ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

มนุษย์ในทัศนะของเซน

         พุทธศาสนาในยุคแรก ๆ มีทัศนะว่า มนุษย์คือ องค์รวมของขันธ์ห้าประการกล่าวคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ขันธ์ห้าประการนี้เมื่อกล่าวโดยย่อสามารถรวมลงเป็นสองส่วนคือรูปขันธ์และนามขันธ์ รูปขันธ์ได้แก่ส่วนประกอบที่เป็นเนื้อหนังร่างกายทั้งหมด ส่วนนามขันธ์ได้แก่จิตและเจตสิก* องค์ประกอบสองส่วนนี้พุทธศาสนาถือว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงและมีอยู่อย่างเป็นอิสระต่อกัน คำว่าอิสระต่อกันหมายความว่า สิ่งที่เรียกว่าจิตใจทัศนะของพุทธศาสนาเป็นสิ่งที่มีอยู่ต่างหากจากร่างกายที่เป็นสสาร จิตไม่ใช่ปรากฎการร์อันเกิดจากการทำงานเชิงกลไกในระดับสูงของสสารอย่างที่พวกสสารนิยม (materialists) เข้าใจ แต่ในขณะเดียวกัน จิตก็ไม่ใช่แค่แก่นแท้ของชีวิตที่ไม่เปลี่ยนแปลง จิตก็เหมือนกับรูปขันธ์และนามขันธ์ที่เหลือ กล่าวคือ เวทนา สัญญา และสังขาร คือ ต้องเปลี่ยนแปลง ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิม ในคัมภีร์พุทธศาสนายุคต้นๆ มีคำอุปมาส่วนประกอบของมนุษย์ทั้งห้าส่วนนี้ว่าเปรียบได้กับส่วนประกอบต่างๆ ของรถ คำว่ารถเป็นคำสำหรับใช้เรียกองค์ประกอบทั้งหมดที่ประกอบขึ้นเป็นตัวรถ เราไม่สามารถชี้ลงไปที่ชิ้นส่วนอันใดอันหนึ่งแล้วระบุว่านี่คือรถ ชิ้นส่วนทั้งหมดนั่นเองเมื่อรวมกันเข้าแล้วเราเรียกว่ารถ มนุษย์ก็เช่นกัน คำว่ามนุษย์เป็นคำใช้เรียกองค์ประกอบทั้งห้าส่วนที่เราไม่อาจชี้ลงไปที่ส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วบอกว่านี่คือคน องค์ประกอบกล่าวคือขันธ์ทั้งห้าประการนั่นเอง เมื่อรวมกันเข้าแล้วเราเรียกว่า คน 2 องค์ประกอบทั้งห้าส่วนนี้ต่างก็มีลักษณะตรงกันอยู่สามประการ คือ ไม่เที่ยงแท้ จำต้องเปลี่ยนแปร และไม่ใช่แก่นสารอันเป็นอมตะ นี่คือธรรมชาติของคน

เมื่อพุทธศาสนาแยกออกเป็นนิกายเถรวาทกับมหายานในเวลาต่อมา ฝ่ายมหายานเองแม้จะมีทัศนะหลายอย่างไม่ตรงกับทัศนะของฝ่ายเถรวาท แต่มหายานก็มีทัศนะเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์สอดคล้องกับทัศนะของฝ่ายเถรวามที่กล่าวมาข้างด้านคนในทัศนะของมหายานคือองค์รวมของันธ์ห้า3 เมื่อฝ่ายมหายานเองก็มีทัศนะไม่ต่างจากฝ่ายเถรวาท นิกายเซนซึ่งมีคนเข้าใจว่าเป็นแขนงหนึ่งของฝ่ายมหายานก็น่าจะมีความเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ไม่ต่างไปจากทัศนะของเถรวาทและมหายานที่กล่าวมาแล้ว

ความเข้าใจตามที่กล่าวมานี้ดูจะไม่ผิด นิกายเซนก็มองมนุษย์ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งห้า คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ดังข้อเขียน ของประสกปังยุ่น (Pang Yun, 740 - 808 A.D.) ศาสนิกคนสำคัญแห่งนิกายเซนสมัยราชวงศ์ถังตอนหนึ่งที่ว่า

ง่าย ! ง่ายเหลือเกิน !
ขันธ์ห้าเหล่านี้ก่อให้เกิดปัญญาที่ถูกต้อง
หลักคำสอนทั้งหลายที่มีอยู่ในจักรวาลนี้
ต่างก็คือเอกยานอันเดียวกัน
ไฉนเล่าธรรมกายอันไร้รูปจะเป็นสอง !
ถ้าท่านขจัดความอยากที่จะบรรลุโพธิได้
พุทธเกษตรจะไปไหนเสีย

นิกายเซนก็เหมือนกับนิกายเถรวาทที่มองว่าคำว่าคนเป็นคำสำหรับใช้เรียกองค์ประกอบทั้งห้าที่ประกอบกันขึ้นแล้วกลายเป็นสิ่งที่มีชีวิต จิตใจ มีความคิดความรู้สึกอย่างที่เห็นนี้ จะอย่างไรก็ตาม แม้ว่านิกายเซนจะมีทัศนะเรื่ององค์ประกอบของมนุษย์ตรงกับฝ่ายเถรวาท แต่เซนก็มีทัศนะเกี่ยวกับความมีอยู่ขององค์ประกอบเหล่านี้แตกต่างไปจากเถรวาท ดังจะแสดงต่อไป



ในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมของเถรวาท ท่านแบ่งสิ่งที่มีอยู่ทั้งปวงในจักรวาลนี้ออกเป็นสี่ประเภท คือ จิต เจตสิก รูป และนิพพาน5 สี่อย่างนี้ท่านถือว่าเป็นความจริงพื้นฐาน ไม่ว่าเราจะหยิบยกเอาสิ่งใดก็ตามขึ้นมาพิจารณา สิ่งนี้นจะต้องสามารถทอนลงหรือจัดประเภทลงในของสิ่งอย่างนี้ไม่อย่างใดก็ต้องอย่างหนึ่ง ไม่มีอะไรในจักรวาลนี้ที่ไม่สามารถจัดประเภทลงในของสี่อย่างนี้ การวิเคราะห์สิ่งทั้งปวงในรูปนี้อาจทำให้เราเข้าใจว่า สิ่งที่เรียกว่าจิต เจตสิก รูป และนิพพาน เป็นสิ่งที่เรียกกันในภาษาปรัชญาว่า entity ซึ่งมีความหมายค่อนไปทางที่ชวนให้เข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่หยุดนิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลง ในที่นี้เราจะไม่วิเคราะห์การจำแนกสรรพสิ่งในรูปปรมัตถธรรมที่ปราฏในคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรมของเถรวาท ควรจะเข้าใจอย่างไร หากแต่จะพิจารณาว่านิกายเซนไม่เห้นด้วยกับการวิเคราะห์หรือทอนสิ่งต่างๆ ลงไปเป็นหน่วยย่อย ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่ามีคนสี่คนกำลังเดินเล่นอยู่ในสวนดอกไม้ที่กำลังออกดอกสะพรั่ง คนหนึ่งเป็นนักฟิสิกส์ อีกคนเป็นนักเคมี อีกคนเป็นนักชีววิทยา และคนสุดท้ายเป็นกวี นักฟิสิกส์มองเห็นดอกไม้เหมือนที่คนอื่นมองเห็น แต่ดอกไม้ในความรู้สึกของเขาอาจมีรายละเอียดบางอย่างที่คนอื่นมองไม่เห็น รายละเอียดที่ว่านี้ได้แก่รายละเอียดทางฟิสิกส์ ผู้ที่จะรับรู้รายละเอียดที่ว่านี้ได้เป็นคนที่ได้เรียนมาทางนี้ นักเคมีก็เช่นกัน ดอกไม้ที่เขามองเห็นย่อยมีรายละเอียดบางอย่างที่คนอื่นมองไม่เห็น รายละเอียดที่ว่านี้คือรายละเอียดทางเคมี นักชีววิทยาก็เหมือนกัน เขาอาจเห็นดอกไม้ดอกเดียวกับที่นักฟิสิกส์และนักเคมีเห็นแต่ภาพดอกไม้นั้น ในความรู้สึกของเขาไม่เหมือนกับภาพที่ปรากฏในความรู้สึกของคนอื่น เขามองเห็นรายละเอียดที่คนอื่นมองไม่เห็น เป็นรายละเอียดทางชีววิทยา ส่วนคนสุดท้าย เนื่องจาก เนื่องจากเป็นกวี ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์ เขาจึงมองดอกไม้นั้นในแง่ที่มันเป็นดอกไม้ ดอกไม้ในความรู้สึกของเขาเป็นสิ่งสวยงาม เป็นสิ่งมีชีวิต

จากตัวอย่างข้างต้นนี้เราจะเห็นว่า คนสี่คนมองเห็นดอกไม้ดอกเดียวกัน แต่ภาพดอกไม้ที่ปรากฏในการรับรู้ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน กล่าวคือ นักฟิสิกส์มองดอกไม้ในแง่ฟิสิกส์ สิ่งที่เขาเห็นไม่ใช่ดอกไม้ หากแต่เป็นกลุ่มก้อนของสารเคมี นักชีววิทยามองดอกไม้ในแง่ชีววิทยา สิ่งที่เขาเห็นไม่ใช่ดอกไม้ หากแต่เป็นกลุ่มของชีววัตถุคนเหล่านี้ไม่มีใครมองเห็นดอกไม้ มีเพียงคนสุดท้ายที่เป็นกวีเท่านั้นที่มองเห็นดอกไม้จริงๆ คนสี่คนในตัวอย่างข้างต้น สามคนแรกนิกายเซน ถือว่าเป็นพวกที่มองโลกอย่างวิเคราะห์แยกแยะ แต่คนสุดท้ายไม่มองเช่นนั้น เซนไม่เห็นด้วยกับการมองสรรพสิ่งอย่างแยกแยะ เพราะการมองเช่นนั้นจะทำให้เรามองไม่เห็นสิ่งนั้นตามที่มันเป็น ดอกไม้ที่สวยงามมีชีวิตชีวาเมื่อมองอย่างแยกแยะจะกลายเป็นสิ่งที่ไร้ความงาม ไร้ชีวิตชีวาไปทันที การมองสิ่งต่างๆ อย่างวิเคราะห์เป็นการเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง และด้วยการก้าวก่ายแทรกแซงของเรานั้นเองที่ทำให้เรามองเห็นสิ่งนั้นผิดปกติไปจากภาวะที่มันเป็นหากเราต้องการเห็นสิ่งต่างๆ อย่างที่มันเป็น เราจะต้องไม่เข้าใจไปแทรกแซง ไม่เข้าไปทอนสิ่งเหล่านั้นด้วยศาสตร์หรือแนวความคิดใด ๆ ปล่อยให้สิ่งนั้นปรากฏหรือแสดงตัวขอมันออกมาอย่างที่มันเป็น มนุษย์เรามีหน้าที่เพียงสังเกตอยู่ภายนอกเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่เรากระทำการอันนอกเหนือไปจากกรเป็นผู้เฝ้าสังเกต เช่น พยายามแยกทอนสิ่งนั้นๆ เมื่อนั้นเราจะมองไม่เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่มันเป็น โลกที่ถูกวิเคราะห์แยกทอนย่อมไม่ใช่โลกตามที่มันเป็น แนวคิดในการมองโลกตามที่กล่าวมานี้เราจะพบเห็นเสมอในวรรณกรรมเซน เป็นต้นว่างงานกวีนิพนธ์ของบาโซ (Matsuo Basho, 1644 - 1694 A.D.) งานของบาโชเมื่ออ่านแล้วเราจะมองเห็นได้ว่า ทุกครั้งที่ท่านผู้นี้บรรยายภาพสิ่งต่างๆ ลงในบทกวี ท่านจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้เฝ้ามอง ไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงสิ่งที่ตนเองกำลังมองอยู่นั้น ดังบทกวีบทหนึ่งที่ว่า

อา ! ช่างงดงามอะไรปานนั้น !
ใบไม้อ่อนเขียวสด
เปล่งประกายกลางแสงตะวัน

ด้วยทัศนะตามที่กล่าวมานี้เอง แม้ว่านิกายเซนจะยอมรับว่ามนุษย์คือองค์รวมของขันธ์ห้า แต่ขันธ์ห้าที่ว่านี้เซนถือว่าสามารถแบ่งแยกได้ก็เพียงในความนึกคิดเท่านั้นในความเป็นจริงเราไม่สามารถลดทอนมนุษย์ลงเป็นขันธ์ห้าได้เลย องค์ประกอบั้งห้านี้ในความเป็นจริงต่างก็ทำงานสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ออก เราอาจนึกแยกแยะสิ่งเหล่านี้ออกให้เห็นเป็นส่วนๆ ได้ แต่ในความเป็นจริงสิ่งเหล่านี้แยกจากกันไม่ได้ ที่ว่าแยกจากกันไม่ได้หมายความว่า เราไม่มีทางให้คำอธิบายปรากฎการณ์อันเกิดจากการทำงานประสานกันระหว่างสิ่งเหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น นายก. ดื่มสุราแล้วเมา สุราที่นายก.ดื่มจัดเป็นสสารหรือรูปธรรม แต่รูปธรรมที่ว่านี้สามารถอิทธิพลต่อจิตซึ่งเป็นนามรรมของนายก. หากรูปกับจิตสามารถแยกจากกันได้ในความเป็นจริง รูปกับจิตจะมีความสัมพันธ์ตามที่กล่าวมานี้ไม่ได้ เราไม่มีทางอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างรูปกับจิตได้ หากเราเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาดในความเป็นจริง

ในการสอนธรรมแก่ศิษย์ บางครั้งอาจารย์เซนจะใช้วิธีกระตุ้นที่ร่างกาย เช่น ตีศิษย์ด้วยไม้เท้า เป็นต้น การกระตุ้นทางร่างกายนี้ที่จริงไม่สามารถแยกออกจากการกระตุ้นจิต เพราะนิกายเซนถือว่าจิตกับกายแยกจากันไม่ได้ การกระตุ้นร่างกายโดยนัยหนึ่งก็คือ การกระตุ้นจิตนั่นเอง การที่อาจารย์เซนใช้ไม้เท้าตีศิษย์มีค่าเท่ากับการสอนศิษย์ด้วยคำพูด เพราะไม้เท้าที่กระทบร่างกายก็ดี เสียงที่กระทบหูก็ดี สามารถเชื่อมไปถึงจิตได้เหมือนกัน

ธรรมชาติส่วนที่เกี่ยวกับการบรรลุธรรม
ธรรมชาติของจิต

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย