ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่

การวิพากษ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค

แม้ว่าท่านพุทธทาสจะพยายามปฏิรูปศาสนาด้วยการกลับไปหารากฐานเดิมคือพระไตรปิฎก แต่ท่านไม่ได้เชื่อข้อความทุกตัวอักษรในพระไตรปิฎก ท่านได้กระตุ้นให้ชาวพุทธศึกษาอย่างวิพากษ์และคัดสรรเอาเฉพาะส่วนที่เป็นหลักธรรมที่แท้เท่านั้น เพราะเนื้อหาในพระไตรปิฎกบางส่วนถูกคนรุ่นหลังเพิ่มเข้ามาก็ดี ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เรื่องสุริยคราส จันทรค¬ราส ไม่เกี่ยวกับความดับทุกข์ แต่เป็นการสร้างความเชื่อในหมู่คนที่ไร้การศึกษาสมัยนั้นให้หันมาสนใจพระพุทธเจ้า ถ้าเพียงแต่ออกชื่อพระพุทธเจ้า ราหูก็ต้องปล่อยพระจันทร์ เข้าใจว่าในอินเดียหรือในลังกา สมัยที่เติมสูตรนี้เข้ามา คนมันเชื่ออย่างนั้นมาก เลยเอามาพูดไว้เสียเลย มาบรรจุไว้ในพระไตรปิฎกเสียเลย เรื่องยักษ์ก็เหมือนกัน คนกลัวยักษ์กันมาก ฉะนั้น ถ้ามีเรื่องยักษ์ที่ไม่ต้องกลัวยักษ์ มันก็มีประโยชน์แก่มหาชน

ในส่วนคัมภีร์อรรกถาก็เช่นเดียวกัน ท่านเตือนให้ศึกษาคัมภีร์อรรถกถาอย่างมีวิจารณญาณ ไม่ให้เชื่ออรรถกถาไปหมดทุกอย่าง โดยเฉพาะอรรถกถาที่แต่งบนฐานแนวคิดของพระพุทธโฆสาจารย์ ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ในการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ต้องถือเอาบาลีเดิมเป็นหลักอย่ามอบตัวให้กับอรรถกถาอย่างไม่ลืมหูลืมตา หรืออย่ามอบตัว 100 เปอร์เซ็นต์ ให้กับหนังสือที่แต่งชั้นหลัง…ซึ่งจะทำให้ได้ยินได้ฟังแต่เพียงอย่างเดียว เหมือนกับการผูกขาด จะต้องสงวนลิขสิทธิ์และใช้สิทธิตามที่พระพุทธองค์ทรงมอบไว้ให้ โดยหลักแห่งกาลามสูตร…มาเป็นเครื่องคุ้มครอง ป้องกันการตกเป็นทาสของหนังสือแต่งหรืออธิบายกันในชั้นหลัง

ในส่วนคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านวิจารณ์ท่านพระพุทธโฆสาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์นี้ว่าเป็นแต่เพียงเอานิทานและบทวิเคราะห์ศัพท์แสงเชิงปริยัติไปห่อหุ้มคัมภีร์วิมุตติมรรคซึ่งเป็นคัมภีร์ที่มียู่แล้วเท่านั้น ดังคำวิจารณ์ของท่านที่ว่า “ถ้าข้าพเจ้าจะมุ่งวิจารณ์พระพุทธโฆสาจารย์จริง ๆ แล้ว ข้าพเจ้าก็จะวิจารณ์ในแง่ว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆสาจารย์นั้น เป็นคัมภีร์ที่เพียงแต่เอานิทานต่าง ๆ กับบทวิเคราะห์ศัพท์ทางปริยัติ มาพอกหุ้มให้กับคัมภีร์วิมุตติมรรค ซึ่งมียู่ก่อนแล้วเท่านั้น” อย่างไรก็ตาม แม้ว่าท่านพุทธทาสจะวิจารณ์ท่านพุทธโฆสาจารย์อย่างแรง แต่ท่านก็ชื่นชมภูมิความรู้ของท่านว่า “โดยส่วนใหญ่จะเห็นว่าท่านเป็นผู้มีความรู้มากที่สุด แล้วมีประโยชน์มากที่สุด อธิบายเรื่องที่มีประโยชน์ไว้หลายสิบหลายร้อยเรื่อง แต่เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ผมไม่เห็นด้วยเลย เพราะพูดไปในรูปที่เป็นอาตมัน เป็นศาสนาพราหมณ์ไป” ท่านกล่าวต่อไปอีกว่าในจำนวนเนื้อหาของวิสุทธิมรรค 100 เปอร์เซ็นต์นั้น ท่านรับฟังได้ประมาณ 90–95 เปอร์เซ็นต์ อีกประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ท่านไม่เห็นด้วย ซึ่งก็คือเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง

ยุคใหม่ในสังคมตะวันตก
ยุคใหม่ในสังคมไทย
วรรณกรรมแบบจารีตลังกา
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
วรรณกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคใหม่
แนวโน้มวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
โครงเรื่องแนวเหตุผลนิยม
การวิพากษ์เรื่องอภินิหาร
การตีความเรื่องอภินิหาร
การวิพากษ์ความไม่สมเหตุสมผล
ยุคใหม่ตอนกลาง : วรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
ภาษาคน-ภาษาธรรม : ทฤษฎีการตีความของท่านพุทธทาส
การวิพากษ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค
การปฏิเสธจักรวาลวิทยาแบบอภิปรัชญา
การตีความปฏิจจสมุปบาทแนวใหม่
การฟื้นฟูมิติโลกุตรธรรม
วรรณกรรมของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
การฟื้นฟูมิติทางสังคมแนวพุทธ
การวิพากษ์ฐานคิดตะวันตกและเสนอแนวคิดแบบองค์รวมเชิงพุทธ
วรรณกรรมของฟริตจ๊อฟ คาปร้า
ทัศนะแบบจักรกล (mechanistic view)
ทรรศนะแบบลดทอน (Reductionistic view)
แนวคิดพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature)
ควอนตัมฟิสิกส์ กับ พระพุทธศาสนา
กลุ่มวรรณกรรมที่เน้นพุทธจริยธรรมเชิงสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประเวศ วสี
วรรณกรรมของนิธิ เอียวศรีวงศ์
วรรณกรรมที่เน้นจริยธรรมแบบผูกพันกับสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน ต่างใจ
นิพพานในฐานะเป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของจิต
วรรณกรรมของปริญญา ตันสกุล
โครงสร้างจิตและการทำงานของจิต
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่นิพพาน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนากับแนวคิดหลังสมัยใหม่
บทสรุป
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย