ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน ต่างใจ
จิตจักรวาลในฐานะเป็นพื้นฐานของสรรพสิ่ง
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน
ต่างใจ ที่ถือว่าเป็นวรรณกรรมพระพุทธศาสนาแนวใหม่ในทัศนะของผู้วิจัย
คือวรรณกรรมเรื่อง ปริศนาจักรวาล และเรื่อง โลกหลัง 2012 : สู่มิติที่ห้า
เหตุผลว่าทำไมผู้วิจัยจึงจัดงานสองชิ้นนี้อยู่ในประเภทวรรณกรรมพระพุทธศาสนาแนวใหม่
เพราะเป็นงานที่เอาแนวคิดเกี่ยวกับกำเนิดจักรวาลทางวิทยาศาสตร์ (Big Bang)
มาอธิบายบนพื้นฐานของการความเรื่องจิตในพระพุทธศาสนาแบบใหม่
ซึ่งผู้เขียนคือนายแพทย์ประสานเรียกว่า จิตจักรวาล หรือ จิตวิญญาณแห่งจักรวาล
(Cosmic Consciousness)
จิตจักรวาล ในทัศนะของนายแพทย์ประสาน มีความหมายในลักษณะคล้ายกันกับ
จิตวิญญาณแห่งเทพ (divine consciousness) หรือ พระจิตยิ่งใหญ่แห่งจักรวาล
(Godhead or Universal Spirit) ของคริสต์ศาสนา
ซึ่งก็สอดคล้องกับทัศนะของนักฟิสิกส์ยุคใหม่ที่ว่า ปฐมเหตุ ((primary cause)
สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม (the ever-present origin) หรือ พลังงานปฐมภูมิ
(primary energy) ซึ่งนายแพทย์ประสานตีความว่าน่าจะตรงกับแนวคิดของเรื่อง
พลังงานแสงแรก หรือ แสงเรืองกระจ่าง (luminescent or clear light)
ของนิกายวัชรยาน และแนวคิดของนิกายเซนเรื่อง จิตหนึ่ง (One Mind)
อันเป็นจิตบริสุทธิ์ก่อนจะกลายมาเป็นความหลากหลายแห่งสังสารวัฏ
ในทัศนะทางวิทยาศาสตร์ สภาพดั้งเดิมจักรวาลก่อนที่จะเกิดมีสรรพสิ่ง
คือสภาพที่เรียกว่า ซิงกูลาริตี้ (singularity) หรือสภาพที่เป็นหนึ่งเดียว
เต็มไปด้วยความว่าง (vacuum) และ มีศักยภาพที่สามารถกลายเป็นความหลากหลายได้
ในทางจักรวาลวิทยาใหม่ สรรพสิ่งหรือจักรวาลทั้งหมดมีที่มาจากหนึ่ง
ที่เป็นความว่างเปล่า แต่ไม่ใช่ความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไรเลย หากเป็นความว่าง
(quantum vacuum) ที่มีความเต็มของศักยภาพ (quantum potential-fluctuation)
แห่งการสั่นสะเทือนที่จะเป็นพลังงาน เป็นอนุภาคหรือสสาร (energy-virtual particle)
ก่อประกอบเป็นความหลากหลาย
หรืออาจพูดว่าจักรวาลมาจากหนึ่งที่ไม่ใช่ตัวตนสู่สรรพสิ่งหลากหลาย (one and many or
unity and diversity)
นายแพทย์ประสานมองว่าอภิปรัชญาหรือการอธิบายอธิบายภาวะความจริงสูงสุดของศาสนาทั้งหลายล้วนแต่สอดคล้องกับแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระพุทธศาสนา พุทธศาสนาพูดถึงจักรวาลและพลังงานปฐมจากสุญญตา
ความเป็นหนึ่งที่เป็นความเต็มประหนึ่งครรภ์ ที่ให้การก่อเกิดมวลสรรพสิ่ง
นอกจากนั้น นายแพทย์ประสานยังมองอีกว่า
ในสภาพดั้งเดิมของจักรวาลก่อนที่จะเกิดสรรพสิ่งนั้น
จิตวิญญาณมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกันกับพลังงาน
ทุกวันนี้มีหลักฐานพอที่จะทำให้นักคิดหรือแม้แต่นักฟิสิกส์จำนวนไม่น้อย
คิดว่าจิตวิญญาณสากลเป็นพื้นฐานเพียงประการเดียวของจักรวาลในเบื้องต้น
จิตวิญญาณที่เป็นประหนึ่งกระแสหรือพลังงานที่สร้างสรรค์ความหลากหลายและที่ซึมแทมรกอยู่ทั่วไป
(unconscious continuum as matrix of the universe) ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า
พื้นฐานของจักรวาลก็คือ จิต หรือ จิตวิญญาณ นั่นเองเป็นรากฐานที่มาของสรรพสิ่ง
ดังคำกล่าวของนายแพทย์ประสานที่ว่า
ผมเชื่อโดยมีหลักฐานพอสมควรว่าพลังงานกับจิตวิญญาณเป็นส่วนเดียวกัน
อยู่ที่ว่าเราจะเอาความรู้สายนั้นมาประยุกต์เป็นความรู้หรือที่มาทางความรู้สายไหน
ถ้าเราศึกษามาทางกายก็มาทางกาย จักรวาลระเบิดออกมาแล้วก็เป็นพลังงาน
พลังงานตัวนั้นคือจิต เพราะฉะนั้น
พื้นฐานดั้งเดิมของจักรวาลไม่มีอย่างอื่นนอกจากจิตวิญญาณทั้งสิ้น
จิตวิญญาณนี้เองที่ก่อให้เกิดสรรพสิ่งก็ได้ เกิดมาเป็นรูปกายก็ได้
เมื่อสร้างรูปกายแล้วจิตวิญญาณก็สร้างประดิษฐ์ในรูปกายนั้น
หลักฐานทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่นายแพทย์ประสานมองยกขึ้นมารองรับแนวทางการตีความของตน
คือ จิตฺเตน นียติ โลโก แปลว่า โลกอันจิตย่อมนำไป และข้อความในหลัก
ปฏิจจสมุปบาทที่ว่า วิญฺญาณปจฺจยา นามรูปํ แปลว่า
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ซึ่งคำว่า จิต หรือ วิญญาณ ในที่นี้
นายแพทย์ประสานตีความว่าได้แก่วิญญาณอันเป็นรากฐานที่มาของสรรพสิ่งในจักรวาล
(นามรูป
ยุคใหม่ในสังคมตะวันตก
ยุคใหม่ในสังคมไทย
วรรณกรรมแบบจารีตลังกา
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
วรรณกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคใหม่
แนวโน้มวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
โครงเรื่องแนวเหตุผลนิยม
การวิพากษ์เรื่องอภินิหาร
การตีความเรื่องอภินิหาร
การวิพากษ์ความไม่สมเหตุสมผล
ยุคใหม่ตอนกลาง : วรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
ภาษาคน-ภาษาธรรม : ทฤษฎีการตีความของท่านพุทธทาส
การวิพากษ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค
การปฏิเสธจักรวาลวิทยาแบบอภิปรัชญา
การตีความปฏิจจสมุปบาทแนวใหม่
การฟื้นฟูมิติโลกุตรธรรม
วรรณกรรมของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
การฟื้นฟูมิติทางสังคมแนวพุทธ
การวิพากษ์ฐานคิดตะวันตกและเสนอแนวคิดแบบองค์รวมเชิงพุทธ
วรรณกรรมของฟริตจ๊อฟ คาปร้า
ทัศนะแบบจักรกล (mechanistic view)
ทรรศนะแบบลดทอน (Reductionistic view)
แนวคิดพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature)
ควอนตัมฟิสิกส์ กับ พระพุทธศาสนา
กลุ่มวรรณกรรมที่เน้นพุทธจริยธรรมเชิงสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประเวศ วสี
วรรณกรรมของนิธิ เอียวศรีวงศ์
วรรณกรรมที่เน้นจริยธรรมแบบผูกพันกับสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน ต่างใจ
นิพพานในฐานะเป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของจิต
วรรณกรรมของปริญญา ตันสกุล
โครงสร้างจิตและการทำงานของจิต
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่นิพพาน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนากับแนวคิดหลังสมัยใหม่
บทสรุป
บรรณานุกรม