ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>
มนุษยนิยมในปรัชญามาร์กซ์
วิทยา ศักยาภินันท์
จากการที่ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสม์ในหลายประเทศได้ล่มสลายลงในช่วง พ.ศ. 2530 2540 ได้เกิดคำถามตามมาว่า ปรัชญามาร์กซ์ยังใช้ได้กับโลกปัจจุบันอยู่หรือไม่ ทั้งนี้เพราะปรัชญามาร์กซ์เป็นระบบปรัชญาเดียวก็ว่าได้ที่ประกาศว่าภารกิจของปรัชญาคือ การเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น (Marx, 1973 : 65) และคำตอบที่ได้จากคำถามดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
- สิ่งที่ล่มสลายไปกับสหภาพโซเวียตและประเทศยุโรปตะวันออก คือ ลัทธิสตาลิน
(Stalinisnm) ที่มีหลักการหลายอย่างหันเหไปจากปรัชญามาร์กซ์ เช่น
ระบบทุนนิยมโดยรัฐ เผด็จการโดยผู้นำ และความคิดแบบชาตินิยม เป็นต้น (Ted Grant
and Alan Woods, 1996 : 1 58)
- ระบบสังคมนิยม (Socialism) ยังคงเป็นทางเลือกแทนระบบทุนนิยม
เพราะอุดมการสังคมนิยมที่มุ่งการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีเหตุผลและเป็นธรรม
มีความเท่าเทียมกันทางสังคม มีประชาธิปไตยทางการเมืองและเศรษฐกิจ
และศักยภาพและความมั่นคงของปัจเจกชนได้รับการค้ำประกันเป็นต้นนั้น
นับว่ามีเหตุผลและเป็นสิ่งจำเป็นทุกยุคทุกสมัย (David Gordon, 1993 : 476)
- ปรัชญามาร์กซ์ยังคงทันสมัย ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของมาร์กซ์ที่ว่าทุนมาจากมูลค่าส่วนเกิน (Surplus Value) ยังเป็นข้อเท็จจริงที่สมเหตุสมผลแม้ในปัจจุบัน ในทางจริยศาสตร์มนุษยนิยมแบบมาร์กซิสต์ โดยเฉพาะทัศนะในเรื่องของความแปลกแยก (alienation) ยังเป็นสิ่งดลใจผู้รักความเป็นธรรมทั่วไป ส่วนในทางอภิปรัชญา สสารนิยมประวัติศาสตร์ของมาร์กซ์ที่ไม่เห็นด้วยกับการเข้าใจโลก แบบทอนลงและตรงกันข้ามกับทัศนะการเปลี่ยนแปลงแบบจักรกลนิยม นับว่าสอดคล้องกับกระแสความคิดของวิทยาการปัจจุบัน (Richard Hudelson, 1992 : 192)
บทความนี้จะกล่าวเฉพาะทัศนะทางจริยศาสตร์แบบมนุษยนิยมของปรัชญามาร์กซ์ โดยแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยดังนี้ 1) กำเนิดแนวคิดแบบมนุษยนิยมในปรัชญามาร์กซ์ 2) มนุษย์ในฐานะที่เป็นสิ่งธรรมชาติ 3) มนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ 4) มนุษย์กับภาวะแปลกแยก 5) มนุษย์คอมมิวนิสต์ และ 6) บทสรุป
กำเนิดแนวคิดแบบมนุษยนิยมในปรัชญามาร์กซ์
มนุษย์ในฐานะที่เป็นสิ่งธรรมชาติ (man as a natural being)
มนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ (man as a human being)
มนุษย์กับภาวะแปลกแยก (man and his alienation)
มนุษย์คอมมิวนิสต์ (the communist man)
บทสรุป
บรรณานุกรม