ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
สารสนเทศกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์
1.ความหมายของ สารสนเทศ
- สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆทั้งทีบันทึกด้วยตัวอักษรตัวเลข หรือรูปภาพ โดยสามารถนำมาใช้อ้างอิงได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ผ่านการศึกษาวิเคราะห์มาแล้ว
- แหล่งสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ แผนที่ เอกสารทางวิชาการ หนังสือตำรา วารสารภาพถ่ายทางอากาศ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
2.ประโยชน์ของสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ข้อมูลหรือสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ มีประโยชน์ต่อมนุษย์ ดังนี้
- ด้านตำแหน่งที่ตั้ง สารสนเทศทางภูมิศาสตร์ช่วยให้ทราบถึงตำแหน่งที่ตั้งของสถานที่สำคัญ เช่น เขื่อน เกาะ อุทยานแห่งชาติ และแหล่งทรัพยากรป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น
- ด้านการศึกษา เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาของนักวิชาการในสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น นักวิชาการป่าไม้ นักธรณีวิทยา นักวิชาการการเกษตร นักวิชาการด้านอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น
- ด้านการวางแผน ฝ่ายปกครองของบ้านเมืองใช้ข้อมูลสารสนเทศที่มาจากดาวเทียม ช่วยทราบข้อมูลอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับสภาพลมฟ้าอากาศ เช่น การก่อตัวของเมฆและแนวโน้มการเกิดพายุฝน ทำให้สามารถเตือนภัยล่วงหน้าและป้องกันภัยธรรมชาติได้ทัน
3.เครื่องมือทางภูมิศาสตร์
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาข้อมูลทางภูมิศาสตร์ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
ๆ คือ ประเภทให้ข้อมูลกับประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ มีดังนี้
- ประเภทให้ข้อมูล ได้แก่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพจากดาวเทียม และอินเตอร์เน็ต
- ประเภทเครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ เข็มทิศ เครื่องมือวัดพื้นที่ เทปวัดระยะทาง เครื่องย่อขยายแผนที่ กล้องวัดระดับ กล้องสามมิติ กล้องสามมิติแบบพกพา และเครื่องมือวัดลักษณะอากาศแบบต่างๆ เช่น เทอร์โมมิเตอร์ บาโรมิเตอร์ และเครื่องวัดน้ำฝน เป็นต้น
4. แผนที่
- แผนที่ (Map) เป็นเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง โดยการย่อข้อมูลต่างๆที่ปรากฏบนพื้นโลกให้มีขนาดเล็กลงตามมาตราส่วน และแสดงข้อมูลดังกล่าวด้วยสัญลักษณ์ลงบนวัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ผ้า แผ่นพลาสติก ฯลฯ
- ข้อมูลที่แสดงในแผนที่ มี 2 ลักษณะ คือ
(1) ข้อมูลด้านกายภาพ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา ชายฝั่งทะเล เกาะ และป่าไม้ เป็นต้น
(2) ข้อมูลด้านวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ถนน เขื่อน ที่ว่าการอำเภอ โรงเรียน สถานีอนามัย ฯลฯ
5.รูปถ่ายทางอากาศ
- รูปถ่ายทางอากาศ (Aerial Photography) เป็นรูปภาพแสดงภูมิประเทศที่ปรากฏบนพื้นผิวโลกถ่ายโดยใช้กล้องถ่ายรูปติดไว้กับเครื่องบิน
- หน่วยราชการที่จัดทำรูปถ่ายทางอากาศ คือ กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม
- การนำไปใช้ประโยชน์ มีหน่วยราชการอื่นๆ
นำรูปถ่ายทางอากาศไปใช้ประโยชน์ทาด้านวิชาการและการพัฒนาความเจริญของบ้านเมือง
ดังนี้
(1) ทำให้ทราบถึงความเปลี่ยนแปลงในลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ต่างๆ โดยเปรียบเทียบจากรูปถ่ายในระยะเวลาแตกต่างกัน เช่น การสูญเสียพื้นที่ป่าชายเลย การพังทลายของตลิ่งริมแม่น้ำที่เกิดจากการกัดเซาะของคลื่น และการขยายตัวของชุมชนเมืองเข้าไปในพื้นที่เกษตรกรรม เป็นต้น
(2) การวางแผนพัฒนาการใช้ที่ดิน โดยนำรูปถ่ายทางอากาศไปใช้เพื่อจัดทำแผนที่และจำแนกประเภทการใช้ที่ดินของประเทศ โดยกำหนดโซนหรือแบ่งพื้นที่เป็นเขตอุตสาหกรรม และเขตชุมชนที่อาศัย เป็นต้น
(3)กาอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ รูปถ่ายทางอากาศทำให้ทราบถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ในพื้นที่ต่างๆ เพื่อกำหนดแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาต่อไป - การศึกษาข้อมูลจากรูปถ่ายทางอากาศ ทำได้ 2 วิธี คือ ศึกษาด้วยตาเปล่าและศึกษาด้วยกล้องสามมิติ เนื่องจากรูปถ่ายทางอากาศไม่มีคำอธิบายใดๆ ดังนั้น จึงควรศึกษาควบคู่กับแผนที่ด้วยจะทำให้เข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
6. ภาพจากดาวเทียม
- ภาพจากดาวเทียม (Satellite Imagery) ให้ประโยชน์อย่างมากในการศึกษาข้อมูลเพื่อสำรวจแห่งทรัพยากรธรรมชาติ ในปัจจุบัน ประเทศไทยมีสถานีรับสัญญาณภาพดาวเทียมลาดกระบัง ตั้งอยู่ที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อยกว่าที่เคยพึ่งพาต่างประเทศ
- การทำงานรับภาพของดาวเทียม เรียกว่า กระบวนการรีโมทเซนซิง (Remote
Sensing ) โดยดาวเทียมจะเก็บข้อมูลของวัตถุหรือพื้นที่เป้าหมายบนพื้นโลก
จากรังสีที่สะท้อนขึ้นไปจากผิวโลกหรือจากอุณหภูมิของวัตถุนั้นๆบนพื้นผิวโลก
จากนั้นดาวเทียมจะส่งข้อมูลเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามายังสถานีภาคพื้นดิน ซึ่งจะบันทึกเป็นข้อมูลเชิงตัวเลขในแถบบันทึกข้อมูล เพื่อนำไปประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์ และนำเสนอเป็นแผ่นฟิล์มหรือภาพพิมพ์ต่อๆไป - ภาพจากดาวเทียมให้ประโยชน์ในการศึกษาทางภูมิศาสตร์ คือ นำมาใช้จัดทำแผนที่แสดงภูมิประเทศของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งจะให้รายละเอียดของตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกชัดเจนยิ่งขึ้น
7.อินเตอร์เน็ต
- อินเตอร์เน็ต (Internet) หรือไซเบอร์สเปซ (Cyber Space) คือ
ระบบการสื่อสารด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานทั่วโลกเข้าด้วยกัน
ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และความรู้ด้านต่างๆ อย่างสะดวกและรวดเร็ว
จนทำให้โลกในปัจจุบันเข้าสู่ยุค การสื่อสารไร้พรมแดน
- บริการในอินเตอร์เน็ต (World Wind Web: WWW) จะให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ทั้งตัวอักษร รูปภาพ เสียง หรือ ภาพยนตร์ ข้อมูลเหล่านี้ เรียกว่า เว็บเพ็จ (Web Page) มีการเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกคล้ายใยแมงมุม
8. เครื่องมือประเภทอุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์
อุปกรณ์ทางภูมิศาสตร์
หมายถึงอุปกรณ์ที่ใช่วัดหรือเก็บข้อมูลทางภูมิศาสตร์ในด้านต่างๆ เช่น ทิศระยะทาง
ความสูง ตำแหน่งที่ตั้ง อุณหภูมิของอากาศ และปริมาณฝน เป็นต้น สรุปได้ดังนี้
- เข็มทิศ เป็นเครื่องมือบอกทิศอย่างง่ายๆ
โดยจะทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กโลกและแสดงค่าของมุมบนหน้าปัด วิธีใช้เข็มทิศ คือ
วางทิศในแนวระนาบ
ปรับหมุนหน้าปัดให้เข็มบอกค่าบนหน้าปัดอยู่ในตำแหน่งที่หันไปทางทิศเหนือแม่เหล็กโลก
ต่อจากนั้นจึงนำเข็มทิศหันเข้าหาตำแหน่งที่ต้องการวัดมุม เช่น เสาธงโรงเรียน
เข็มทิศก็จะบอกให้ทราบว่าเสาธงของโรงเรียนอยู่ในทิศใด
และทำมุมกี่องศากับทิศเหนือแม่เหล็กโลก
- เครื่องมือวัดพื้นที่ (Planimeter) มีลักษณะคล้ายไม้บรรทัดทำด้วยโลหะยาวประมาณ 1 ฟุต ใช้สำหรับวัดพื้นที่ในแผนที่ โดยเครื่องจะคำนวณให้ทราบค่าของพื้นที่แสดงค่าบนหน้าปัด
- เทปวัดระยะทาง ใช้สำหรับวัดระยะทางของพื้นที่ เมื่อลงไปสำรวจหรือเก็บข้อมูลภาคสนาม เทปวัดระยะทางมี 3 ชนิด ได้แก่ เทปที่ทำด้วยผ้า เทปที่ทำด้วยโลหะ และเทปที่ทำด้วยโซ่
- เครื่องย่อขยายแผนที่ ( patograph)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดทำแผนที่อย่างหนึ่ง
เพื่อย่อหรอขยายแผนที่ให้ได้ขนาดหรือมาตราส่วนตามที่ต้องการ
โดยทั่วไปนิยมใช้แบบโต๊ะไฟ ซึ่งมีแท่นวางแผนที่จ้นฉบับ และมีไฟส่องอยู่ใต้กระจก
ทำให้เห็นแผนที่ต้นฉลับปรากฏเป็นเงาบนกระจกอย่างชัดเจน ทั้งนี้
ผู้จัดทำแผนที่ดังกล่าว จะต้องลอกลายเพื่อย่อหรอขยายแผนที่ด้วยมือของตนเอง
- กล้องวัดระดับ (Telescope) เป็นอุปกรณ์วัดระดับความสูงจากพื้นดิน เพื่อสำรวจพื้นที่สร้างถนน โดยจะช่วยกำหนดระดับแนวถนนได้ตามที่ต้องการ
- กล้องสามมิติ หรือสเตริโอสโคป (Stereoscope) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ดูรูปถ่ายทางอากาศ เพื่อพิจารณาความสูงต่ำของลักษณะภูมิประเทศ ในพื้นที่นั้นๆ
9.เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ
เครื่องมือวัดลักษณะอากาศ
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ศึกษาทางภูมิศาสตร์อย่างหนึ่ง มีหลายชนิดดังนี้
- เทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของอากาศ
โดยทั่วไปนิยมใช้แบบหลอดแก้วที่บรรจุปรอทหรือแอลกอฮอล์ไว้ภายใน ค่าของอุณหภูมิ
2 ระบบ ดังนี้
(1)ระบบเซลเซียส (0-100 องศาC)
(2)ระบบฟาเรนไฮต์(32-212 องศา F) - บารอมิเตอร์ (Barometer) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดความกดอากาศ มี 2 ชนิด
คือ
(1) แบบปรอท ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์สำคัญ 2 อย่าง คือ หลอดแก้วและอ่าวแก้วที่บรรจุปรอท
(2) แบบแอนิรอยด์ (Aneroid) เป็นแบบตลับโลหะขนานเล็ก ที่หน้าปัดจะมีเข็มแสดงค่าความกดอากาศไว้ - แอโรเวน(Aerovane) เป็นอุปกรณ์สำหรับวัดทิศทางและความเร็วของลม
แยกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ชนิด ดังนี้
(1) แอนนิโมมิเตอร์ (Anemometer) ใช้วัดความเร็วของลม
(2) วินเวน (Wind Vane) ใช้วัดทิศทางของลม มีสัญลักษณ์เป็นรูปไก่หรือลูกศร - เครื่องวัดน้ำฝน (Rain Gauge) ทำด้วยโลหะทรงกระบอกซ้อนกัน 2 ชั้น
- ไฮโกรมิเตอร์ (Hygrometer) ใช้วัดความชื่นของอากาศ
โดยมีเส้นผมเป็นอุปกรณ์สำคัญ ถ้าอากาศมีความชิ้นสูงจะทำให้เส้นผมยืดตัว
แต่ถ้ามีความชื้นน้อยเส้นผมจะหดตัว
ทั้งนี้หน้าปัดจะแสดงค่าความชื้นบนกระดาษกราฟให้เห็น
- ไซโครมิเตอร์ (Psychrometer) เป็นอุปกรณ์ใช้วัดความชื้นของอากาศอีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วยเทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน คือ เทอร์โมมิเตอร์ปรอท (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มแห้ง) และเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้ผ้ามัสลินหล่อน้ำให้เปียกอยู่ตลอดเวลา (เทอร์โมมิเตอร์ตุ้มเปียก)