เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>

ยางพารา

การเสริมรายได้เจ้าของสวนยาง

ในช่วงระยะ 1 – 3 ปี หลังปลูกยาง เจ้าของสวนไม่มีรายได้จากสวนยาง สามารถหารายได้เพิ่มด้วยการปลูกพืชแซมยาง และเมื่อต้นยางให้ผลผลิตแล้ว เจ้าของสวนยางสามารถปลูกพืชร่วมยางควบคู่กับการทำสวนยางเพื่อเพิ่มรายได้

การปลูกพืชแซมยาง

พืชแซมยาง หมายถึง พืชที่ปลูกระหว่างแถวยางในขณะที่ต้นยางมีอายุไม่เกิน 3 ปี เพื่อเป็นการเสริมรายได้ในช่วง 3 ปีแรก ซึ่งสามารถปลูกพืชล้มลุกและพืชอายุสั้นได้หลายชนิด โดยต้องพิจารณาถึงตลาด แรงงาน เงินทุน ขนาดพื้นที่ การคมนาคม และสภาพแวดล้อมต่าง ๆ

หลักในการพิจารณาปลูกพืชแซมยาง

  • ควรปลูกพืชที่ตลาดมีความต้องการ และใช้แรงงานในครอบครัว

  • ไม่ควรปลูกหลังจากต้นยางมีอายุ 3 ปี

  • ควรปลูกพืชล้มลุกอายุสั้นชนิดต่าง ๆ ในระบบหมุนเวียน

  • ควรปลูกพืชแซมห่างจากแถวยางไม่น้อยกว่า 1 เมตร

  • ไม่ควรปลูกพืชแซมยางในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

  • ถ้าต้องการปลูกพืชแซมยาง ควรปลูกยางโดยเว้นระยะระหว่างแถวยางไม่น้อยกว่า 7 เมตร

  • การปลูกพืชไร่ต่าง ๆ เป็นพืชแซมยาง เช่น ข้าวไร่ ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเขียว พืชผักชนิดต่าง ๆ เช่น ถั่วฝักยาว พริกขี้หนู ผักกาดเขียว แตงกวา สับปะรด เป็นต้น ควรอยู่ใกล้แหล่งน้ำ และควรปลูกสลับกับพืชตระกูลถั่ว

  • หญ้ารูซี่ ปลูกห่างแถวยางประมาณ 1.5 เมตร และไม่ควรปลูกหญ้าอาหารสัตว์ชนิดอื่น เพราะอาจจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยาง

  • กล้วยและมะละกอ ปลูกแถวเดียวกึ่งกลางระหว่างแถวยาง ซึ่งสามารถปลูกพืชอายุสั้นในระบบผสมผสานได้อีกหลายชนิด เช่น ข้าวไร่ ถั่วลิสง เป็นต้น

  • ไม่ควรปลูกมันสำปะหลัง อ้อย ละหุ่ง เป็นพืชแซม เพราะจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง

  • ปฏิบัติและบำรุงรักษาพืชแซมยางต่าง ๆ ตามชนิดของพืชนั้น ๆ ตามปกติ

  • ควรนำเศษซากของพืชแซมทิ้งไว้ในที่เดิม หรือนำไปคลุมโคนต้นยาง โดยให้ห่างจากโคนต้นยางเล็กน้อย

  • หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตของพืชแซมยางแล้ว ให้ปลูกพืชตระกูลถั่วแทนทันที

การปลูกพืชร่วมยาง

พืชร่วมยาง หมายถึง พืชที่ปลูกควบคู่กับการปลูกยาง สามารถเจริญเติบโตร่วมกับยางได้

หลักในการพิจารณาปลูกพืชร่วมยาง

  • คำนึงถึงผลตอบแทนจากการลงทุนปลูกพืชร่วมยางแต่ละชนิด

  • เกษตรกรควรคุ้นเคยกับการปฏิบัติดูแลรักษาพืชร่วมยางที่เลือกปลูก

  • พืชร่วมยางที่ปลูกต้องไม่กระทบกระเทือนการปฏิบัติงานในสวนยาง หรือมีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง จนทำให้ผลผลิตจากต้นยางลดลง

  • ชนิดของพืชร่วมยางที่สำคัญ ได้แก่ ระกำหวาน สละ หวาย กระวาน หน้าวัว เป็นต้น

การเลี้ยงสัตว์ในสวนยาง

  • สัตว์ที่นิยมเลี้ยง ได้แก่ แกะ โค สัตว์ปีก และผึ้ง

  • ควรปล่อยแกะและโคเข้าไปในสวนยาง เมื่อยางอายุ 1 ปี และ 3 ปีขึ้นไปตามลำดับ

 

พื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศไทย
ความสำคัญทางเศรษฐกิจและสังคมของยางพารา
ร่างยุทธศาสตร์พัฒนายางพารา ปี 2552 - 2556
ส่วนต่าง ๆ ของยางพารา
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง
พันธุ์ยาง
ชนิดของต้นพันธุ์ยาง
ปัจจัยสำคัญที่เกษตรกรจะต้องพิจารณาประกอบการเลือกใช้พันธุ์ยาง
การเตรียมพื้นที่ปลูกยาง
วิธีปลูกต้นยาง
การปลูกยางพาราในภาคเหนือ
การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในยางพารา
การตัดแต่งกิ่ง
วัชพืชและการป้องกันกำจัด
คำแนะนำการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย
โรคและศัตรูพืชที่สำคัญของยางพารา
การเสริมรายได้เจ้าของสวนยาง
การกรีดยาง
ระบบกรีด
การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับรอยกรีดหน้าล่าง
การแปรรูปผลผลิตน้ำ
ลักษณะของยางแผ่นคุณภาพดี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย