ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

มนุษย์กับการใช้เหตุผล

ความหมายและความเข้าใจเกี่ยวกับมนุษย์
มนุษย์คือใคร: ทัศนะด้านศาสนา
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาอินดู
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาพุทธ
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาคริสต์และอิสลาม
มนุษย์ในทัศนะของศาสนาขงจื้อ
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านปรัชญา
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์
มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านสังคมศาสตร์
ความหมายของการใช้เหตุผล
สมองกับพัฒนาการการใช้เหตุผลของมนุษย์
สมองซีกซ้ายและสมองซีกขวา
ความเป็นมาและรูปแบบของการใช้เหตุผล
ความสำคัญและประโยชน์ของการใช้เหตุผล
การคิดและการใช้เหตุผลของตะวันตกและตะวันออก

มนุษย์คือใคร : ทัศนะด้านวิทยาศาสตร์

ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีถูกผลักดันและกระตุ้นด้วยความคิดและวิธีคิดที่สำคัญในปรัชญาแบบสสารนิยมเป็นอย่างมาก เพราะความคิดที่สำคัญของปรัชญาดังกล่าวเน้นประเด็นที่ว่า มนุษย์คือก้อนสสารที่ประกอบกันขึ้นและทำงานดุจเดียวกับกลจักร ร่างกายของมนุษย์มีกลไกอันสลับวับซ้อนแต่ทำงานประสานสอดคล้องกันอย่างสมดุล ดังนั้น การหาคำอธิบายที่ว่า มนุษย์คือใครและธรรมชาติของมนุษย์เป็นอย่างไรในทัศนะของนักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติก็คือ การทอนมนุษย์แยกย่อยลงสู่รายละเอียดในระดับเซลล์ อะตอมและโมเลกุล มนุษย์ในทัศนะของพวกเขาก็คือ กลจักรทางชีวิภาพอันยิ่งใหญ่และงดงามอย่างน่าพิศวง

การเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิน (Charles R. Darwin) ถือว่าเป็นจุดเกิดความขัดแย้งทางความคิดเกี่ยวกับกำเนิดของมนุษย์ระหว่างมุมมองของศาสนาประเภทเทวนิยมและวิทยาศาสตร์อย่างสิ้นเชิง ดาร์วินชี้ให้เห็นว่า ชีวิตใดๆ ในโลกก็ดี ไม่ได้เกิดจากการให้กำเนิดหรือการสร้างสรรค์ของพระเจ้า แต่เป็นกฎแห่งธรรมชาติต่างหาก ที่สร้างสรรค์คัดสรรและเลือกให้ชีวิตแต่ละชีวิตคงอยู่หรือสูญพันธุ์ไป กฎที่ว่านี้คือ กฎแห่งการอยู่รอดของผู้ที่แข็งแรงที่สุดและเหมาะสมที่สุด ธรรมชาติได้คัดเลือกชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่แข็งแรงให้อยู่รอด (Natural selection) ( ธีรยุทธ บุญมี, 2546: 56-57)



การเสนอมุมมองเกี่ยวกับมนุษย์ที่แตกต่างออกไปของทฤษฎีวิวัฒนาการไม่เพียงแต่เป็นการนำเสนอระเบียบโลกและกฎธรรมชาติของชีวิตที่ผ่านการทดลองด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้วนำมาใช้หักล้างความเชื่อและศรัทธาทางศาสนาและความเชื่อเกี่ยวกับมนุษย์แบบเดิมเท่านั้น แต่ยังส่งผลอย่างมหาสาลต่อการทำความเข้าใจในวิวัฒนาการของสังคมมนุษย์ในเวลาต่อมา

กล่าวโดยสรุป นักวิทยาศาสตร์ปฏิเสธความเชื่อที่ว่า มนุษย์เป็นผลผลิตของพระเจ้า มนุษย์ไม่เพียงแต่ไม่สยบยอมต่ออำนาจของสิ่งที่เหนือธรรมชาติตามความเชื่อและศาสนาได้สอนไว้อีกต่อไป หากการค้นคว้าและทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้เปิดศักราชแห่งความคิดใหม่ที่ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์คือสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยร่างกายและจิตใจที่สามารถเข้าใจได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และมนุษย์คือผู้ที่ค้นหาคำตอบให้กับตัวเองด้วยการเอาชนะธรรมชาติและเงื่อนไขข้อจำกัดต่างๆ โดยใช้เหตุผลและประสาทสัมผัสอันเป็นที่มาของวิธีการพิสูจน์และค้นหาความจริงทางวิทยาศาสตร์อีกด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย