ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

พระพุทธศาสนาเข้าสู่ประเทศไทย

ยุคที่ 2 ลัทธิมหายาน

เมื่อเกิดลัทธิมหายานแพร่หลายในอินเดีย พวกชาวอินเดียก็พาลัทธิมหายานมาเที่ยวสอนตามประเทศเหล่านี้เหมือนเคยสอนศาสนามาแต่หนหลัง แต่มาสอนที่เกาะสุมาตราก่อน แล้วจึงเลยไปสอนที่เกาะชวาและประเทศกัมพูชา บางทีจะมีชาวอินเดียอีกพวกหนึ่งมาจากมคธราฐพาพระะพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาเที่ยวสอนในประเทศพม่า มอญ ตลอดจนกรุงทวารวดี แต่หากจะมิใคร่มีใครเลื่อมใส จึงไม่ปรากฏเค้าเงื่อนว่าลัทธิมหายานได้มาเจริญแพร่หลายในชั้นนั้น ต่อมาราว พ.ศ.1300 กษัตริย์ซึ่งครองกรุงศรีวิชัยในเกาะสุมาตรามีอานุภาพมาก แผ่อาณาเขตมาถึงแหลมมลายู(ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีลงไปจนถึงปัตตานี) พวกชาวศรีวิชัยนับถือพระพุทธศาสนาอย่างลัทธิมหายาน จึงนำลัทธินั้นมาสอนในเหล่าจังหวัดที่ได้ไว้เป็นอาณาเขต ยังมีพุทธเจดีย์อย่างลัทธิมหายานที่พวกชาวศรีวิชัยมาสร้างไว้ปรากฏอยู่ เช่น พระมหาธาตุเมืองไชยา เป็นต้น ตลอดถึงพระพิมพ์ดินดิบซึ่งทำซ่อนไว้ในถ้ำแห่งละมากมาย ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชไปถึงจังหวัดไทรบุรี ลักษณะเหมือนพระพุทธรูปและรูปพระโพธิสัตว์ที่เกาะชวา สันนิษฐานว่าพระพิมพ์ดินดิบนั้นเป็นของพวกสอนศาสนาสร้างทิ้งไว้ โดยหวังว่าผู้ใดไปพบปะในอนาคตจะได้เอาไปประกาศแก่พวกพลเมืองให้เกิดมีศรัทธาเลื่อมใสในพระศาสนา แต่ในสมัยนั่นลัทธิมหายานเห็นจะเจริญอยู่เพียงในแหลมมลายู ฝ่ายเหนือขึ้นมายังถือลัทธิเถรวาทหรือซึ่งเรียกในภาษาสันสกฤตว่าลัทธิ “สถวีระ” กันอยู่อย่างเดิม มีเรื่องราวปรากฏในศิลาจารึกว่าในสมัยราวเมื่อ พ.ศ. 1550 มีกษัตริย์เชื้อสายหนึ่ง ราชบุตรชองกษัตริย์องค์นั้นได้ไปครองประเทศกัมพูชา เป็นเหตุให้ประเทศสยามกับประเทศกัมพูชาสืบมาอีกช้านานศาสนากับทั้งวิชาช่างในประเทศกัมพูชาจึงแผ่มาถึงสยาม ตั้งแต่สมัยนี้ ในศิลาจารึกในสมัยนั้นกล่าวว่า ที่เมือองลพบุรีมีทั้งพระสงฆ์นิกายสถวีระและนิกายมหายาน สันนิษฐานว่าพระสงฆ์นิกายสถวีระซึ่งเป็นนิกายเดิมที่มาจากมคธราฐคงมีผู้คนนับถือมากในสยาม ส่วนพระสงฆ์นิกายมหายานเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศกัมพูชาก่อน พึ่งมาเจริญรุ่งเรืองขึ้นในประเทศสยามตั้งแต่อยู่ในอำนาจราชวงศ์ประเทศกัมพูชา ถึงศาสนาพราหมณ์ก็เห็นจะมาเจริญขึ้นในสยามประเทศตั้งแต่สมัยนี้ เพราะกษัตริย์ซึ่งปกครองประเทศกกัมพูชาบางพระองค์เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและบางพระองค์ก็เลื่อมใสในศาสนาพราหมณ์และบางพระองค์เลื่อมใสด้วยกันทั้งสองศาสนาดังปรากฏอยู่ในศิลาจารึกของกษัตริย์นั้นๆ ยุคนี้เป็นสมัยที่ลัทธิมหายานมาเจริญรุ่งเรืองในสยาม และเปลี่ยนใช้ภาษาสันสกฤตจารึกพรระธรรมแทนภาษามคธ

ยุคฟูนัน (พนม) (ศตวรรษที่ 6–7)
ยุคทวาราวดี (ศตวรรษที่ 11–16)
กษัตริย์เทียบเท่าพระโพธิสัตว์
ยุคศรีวิชัย (ศตวรรษที่ 12–18)
ยุคลพบุรี (ศตวรรษที่ 15–18)
พระพุทธศาสนายุคสุโขทัย(ศตวรรษที่ 18)
พระพุทธศาสนาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
การปกครองคณะสงฆ์สมัยสุโขทัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท
พระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา(ลานนา)
พระพุทธศาสนาในสมัยพระเจ้าเม็งราย(ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา)
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช (ตื้อนา)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาสมัยพระบรมไตรโลกนาถ
พระพุทธศาสนาสมัยพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2163 เป็นต้นมา)
พระพุทธศาสนาสมัยพระนารายณ์มหาราช(พ.ศ.2199เป็นต้นมา)
แผนการยึดเมืองไทยของฝรั่งเศส
พระพุทธศาสนาสมัยสมเด็จพระบรมโกษฐ์(พ.ศ. 2275เป็นต้นมา
สรุปพระพุทธศาสนาในสมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาในสมัยกรุงธนบุรี(พ.ศ.2310–2325)
พระพุทธศาสนาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์(พ.ศ.2325 ถึงปัจจุบัน)
พระพุทธศาสนาสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล
พระพุทธศาสนาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยลเดช
นาคหลวง
ภาวะแห่งความแย้งขัดระหว่างพระพุทธศาสนากับศาสนาอื่น
เกี่ยวกับนิกายแห่งศาสนาและลัทธิอื่น
นิกายหรือลัทธิใหม่ที่เกิดมีขึ้นในประเทศไทย
การเข้ามาสู่ประเทศไทยของพระพุทธศาสนา
ยุคที่ 1 ลัทธิหินยานอย่างเถรวาท
ยุคที่ 2 ลัทธิมหายาน
ยุคที่ 3 ลัทธิหินยานอย่างพุกาม
ยุคที่ 4 ลัทธิลังกาวงศ์
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย