ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

วรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่

โครงสร้างจิตและการทำงานของจิต

จิตวิญญาณของมนุษย์ซึ่งแบ่งภาคออกมาจากจิตจักรวาลดวงเล็ก มีโครงสร้างที่เรียกว่า “คนสองมิติ” คือ จิตหยาบ และจิตวิญญาณ จิตหยาบ คือจิตที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของจิตวิญญาณในการทำงานร่วมกับ “เครื่องยนต์แห่งกรรมรูปธรรมมนุษย์” (ร่างกาย) ในฐานะเป็นศูนย์กลางของการ “สัมผัสรู้ดูเห็นนึกคิดตัดสินใจ การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกและการกระทำพฤติกรรมใด ๆ ด้วยเครื่องยนต์แห่งกรรม” “กล่าวง่าย ๆ คือ มนุษย์มีจิตหยาบเอาไว้ทำหน้าที่แทนจิตวิญญาณแก่นแท้ของตนเอง เพื่อสร้างแรงสั่นสะเทือนเป็นพฤติกรรมทางกายหรือเครื่องยนต์แห่งกรรม”

สำหรับจิตวิญญาณผู้เป็นแก่นแท้ในฐานะของผู้มอบอำนาจหรือผู้มอบหมายให้จิตหยาบทำหน้าที่แทนตน ก็จะต้องร่วมรับผิดชอบการแสดงออกหรือการกระทำใด ๆ ของจิตหยาบทั้งหมดนั้นเสมือนหนึ่งเป็นผู้กระทำด้วยตนเองเสมอ ไม่ว่าการสั่นสะเทือนเพื่อการแสดงออกหรือกระทำโดยจิตหยาบนั้นจะถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ก็ตาม ผู้เป็นแก่นแท้หรือผู้มอบอำนาจให้จะปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้เลย เหมือกับผู้เช่าบ้านกับเจ้าของบ้าน ถ้าผู้เช่าบ้านสร้างความสกปรกรุงรังหรือสร้างความเสื่อมโทรมให้แก่บ้าน ในท้ายที่สุดแล้วผู้ที่เป็นเจ้าบ้านนั่นเองที่จะต้องรับผิดชอบดูแลแก้ไขซ่อมแซมหรือปัดกวาด เพราะผู้เช่าย่อมต้องทิ้งบ้านหลังเก่าไปหาเช่าบ้านหลังใหม่ที่สมบูรณ์กว่าดีกว่า

อย่างไรก็ตาม แม้จิตวิญญาณจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อผลการกระทำทุกอย่างของจิตหยาบ แต่ในกรณีที่จิตหยาบส่งคลื่นความถี่ด้านลบมาให้ จิตวิญญาณจะมีผู้ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือที่เรียกว่า “พลียะเดี้ยนส์” เป็นผู้คอยรับแรงสั่นสะเทือนนั้นเอาไว้เอง “ทั้งนี้เพื่อปกป้องจิตวิญญาณของมนุษย์นั้นมิให้แปดเปื้อนมัวหมองด้วยละอองขยะแห่งกิเลสตัณหาที่สกปรกทั้งหลายนั่นเอง เพราะหากจิตวิญญาณแปดเปื้อนแล้วจะชำระให้สะอาดบริสุทธิ์ได้ยากยิ่ง”

ยุคใหม่ในสังคมตะวันตก
ยุคใหม่ในสังคมไทย
วรรณกรรมแบบจารีตลังกา
จักรวาลวิทยาแบบไตรภูมิ
วรรณกรรมในช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมยุคใหม่
แนวโน้มวรรณกรรมพระพุทธศาสนาในสังคมยุคใหม่
โครงเรื่องแนวเหตุผลนิยม
การวิพากษ์เรื่องอภินิหาร
การตีความเรื่องอภินิหาร
การวิพากษ์ความไม่สมเหตุสมผล
ยุคใหม่ตอนกลาง : วรรณกรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ
ภาษาคน-ภาษาธรรม : ทฤษฎีการตีความของท่านพุทธทาส
การวิพากษ์พระไตรปิฎก อรรถกถา และวิสุทธิมรรค
การปฏิเสธจักรวาลวิทยาแบบอภิปรัชญา
การตีความปฏิจจสมุปบาทแนวใหม่
การฟื้นฟูมิติโลกุตรธรรม
วรรณกรรมของพระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
การฟื้นฟูมิติทางสังคมแนวพุทธ
การวิพากษ์ฐานคิดตะวันตกและเสนอแนวคิดแบบองค์รวมเชิงพุทธ
วรรณกรรมของฟริตจ๊อฟ คาปร้า
ทัศนะแบบจักรกล (mechanistic view)
ทรรศนะแบบลดทอน (Reductionistic view)
แนวคิดพิชิตธรรมชาติ (conquest of nature)
ควอนตัมฟิสิกส์ กับ พระพุทธศาสนา
กลุ่มวรรณกรรมที่เน้นพุทธจริยธรรมเชิงสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประเวศ วสี
วรรณกรรมของนิธิ เอียวศรีวงศ์
วรรณกรรมที่เน้นจริยธรรมแบบผูกพันกับสังคม
วรรณกรรมของนายแพทย์ประสาน ต่างใจ
นิพพานในฐานะเป็นวิวัฒนาการขั้นสูงสุดของจิต
วรรณกรรมของปริญญา ตันสกุล
โครงสร้างจิตและการทำงานของจิต
การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ
การปฏิบัติเพื่อเข้าสู่นิพพาน
วรรณกรรมพระพุทธศาสนากับแนวคิดหลังสมัยใหม่
บทสรุป
บรรณานุกรม

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย