึงนับว่าเป็นพระราชกรณียกิจที่ควรแก่การสรรเสริญยิ่ง
เกี่ยวกับการปกครองคณะสงฆ์เมื่อทรงเสวยราชย์มา 12 ปี
ในวงการคณะสงฆ์มีการเปลี่ยนแปลง คือ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ
ซึ่งผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งรับกรมเป็นกรมหมื่นวชิรญาณวโรรส รัชกาลที่ 5
จึงโปรดให้มีสมณศักดิ์เป็น เจ้าคณะรองคณะธรรมยุตินิกาย
จึงถือได้ว่าสมณศักดิ์ตำแหน่งนี้มีขึ้นเป็นครั้งแรก ทำให้สางเกตได้ว่า
คณะธรรมยุติได้แยกตัวออกเป็นคณะต่างหากแต่ครั้งนี้เอง
เกี่ยวกับประกาศและพระราชบัญญัติ ในรัชกาลที่ 5 นี้ มีประกาศพระราชบัญญัติ
กฎ ข้อบังคับที่สำคัญออกมาหลายฉบับ เช่น
(ก)ประกาศผู้บวชให้มีประกัน(พ.ศ. 2419)
(ข)ประกาศห้ามภิกษุสามเณรประพฤติอนาจาร
(ค)ข้อบังคับเรื่องเงินกัลปนา(พ.ศ. 2445)
ยุคฟูนัน (พนม) (ศตวรรษที่ 67)
ยุคทวาราวดี (ศตวรรษที่ 1116)
กษัตริย์เทียบเท่าพระโพธิสัตว์
ยุคศรีวิชัย (ศตวรรษที่ 1218)
ยุคลพบุรี (ศตวรรษที่ 1518)
พระพุทธศาสนายุคสุโขทัย(ศตวรรษที่ 18)
พระพุทธศาสนาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
การปกครองคณะสงฆ์สมัยสุโขทัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท
พระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา(ลานนา)
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเม็งราย(ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา)
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช (ตื้อนา)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163 เป็นต้นมา)
พระพุทธศาสนาสมัยพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199เป็นต้นมา)
แผนการยึดเมืองไทยของฝรั่งเศส
พระพุทธศาสนาสมัยสมเด็จพระบรมโกษฐ์(พ.ศ. 2275เป็นต้นมา
สรุปพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.23102325)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน)
พระพุทธศาสนาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยลเดช
นาคหลวง
ภาวะแห่งความแย้งขัดระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาอื่น
เกี่ยวกับนิกายแห่งศาสนาและลัทธิอื่น
นิกายหรือลัทธิใหม่ที่เกิดมีขึ้นในประเทศไทย
การเข้ามาสู่ประเทศไทยของพระพุทธศาสนา
ยุคที่ 1 ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท
ยุคที่ 2 ลัทธิมหายาน
ยุคที่ 3 ลัทธิหินยานอย่างพุกาม
ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์
บรรณานุกรม