สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพุทธศาสนากับการทำแท้ง
ความหมายของการทำแท้ง
การทำแท้งและกฎหมาย
สิทธิของแม่ : วิธีการของนักสตรีศึกษา
ข้อเท็จจริงทางศีลธรรมของการทำแท้ง
ทัศนะทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับศีลธรรมในการทำแท้ง
ความเป็นคนเริ่มต้นเมื่อใดตามทัศนะของพุทธศาสนา
การทำแท้งคือการฆ่ามนุษย์ตามทัศนะพุทธศาสนา
เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมการทำแท้ง
บทสรุป
เอกสารอ้างอิง
การทำแท้งและกฎหมาย
การทำแท้งถูกนำไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย เมื่อสมัยโบราณในอียิปต์ กรีก และโรม
โดยนำไปใช้เป็นวิธีการคุมกำเนิด ต่อมาได้ถูกจำกัดโดยผู้นำศาสนาในปี 1869
โบสถ์โรมันแคธอลิกได้ห้ามทำแท้งในทุก ๆ สถานการณ์ อย่างไรก็ตาม กระทั่งศตวรรษที่ 19
กฎหมายในทางโลกมิได้ถือว่าการทำแท้งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย รัฐสภาอังกฤษ
และสภานิติบัญญัติอเมริกา ได้ผ่านกฎหมายการต่อต้านการทำแท้งอย่างเข้มงวดในศตวรรษที่
19 เพื่อปกป้องผู้หญิงจากกระบวนการทางศัลยกรรม ที่จะทำให้ชีวิตของพวกเธอไม่ปลอดภัย
กฏหมายมิได้มีส่วนเกี่ยวกับผู้หญิงที่ชีวิตตกอยู่ในอันตรายจากการตั้งครรภ์
และกับผู้หญิงที่สุขภาพไม่ดี ในศตวรรษที่ 20
ทัศนคติในเรื่องของการทำแท้งเพื่อการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์
เป็นไปอย่างเสรีมากยิ่งขึ้นสำหรับทางการแพทย์
สังคมหรือเหตุผลส่วนบุคคลได้ถูกพิจารณาให้มีความชอบธรรมมากขึ้น ในปี 1920
การทำแท้งโดยความต้องการของผู้หญิงได้รับอนุญาตเป็นครั้งแรกในสหภาพโซเวียต
และได้มีการทำให้ถูกกฎหมายในอีกหลายประเทศในยุโรป และญี่ปุ่น
เมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปลายทศวรรษ 1960
การให้การทำแท้งเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย เป็นไปอย่างแพร่หลายด้วยเหตุผลต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
1) อัตราการเพิ่มของการฆ่าทารกที่เกี่ยวข้องกับการทำแท้งโดยผิดกฎหมาย
2) ประชากรมากเกินไป
3) การเคลื่อนไหวที่เพิ่มมากขึ้นของกลุ่มสนับสนุนสิทธิสตรี
ด้วยเหตุนี้ การทำแท้ง จึงมีความเข้มข้นมากขึ้น
ในการโต้เถียงกันเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เป็นเรื่องถูกกฎหมาย
ตอนนี้จะตรวจสอบว่า
การออกกฎหมายเกี่ยวกับการทำแท้งเป็นเรื่องถูกต้องสมควรในแง่ของศีลธรรมหรือไม่
เมื่อมองดูถึงการออกกฎหมายการทำแท้ง
มีความขัดแย้งเป็นอย่างมากระหว่างกลุ่มต่อต้านการทำแท้งกับกลุ่มสนับสนุนการทำแท้ง
ในแง่หนึ่ง กลุ่มผู้ต่อต้านการทำแท้งอ้างว่า
การทำแท้งคือการสิ้นสุดชีวิตของมนุษย์หรือชีวิตที่มีศักยภาพของมนุษย์
และการออกกฎหมายการทำแท้งก็เป็นวิธีที่จำเป็นในการพิทักษ์ความน่าเคารพในชีวิตมนุษย์
ในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มผู้สนับสนุนการทำแท้งก็อ้างว่า
การทำแท้งเป็นแค่เพียงเรื่องของการใช้สิทธิของผู้หญิงในการที่จะเลือก
และการกำหนดให้มีกฎหมายการทำแท้ง เป็นการไม่ยุติธรรมต่อผู้หญิง
เพราะนั่นเป็นการตัดทอนสิทธิส่วนบุคล ดังนั้น เราจึงสามารถบอกได้ว่ามี 2 วิธี
ในการมองเรื่องของการทำแท้ง การทำแท้งอาจจะถูกมองได้ว่า
เป็นการฆ่าหรือเป็นการพรากชีวิตมนุษย์ กลุ่มผู้ยึดถือมุมมองนี้
จะถูกเรียกว่าเป็นพวกอนุรักษ์นิยม มุมมองอื่นจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิสตรี
พวกที่ยึดถือตามมุมมองนี้ จะถูกเรียกว่าพวกเสรีนิยม
คำถามทั่วไปที่มาจากความขัดแย้ง คือ จริงหรือไม่ที่การทำแท้ง ซึ่งพวกอนุรักษ์นิยม บอกว่าเป็นการยุติชีวิตมนุษย์ เป็นเรื่องสมควรตามศีลธรรมและจริงหรือไม่ที่การออกกฎหมายการทำแท้ง ซึ่งพวกเสรีนิยมบอกว่าเป็นการจำกัดขอบเขตของผู้หญิงเป็นเรื่องสมควรตามศีลธรรม
การทำแท้งเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมสำหรับพวกอนุรักษ์นิยม ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสมควรที่จะกำหนดให้มีการห้ามทำแท้งโดยมาจากพื้นฐานที่ว่ามันเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรมหรือไม่ ถ้าใช่เหตุใดจึงไม่มีการห้ามการลงโทษแบบรุนแรง (เช่น การประหารชีวิต) ซึ่งก็ผิดศีลธรรมเหมือนกัน การลงโทษขั้นรุนแรงปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศที่นับถือศาสนาพุทธแบบอนุรักษ์นิยมด้วย เป็นเรื่องจริงที่ว่าการลงโทษขั้นรุนแรง เป็นเรื่องผิดศีลธรรม ตามมุมมองของหลักการแห่งความเคารพในชีวิตมนุษย์ แต่ก็มีเหตุผลที่แน่นอนหลายประการสำหรับรัฐในการบัญญัติบทลงโทษขั้นรุนแรง โดยทั่วไปแล้วกระบวนการทางกฎหมายไม่ว่าในประเทศใด จะเป็นการรักษาประเทศให้อยู่ในกฎระเบียบเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของปัจเจกบุคคลหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สมมติว่าบุคคลหนึ่งประกอบอาชญากรรมที่เป็นที่น่ารังเกียจ เช่น ขโมยทรัพย์สินของผู้คน ข่มขืนและฆ่าผู้คน รัฐย่อมต้องมีความรับผิดชอบในการที่จะหยุดยั้งเขาจากการกระทำเพื่อผลประโยชน์ของ ประชาชนในรัฐ ถ้าพบว่าการมีอยู่ของบุคคลนั้นสามารถนำมาความวุ่นวายในประเทศ และมันจะเป็นการดีกว่าถ้าเขา จะถูกกำจัดแทนที่จะเก็บเอาไว้ให้มีชีวิต รัฐจะถูกผลักดันให้ทำ แม้ว่าความจริงแล้วจะเป็นเรื่องผิดศีลธรรม ถ้ารัฐปฏิเสธที่จะทำโดยมองว่าเป็นเรื่องที่ผิดศีลธรรม นั่นหมายความว่า รัฐมิได้แสดงให้เห็นถึงการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนในรัฐโดยรวม
ในกรณีของการทำแท้งไม่เพียงแต่จะผิดศีลธรรม แต่ยังจะมีอันตรายต่อสุขภาพของสตรี ผู้ที่รับการทำแท้ง บางทีอาจเนื่องจากการปฏิบัติทางการแพทย์โดยผิดวิธี นอกจากนี้การทำให้การทำแท้งกลายเป็นเรื่องถูก กฏหมายในบางแง่ อาจทำให้ความสัมพันธ์ทางเพศแบบผิด ๆ ในหมู่คนเพิ่มสูงมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในสังคม ที่สำคัญที่สุดการทำแท้งจะเป็นการตัดสิทธิของตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์ที่จะกลายมาเป็นมนุษย์ ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่า รัฐมีเหตุผลที่จะผลักดันการจำกัดการทำแท้ง เพื่อที่จะปกป้องผู้หญิงจากอันตราย เพราะการปฏิบัติทางการแพทย์ที่ผิดวิธี ป้องกันความไม่สงบในสังคมจากการมีความสัมพันธ์ทางเพศแบบผิดๆ และเพื่อปกป้องสิทธิ โดยปราศจากเงื่อนไขของความเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพต่อไป
ดังนั้น จากการพิจารณาสามารถบอกได้ว่า กฎหมายต่อต้านการทำแท้งเป็นเรื่องที่สมควรตามศีลธรรม