ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
ภาษาคน-ภาษาธรรม : ทฤษฎีการตีความของท่านพุทธทาส
ในวรรณกรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
ท่านพุทธทาสภิกขุได้นำเสนอหลักธรรมเรื่อง
ปฏิจจสมุปบาทในฐานะเป็นหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา
พร้อมทั้งได้นำเสนอทฤษฎีสำหรับตีความ
ปฏิจจสมุปบาทแนวใหม่ที่แตกต่างไปจากการตีความแบบจารีต นั่นคือทฤษฎี
ภาษาคน-ภาษาธรรม
ทฤษฎีนี้น่าจะตกผลึกมาจากการที่ท่านได้ใช้เวลาค้นคว้าพระไตรปิฎกมาเป็นเวลานาน
ท่านให้สัมภาษณ์ถึงการค้นพระไตรปิฎกของท่านว่า ต้องเปิดหมด เปิดทุกใบ
ฉะนั้นตลอดที่ผ่านมา 50 ปี ก็เปิดหลายรอบ หลาย ๆ เที่ยว หลายคราว
ภาษาพระไตรปิฎกในทัศนะของท่านพุทธทาสมี 2 ประเภท คือ ภาษาคน และ ภาษาธรรม
ภาษาคน คือ ภาษา สำหรับสอนศีลธรรมแก่คนที่ยังหนาด้วยสัสสตทิฏฐิ เป็นภาษาตื้น ๆ
ที่สื่อสารกันเพื่อให้เกิดความเข้าใจในสังคมมนุษย์ เป็นภาษาในระดับที่ยังมีตัวตน
โดยอาจจะนำเอาความคิดความเชื่อที่มีอยู่สังคมมาเป็นเครื่องมือก็ได้
เช่นความเชื่อที่ว่า นรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้า เป็นต้น
ในทรรศนะของท่านพุทธทาส ข้อความใดก็ตามที่สื่อออกมาเป็นภาษาคน
จะมีความหมายระดับภาษาธรรมซ่อนลึกอยู่เบื้องหลัง ดังนั้น
ในฐานะเป็นนักศึกษาพุทธธรรม
เราจะต้องตีความภาษาคนให้เข้าถึงความหมายระดับภาษาธรรมให้ได้ เช่น
เมื่อพูดถึงนรก-สวรรค์ ก็ต้องบอกว่า นรกหรือสวรรค์นั้น เป็นไปตามอายตนะ
ที่อายตนะคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ส่วนภาษาธรรม
คือภาษาที่กล่าวถึงสัจธรรมในพระพุทธศาสนาโดยตรง
เป็นภาษาระดับปรมัตถธรรมที่กล่าวถึงความไม่มีตัวตน
ทฤษฎีภาษาคน-ภาษาธรรมของท่านพุทธทาส
ถือว่าเป็นกรอบแนวคิดสำคัญที่ท่านใช้เป็นฐานในการตีความคัมภีร์มาโดยตลอด
ถามว่าทำไมท่านพุทธทาสจึงสร้างทฤษฎีภาษาคน-ภาษาธรรมขึ้นมา ในทัศนะของผู้วิจัย
ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการที่ท่านประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อความในพระไตรปิฎกบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกับข้อพิสูจน์ของศาสตร์สมัยใหม่
หรือไม่สามารถสื่อสารให้คนสมัยใหม่ยอมรับได้
โดยเฉพาะข้อความที่ไม่สอดคล้องหลักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เช่น เรื่องนรกใต้ดิน
สวรรค์บนฟ้า การเวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ ตามจักรวาลวิทยาแบบเดิม
และเรื่องราหูอมจันทร์ในจันทิมสูตร เป็นต้น
แน่นอนว่าข้อความเหล่านี้เมื่อนำมาอธิบายด้วยศาสตร์สมัยใหม่
จะต้องเกิดปัญหาในแง่ความสมเหตุสมผลอย่างแน่นอน
พุทธทาสจึงหาทางออกจากปัญหานี้ด้วยการสร้างทฤษฎี ภาษาคน ขึ้นมาอธิบาย
หมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องปฏิเสธข้อความเหล่านี้
แต่ต้องตีความแบบใหม่หรือค้นหาเจตนารมณ์ของข้อความเหล่านั้น
เป็นภาษาที่สื่อสารกับคนธรรมดาสามัญทั่วไป ซึ่งเป็นความนิยมของคนในยุคนั้น ๆ
โดยมีจุดมุงหมายในระดับศีลธรรม
ภาษาระดับนี้ไม่จำเป็นต้องมีข้อเท็จจริงในระดับอภิปรัชญา (metaphysical)
เป็นฐานรองรับ สิ่งสำคัญคือเราต้องสามารถตีความภาษาคนเข้าไปหาภาษาธรรมให้ได้
เมื่อตีความได้ดังนี้ ก็หมดปัญหาในแง่ความไม่สมเหตุสมผล
ยุคใหม่ในสังคมตะวันตก
ยุคใหม่ในสังคมไทย
วรรณกรรมแบบจารีตลังกา
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
วรรณกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคใหม่
แนวโน้มวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
โครงเรื่องแนวเหตุผลนิยม
การวิพากษ์เรื่องอภินิหาร
การตีความเรื่องอภินิหาร
การวิพากษ์ความไม่สมเหตุสมผล
ยุคใหม่ตอนกลาง : วรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
ภาษาคน-ภาษาธรรม : ทฤษฎีการตีความของท่านพุทธทาส
การวิพากษ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค
การปฏิเสธจักรวาลวิทยาแบบอภิปรัชญา
การตีความปฏิจจสมุปบาทแนวใหม่
การฟื้นฟูมิติโลกุตรธรรม
วรรณกรรมของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
การฟื้นฟูมิติทางสังคมแนวพุทธ
การวิพากษ์ฐานคิดตะวันตกและเสนอแนวคิดแบบองค์รวมเชิงพุทธ
วรรณกรรมของฟริตจ๊อฟ คาปร้า
ทัศนะแบบจักรกล (mechanistic view)
ทรรศนะแบบลดทอน (Reductionistic view)
แนวคิดพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature)
ควอนตัมฟิสิกส์ กับ พระพุทธศาสนา
กลุ่มวรรณกรรมที่เน้นพุทธจริยธรรมเชิงสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประเวศ วสี
วรรณกรรมของนิธิ เอียวศรีวงศ์
วรรณกรรมที่เน้นจริยธรรมแบบผูกพันกับสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน ต่างใจ
นิพพานในฐานะเป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของจิต
วรรณกรรมของปริญญา ตันสกุล
โครงสร้างจิตและการทำงานของจิต
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่นิพพาน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนากับแนวคิดหลังสมัยใหม่
บทสรุป
บรรณานุกรม