ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

เอตทัคคะ

พระจูฬปันถกเถระ เอตทัคคะ : ในทางมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)

เดิมชื่อว่า ปันถกะ แปลว่า ทาง เพราะมารดาได้คลอดในระหว่างเดินทางกลับจากเมืองราชคฤห์ท่านเป็นบุตรคนที่สองจึงได้คำนำหน้าว่า จูฬปันถกะ แปลว่า ทางเล็ก ส่วนพี่ชายของท่านมีชื่อว่า มหาปันถกะ แปลว่า ทางใหญ่

บิดาของท่านเกิดในวรรณะศูทร ไม่ปรากฎนาม ส่วนมารดาเป็นลูกสาวเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ เป็นคนวรรณะแพศย์ หรือไวศยะ ต่อมาทั้งสองได้เกิดความรักต่อกัน จึงได้หนีออกจากบ้านไปอยู่ในป่า ซึ่งไกลจากเมืองราชคฤห์ และได้กำเนิดบุตรชายสองคน คือ มหาปันถกะ และจูฬปันถกะ

บิดามารดาจึงได้นำลูกทั้งสองไปให้เศรษฐีเมืองราชคฤห์ ซึ่งเป็นตากับยายเลี้ยงดูแต่ด้วยการที่ท่านเศรษฐีมีจิตเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้พาเด็กทั้งสองไปฟังธรรมที่วัดด้วยเป็นประจำเด็กทั้งสองจึงมีใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้ขออนุญาตตากับยายบรรพชา ท่านได้อนุญาตให้มหาปันถกะบวชได้ส่วนจูฬปันถกะยังไม่อนุญาตให้บวช เพราะยังเด็กจึงให้อยู่กับตายายไปก่อน

หลังจากจูฬปันถกะได้บวชแล้วมหาปันถกะผู้เป็นพี่ชายได้พยายามอบรมสั่งสอนแต่ท่านมีปัญญาทึบจำอะไรไม่ค่อยได้โดยที่สุดพระพี่ชายให้ท่านท่องคาถา4 บทใช้เวลา 4 เดือนยังท่องไม่ได้ ท่านจึงเกิดความเสียใจ คิดจะลาสิกขา จึงได้เดินร้องไห้ออกจากวัด

ในขณะนั้น พระศาสดาทรงทราบเหตุการณ์นั้นมาโดยตลอด จึงได้เสด็จไปเพื่อห้ามการลาสิกขาของพระจูฬปันถกะ แล้วได้ประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้ แล้วตรัสสอนให้บริกรรมว่า “ระโชหะระณัง ระโชหะระณัง (ผ้าเช็ดธุลี)” พร้อมกับลูบผ้านั้นไปด้วย ไม่นานนักผ้าขาวผืนนั้นก็ค่อย ๆ หมองคล้ำไปจนเห็นเป็นสีดำ ท่านจึงพิจารณาเห็นว่า แม้ผ้าขาวบริสุทธิ์อาศัยร่างกายของมนุษย์ ยังต้องกลายเป็นสีดำอย่างนี้ ถึงจิตของมนุษย์ เดิมทีเป็นของบริสุทธิ์ อาศัยกิเลสจรมาก็ย่อมเกิดความเศร้าหมอง เหมือนกับผ้าผืนนี้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยงแท้ ท่านบริกรรมผ้านั้นไปจนจิตสงบแล้วได้บรรลุฌาน แล้วได้เจริญวิปัสสนาต่อก็ได้บรรลุพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญา

หลังจากที่ท่านบรรลุพระอรหันต์ใหม่ ๆ นั้น ท่านได้แสดงอิทธิฤทธิ์ให้คนใช้ของหมอชีวกได้ประจักษ์ด้วยสายตาตนเอง ดังเรื่องที่ท่านเนรมิตรภิกษุเป็นพันรูป ซึ่งมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน เมื่อคนใช้ที่หมอชีวกมานิมนต์ท่านแล้ว ถามว่า พระรูปไหนชื่อจูฬปันถกะ ทั้งพันรูปก็ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “อาตมาชื่อจูฬปันถกะ” ในที่สุดพระศาสดาทรงแนะนำวิธีให้ว่ารูปไหนพูดก่อนว่า “อาตมาชื่อจูฬปันถกะ” ให้จับมือภิกษุรูปนั้น คนใช้ของหมอชีวกก็ได้ทำตามนั้นด้วยเหตุนี้เองพระศาสดาจึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในด้านผู้เนรมิตกายอันสำเร็จด้วยฤทธิ์และผู้พลิกแพลงจิต

  • หลังบวชท่านเป็นคนปัญญาทึบ ท่องคาถาเพียง 4 บวชโดยใช้เวลา 4 เดือนก็จำไม่ได้จึงคิดว่าตนเองไม่มีวาสนาถูกพระพี่ชายต่อว่าเอาจึงหนีไปเพื่อสึก ความทราบถึงพระศาสดาจึงเสด็จไปห้าม และประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้ทำการบริกรรมจนผ้ากลายเป็นสีดำทำให้ท่านเกิดความสังเวชแล้วยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาจนบรรลุพระอรหันต์
  • ท่านได้รับการยกย่อง (เอตทัคคะ) ว่าเป็นผู้มีมโนมยิทธิ มีฤทธิ์ทางใจ

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ : รัตตัญญู คือ ผู้รู้ราตรีนาน
พระอุรุเวลกัสสปเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีบริวารมาก
พระสารีบุตรเถระ : เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก อัครสาวกเบื้องขวา
พระมหาโมคคัลลานเถระ : เป็นผู้เลิศในทางเป็นผู้มีฤทธิ์มาก
พระมหากัสสปเถระ : ผู้ทรงธุดงค์คุณ
พระมหากัจจายนเถระ : อธิบายความย่อให้พิศดาร
พระโมฆราชเถระ : ทรงจีวรเศร้าหมอง
พระราธเถระ : มีปฏิภาณ(ไหวพริบดี)
พระปุณณมันตานีบุตรเถระ : เป็นผู้เลิศในด้านการแสดงธรรมเทศนา
พระกาฬุทายีเถระ : ทำสกุลที่ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
พระนันทเถระ : เป็นผู้เลิศฝ่ายข้างสำรวมระวังอินทรีย์ 6
พระราหุลเถระ : เป็นเอตทัคคะทางผู้ใคร่ต่อการศึกษา
พระอุบาลีเถระ : ผู้ทรงพระวินัย (วินัยธร)
พระภัททิยเถระ : ในทางเป็นผู้เกิดในตระกูลสูง หรือสุขุมาลชาติ
พระอนุรุทธเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีทิพยจักษุ (ตาทิพย์)
พระอานนทเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหุสูตร
พระโสณโกฬิวิสเถระ : เป็นเลิศในทางปรารภความเพียร
พระรัฐบาลเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บวชด้วยศรัทธา
พระปิณโฑลภารทวาชเถระ : เป็นเลิศในทางผู้บันลือสีหนาท
พระมหาปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางเจริญวิปัสสนา
พระจูฬปันถกเถระ : เป็นเลิศในทางมโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ)
พระโสณกุฏิกัณณเถระ : ผู้แสดงธรรมด้วยถ้อยคำอันไพเราะ
พระลกุณฎกภัททิยเถระ : เป็นเลิศในทางผู้มีเสียงไพเราะ
พระสุภูติเถระ : เป็นผู้มีปกติอยู่อย่างไม่มีกิเลส และเป็นทักขิไณยบุคคล
พระกังขาเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ยินดีในการเข้าฌาน
พระโกณฑธานเถระ : เป็นเลิศในทางถือสลากเป็นปฐม
พระวังคีสเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปฏิภาณ
พระปิลินทวัจฉเถระ : เป็นเลิศในทางเป็นที่รักใคร่ของเหล่าเทพยดา
พระกุมารกัสสปเถระ: เป็นเลิศในการแสดงธรรมได้อย่างวิจิตร
พระมหาโกฏฐิตเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4
พระโสภิตเถระ : เป็นเลิศในทางระลึกชาติก่อนได้
พระนันทกเถระ : เป็นเลิศในทางสอนนางภิกษุณี
พระมหากัปปินเถระ : เป็นเลิศในทางการสอนภิกษุ
พระสาคตเถระ : ผู้ฉลาด (ชำนาญ) ในทางเตโชสมาบัติ
พระอุปเสนเถระ : เป็นผู้นำมาซึ่งความเลื่อมใสโดยรอบด้าน
พระขทิรวนิยเรวตเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
พระสีวลีเถระ : เป็นเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีลาภมาก
พระวักกลิเถระ : เป็นเลิศแห่งภิกษุผู้เป็นสัทธาวิมุตติ
พระพาหิยทารุจีริยเถระ : เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายตรัสรู้เร็วพลัน
พระพากุลเถระ : เป็นผู้มีโรคภัยไข้เจ็บน้อยที่สุดด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย