สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

การศึกษาเชิงวิเคราะห์เรื่องพุทธศาสนากับการทำแท้ง

ความหมายของการทำแท้ง
การทำแท้งและกฎหมาย
สิทธิของแม่ : วิธีการของนักสตรีศึกษา
ข้อเท็จจริงทางศีลธรรมของการทำแท้ง
ทัศนะทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับศีลธรรมในการทำแท้ง
ความเป็นคนเริ่มต้นเมื่อใดตามทัศนะของพุทธศาสนา
การทำแท้งคือการฆ่ามนุษย์ตามทัศนะพุทธศาสนา
เกณฑ์ตัดสินจริยธรรมการทำแท้ง
บทสรุป
เอกสารอ้างอิง

ข้อเท็จจริงทางศีลธรรมของการทำแท้ง

มีเหตุผลมากมายที่ผู้หญิงจะได้รับการทำแท้ง ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับเรื่องของสุขภาพของตัวผู้หญิงเอง โอกาสที่ค่อนข้างมืดมนในอีก 7 – 8 เดือนที่จะมาถึง การรู้ล่วงหน้าถึงข้อบกพร่องทางร่างกายของเด็กที่ยังไม่เกิด การถูกข่มขืน หรือการร่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง การหลีกเลี่ยงจำนวนประชากรที่มากเกินไปในครอบครัว การปกป้องความสัมพันธ์ทางเพศที่ผิด

ปัญหาหลักในเรื่องความมีศีลธรรมในการทำแท้ง ก็คือ การระบุว่าสภาพการณ์ใดที่การทำแท้งนั้น สามารถอนุญาตให้กระทำได้อย่างมีจริยธรรม บางคนบอกว่า การทำแท้งไม่มีทางจะยอมรับได้ หรือจะยอมรับได้ก็ต่อเมื่อเป็นการทำแท้งเพื่อรักษาชีวิตของผู้หญิง หรือเหตุผลที่คล้ายคลึงกับประการอื่น ๆ บางคนก็บอกว่า การทำแท้ง สามารถอนุญาตที่จะให้กระทำได้เสมอไม่ว่าในสถานการณ์ใด ๆ หรือ ณ ระดับการพัฒนาใด ๆ ก็ตามของทารกในครรภ์ มุมมองนี้ส่วนใหญ่แล้วได้รับการสนับสนุนโดยผู้ที่เน้นถึงสิทธิของผู้หญิงในการควบคุมร่างกายของพวกเธอ มุมมองที่วางอยู่ระหว่างผู้ยึดถือจุดยืนทั้ง 2 แบบที่กล่าวมาคือ การทำแท้ง จะอนุญาตให้กระทำได้อย่างมีจริยธรรม ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของทารกในครรภ์ หรือขึ้นอยู่กับชุดของเหตุผลทางจริยธรรมที่เพียงพอจะรับรองการทำแท้งภายใต้สถานการณ์พิเศษ

เมื่อกล่าวถึงสมมติฐานแรกที่ว่าการทำแท้งนั้นไม่มีวันเป็นที่ยอมรับได้ สมมติฐานนี้ตั้งอยู่บนหลักฐานที่ว่า ทารกในครรภ์ คือ บุคคลคนหนึ่งซึ่งมีสิทธิที่จะมีชีวิตนับตั้งแต่การมีภาวะตั้งครรภ์ ที่จริงแล้วไม่มีเหตุผลใดที่จะปฏิเสธข้อเสนอนี้ ถ้าความเป็นบุคคลของทารกในครรภ์ถูกปฏิเสธ ความเป็นบุคคลของเราทั้งหมดก็จะตกอยู่ในอันตราย ในฐานะความเป็นทารกในครรภ์ย่อมมีสิทธิในการมีชีวิตโดยเท่าเทียมกับเรา เป็นที่แน่นอนว่าพวกเราส่วนใหญ่ไม่ประสงค์ที่จะถูกฆ่าเมื่อเรายังเป็นทารก นี่คือเหตุผลที่ดีในการที่จะมีหลักในการปกป้องชีวิตของทารกในครรภ์ หลักการในการปกป้องชีวิตก็ย่อมเป็นหลักการในการปกป้องชีวิตที่ยังไม่เกิด ถ้ามีเหตุผลใดที่เห็นด้วยกับการฆ่าทารกที่ยังไม่เกิด มันย่อมที่จะสนับสนุนหรือเห็นด้วยกับการฆ่าบุคคล ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงใดของชีวิตก็ตาม

หลักฐานอีกประการที่สนับสนุนแนวความคิดนี้ มาจากสมมติฐานในด้านธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนา เซนต์ ออกัสติน กล่าวว่า ผู้หญิงถูกออกคำสั่งโดยพระเจ้าให้เป็นผู้ให้กำเนิด ดังนั้น จากมุมมองนี้การทำแท้งนั้นเป็นบาป เพราะขัดแย้งกับธรรมชาติของผู้หญิงที่ถูกกำหนดมาโดยพระเจ้า เป็นที่พูดกันว่า ผู้หญิงที่รับการทำแท้ง ก็เหมือนกับการฆ่าลูก ๆ ของพวกเขา และถือเอาความต้องการส่วนตัวเป็นสำคัญมากกว่าชีวิตของเด็ก (Elizabeth, 1992: 87)

อีกเหตุผลหนึ่งของกลุ่มผู้อนุรักษ์นิยมที่ปฏิเสธความถูกกฎหมาย ในการทำแท้งนั้นมีพื้นฐานมาจากความศักดิ์สิทธิ์ของชีวิตมนุษย์ ตราบเท่าที่พวกเขามองทารกในครรภ์ว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ไม่ว่าจะอยู่ในระยะใดก็ตาม ในช่วงของการตั้งครรภ์ การทำแท้งจึงเป็นเรื่องร้ายแรงเทียบเท่ากับการฆาตกรรม

ในหมู่พวกที่ต่อต้านการทำแท้ง บางคนก็เห็นด้วยกับการทำแท้ง ในกรณีผู้หญิงที่ท้องนั้นตกอยู่ในอันตรายอันเนื่องมาจากการตั้งครรภ์นั้น ๆ เป็นที่ถกเถียงกัน เมื่อทารกในครรภ์มีทีท่าว่าจะเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้หญิง การยุติการตั้งครรภ์ก็อาจจะมองได้ว่าเป็นการป้องกันตนเอง

ในกรณีของการข่มขืนและการร่วมประเวณีกันระหว่างพี่น้อง พวกอนุรักษ์นิยมมีความเห็นว่า ควรจะมอบเด็กให้กับคู่สมรสที่ไม่สามารถมีบุตรได้จะเป็นการดีกว่าการทำแท้ง

เมื่อกล่าวถึงมุมมองที่สองที่ว่า “การทำแท้งนั้นเป็นเรื่องที่ยอมรับได้เสมอ” มุมมองนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ทารกในครรภ์ยังไม่ถือว่าเป็นมนุษย์ ไม่ว่า ณ ระดับใดก็ตามของการตั้งครรภ์ และไม่มีสิทธิทางศีลธรรมรวมถึงสิทธิในการมีชีวิต ผู้สนับสนุนมุมมองนี้โดยส่วนใหญ่หรือไม่ก็ทั้งหมด พิจารณาว่าตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์เป็นแต่เพียงเนื้อเยื่อเพียงบางส่วนของร่างกายมนุษย์เท่านั้น ดังนั้น พวกเขาจึงมองการทำแท้งเป็นเพียงการตัดอวัยวะเพียงส่วนหนึ่งของร่างกายออกไปเท่านั้น บางคนยึดถือแนวความคิดนี้อย่างเหนียวแน่น จนถึงเวลาที่ทารกกำลังจะถือกำเนิด พวกเขาถกเถียงกันในเรื่องของกระบวนการการพัฒนาของทารกในครรภ์ จากไข่ไปจนถึงภาวะการตั้งครรภ์ การฝังตัว การเจริญเติบโต เป็นต้น ไม่มีจุดใดจะสามารถที่จะถูกกำหนดให้เป็นจุดสำคัญทางศีลธรรมของทารกในครรภ์ ไม่มีความแตกต่างทางศีลธรรมระหว่างไข่ที่ยังไม่ได้ปฏิสนธิ กับไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว ไม่มีความแตกต่างทางศีลธรรมที่สำคัญระหว่าง ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิ (เซลล์เดียว) กับกลุ่มก้อนของ 16 เซลล์ ไม่มีความแตกต่างทางศีลธรรมที่สำคัญระหว่างตัวอ่อนอายุ 1 เดือน กับทารกที่กำลังจะเกิดจริง ๆ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สามารถยอมรับได้สำหรับการที่ผู้หญิงจะมีความต้องการทำแท้ง ไม่ว่าจะในระยะใดหรือเหตุผลใด ๆ

อย่างไรก็ตามบางคนที่ยึดถือหลักการที่ว่า การทำแท้งเป็นเรื่องที่ยอมรับได้เสมอ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะตระหนักว่า ทารกในครรภ์มีสิทธิที่จะมีชีวิต แต่พวกเขาบอกว่าสิทธิดังกล่าวมิได้หมายถึงสิทธิในการใช้ร่างกายของผู้เป็นแม่ สิทธิอย่างหลังขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้หญิง และทารกจะสามารถอ้างสิทธิได้ก็ต่อเมื่อได้รับมอบสิทธิดังกล่าวด้วยความสมัครใจโดยสตรี สตรีที่ตั้งครรภ์ทุกคนมีสิทธิที่จะเลือกว่า จะมอบสิทธิในการใช้ร่างกายของเธอแก่ทารกในครรภ์หรือไม่ ดังนั้น เธอจึงควรได้รับอนุญาตให้ยุติการตั้งครรภ์ของเธอเมื่อใดก็ตามที่เธอต้องการ

ประเด็นในเรื่องของความมีเสถียรภาพในการทำแท้งนั้น มักจะต้องเผชิญกับข้อโต้แย้งของกลุ่มผู้ต่อต้านการทำแท้งหัวอนุรักษ์นิยม ข้อโต้แย้งของคนกลุ่มนี้ คือ เสรีภาพในการเลือกเป็นสาเหตุให้ผู้เป็นแม่กำหนดความตายแก่ลูก ๆ ของพวกเธอ ถือเป็นความชั่วร้ายของมนุษย์ พวกเขายังได้แย้งต่อว่าสตรีที่ประกอบการทำแท้ง แท้จริงแล้วได้กระทำสิ่งที่เลวร้าย ซึ่งไม่สามารถที่จะเข้าใจได้ เพราะการทำแท้งสามารถที่จะยังผลให้เกิดจากความเจ็บปวดที่รุนแรงอย่างถาวร และทำให้เกิดความไม่แน่ใจแทนที่จะเกิดการผ่อนคลาย

ลองมามองดูมุมมองที่อยู่ระหว่างกลางที่มีความเชื่อว่าการทำแท้งนั้น โดยจริยธรรมแล้วเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ในระยะเฉพาะที่กำหนดไว้ในช่วงของการตั้งครรภ์ เหล่านักปรัชญากังวลในเรื่องของจุดความสำคัญที่ตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์ จะถูกมองหรือพิจารณาว่าเป็นบุคคล และมีสิทธิ์ทางศีลธรรม เช่นเดียวกับที่มนุษย์พึงมี เหล่าผู้ที่สนับสนุนมุมมองนี้ มีจุดหรือระยะที่แน่นอนอยู่ระยะหนึ่งที่ตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์จะถูกถายให้เป็นบุคคล เรียกว่า “จุดแห่งความเป็นทารก” และเป็นที่กล่าวกันว่า มนุษย์เริ่มต้น ณ จุดนี้ การทำแท้งโดยทางจริยธรรมแล้วจึงเป็นที่ยอมรับได้ หากเกิดขึ้นก่อนจุดนี้ เหนือจากจุดนี้ไป จะต้องมีเหตุผลที่แน่ชัด เช่น เป็นอันตรายต่อชีวิต หรือเหตุผลในการรักษาทางการแพทย์อื่น ๆ หากจะทำแท้ง



เกี่ยวกับเรื่องการเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ ไม่มีเวลาใดเวลาหนึ่งที่เฉพาะเจาะจง พอที่จะบ่งชี้ถึงความเป็นชีวิตของมนุษย์ นักวิจัยมากมายได้พยายามที่จะกำหนดจุดที่แน่นอนของการเริ่มต้นชีวิตมนุษย์ ณ ระยะที่แตกต่างกันในช่วงของการตั้งครรภ์

เป็นเรื่องยากที่จะกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนสำหรับตัวอ่อน หรือทารกในครรภ์เพื่อให้เป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญทางศีลธรรม ในกระบวนการตั้งครรภ์ ข้อโต้แย้งที่เรียกว่า “The Slippery Slope” ได้เข้ามามีบทบาทในการถกเถียงกันในส่วนของจริยธรรมกับการทำแท้ง

พวกอนุรักษ์นิยมได้กำหนดจุดเริ่มต้นของชีวิตมนุษย์ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ เรื่องราวของข้อโต้แย้ง “Slippery Slope” ได้ถูกเขียนไว้โดย Jeel Rudinow ดังต่อไปนี้

การเกิดเป็นเหตุการณ์ที่สำคัญในประวัติชีวิตของแต่ละคนตามทัศนะทางศีลธรรม การเกิดซึ่งถือเป็นการที่ร่างกายเพียงเปลี่ยนสภาพแวดล้อมเท่านั้น ไม่สำคัญกว่าวันเกิดวันแรก แต่เมื่อการเกิดถูกทำให้เป็นตำนานน้อยลงเท่าที่ควรจะเป็น เราก็เหมือนอยู่บนทางลาดที่ลื่นชันไม่มีจุดใดแตกต่างเป็นพิเศษ ระหว่างการเกิดและการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างของบุคคล และไม่ใช่บุคคล ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีคนกลางมาหาข้อยุติ เพราะข้อแตกต่างในการพัฒนาระหว่างจุด 2 จุด ของมดลูกภายใน ผลที่ตามมาคือ เราถูกกำหนดให้หาจุดเริ่มต้นชีวิตของมนุษย์ คือเริ่มตั้งแต่การตั้งครรภ์เลยทีเดียว (Rudinow, Joel, 1974: 173-6)

ผลงานของ David Lamb (1988: 116) เรื่อง “Down the Slippery Slope” กล่าวว่า ข้อถกเถียงของ Rudinow ไม่ใช่ข้อถกเถียงในเรื่อง Slippery Slope แต่เป็นเรื่องของการนำเอาแนวคิด Slippery Slope มาใช้อย่างผิด ๆ ในทัศนะแบบกลาง ๆ โดยทั่วไป จุดยอมรับของการมีชีวิตในครรภ์อยู่ระหว่าง 24 – 28 สัปดาห์ เรื่องนี้นำไปสู่ข้อถกเถียงในเรื่อง Slippery Slope ถ้าคำกล่าวที่ว่าการทำแท้งก่อนจุดนี้ ถือเป็นเรื่องที่อนุญาตให้ทำได้ ก็ถือเป็นเรื่องที่มีเหตุผลที่จะกล่าวว่า การทำแท้งก่อนหน้านี้เพียง 1 วินาที 1 นาที หรือ 5 นาที เป็นเรื่องที่อนุญาตให้ทำได้

แนวคิดกลาง ๆ บางคนดูเหมือนจะเห็นด้วยกับการทำแท้ง ถ้าหากว่ามีผลดีต่อหญิงมีครรภ์ และสังคมดูเหมือนว่าพวกยึดหลักถือเอาประโยชน์ของการใช้สิทธิ์ พวกยึดถือเอาประโยชน์ของการใช้จะไม่ยึดหลักศาสนาที่ค้นหาโดยพวกปฏิรูปมนุษย์ ในการที่จะปฏิรูปสังคม และเปลี่ยนแปลง ประเพณีทางศาสนา ลัทธิพวกถือเอาประโยชน์ เห็นพ้องอย่างจริงจังต่อหลักการของการใช้ เมื่อถกเถียงกันในเรื่องของศีลธรรม ตามแนวคิดของพวกสิทธิที่ถือเอาประโยชน์เป็นสำคัญ การฆ่าคนบางคนเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เมื่อการฆ่านั้นมีผลดีตามมา เช่น การฆ่าคนหนึ่งเพื่อช่วยชีวิตอีกหลายคน ตามแนวคิดของการทำแท้ง พวกยึดถือประโยชน์มีแนวโน้มที่จะไม่ยึดถือหลักใดหลักหนึ่งตายตัว

แม้ว่าจะไม่เห็นด้วยกับข้อเท็จจริงที่ว่า ตัวอ่อนในครรภ์คือบุคคลและมีสิทธิที่จะมีชีวิต แต่พวกนี้กล่าวว่าการทำแท้งเพื่อช่วยชีวิตแม่เป็นการกระทำที่ถูกแล้ว ถ้าช่วยแม่ไม่สำเร็จ ทั้งแม่และเด็กทารกอาจจะต้องตายด้วยกัน ดังนั้นจึงถือเป็นการดีกว่าจะช่วยคนใดคนหนึ่ง แทนที่จะต้องสูญเสียไปทั้ง 2 ชีวิต ในกรณีที่จะต้องช่วยชีวิตแม่หรือเด็ก พวกถือเอาประโยชน์มักจะเลือกช่วยแม่ก่อน โดยกล่าวว่าการช่วยชีวิตแม่โดยทั่วไปย่อมหมายถึงเป็นการช่วยมากกว่าช่วยแม่? ช่วยมากกว่าชีวิตที่ยังไม่เกิด เหตุผลที่เป็นไปได้สำหรับพวกผู้ยึดถือเอาผลประโยชน์ ในการพิจารณาช่วยชีวิตแม่เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำก่อนอื่นโดยถือว่า เราไม่มีความทรงจำใด ๆ เกี่ยวกับสภาพของตัวอ่อนในครรภ์ว่าจะมีชีวิตหรือไม่ หรือเพราะว่ามันเป็นเรื่องแปลก หรือเพาะว่าเราไม่รู้ หรือเพราะว่าเด็กอ่อนยังไม่มีบทบาทในสังคม หรือเป็นการยืนยันว่า สถานะของบุคคลบังคับให้ถูกทอดทิ้ง และสถานภาพของการเป็นแม่ถูกกำหนดให้ความสำคัญมากกว่าอื่นใด

สถานการณ์อีกอย่างหนึ่งในการที่จะต้องเลือกฆ่าเด็กก็ต่อเมื่อชีวิตของเด็กอาจจะไปทำร้ายชีวิตของคนอื่น เช่น มีอันตรายต่อสุขภาพของมารดา หรือมีอันตรายต่อชีวิตของเด็ก ๆ คนอื่น เช่น การคุ้มครองสังคมจากการที่มีประชากรมากเกินไป นักเขียนกลุ่มผู้ยึดถือเอาประโยชน์บางคนพยายามใช้ “กฎของการใช้” (Principle of utility) มาใช้เกี่ยวกับเรื่องการทำแท้งอีกทางหนึ่ง ตัวอย่างเช่น John Harris (1985: 159) กล่าวว่า เราควรแสวงหาชีวิตที่มีคุณค่าให้มากที่สุด ดังนั้นชีวิตที่มีคุณค่าไม่ควรจะถูกกำจัดทิ้ง

ตามทัศนะดังกล่าวนี้ การทำแท้งเป็นการทำให้ชีวิตที่มีศักยภาพในครรภ์มารดาหมดไป และถือเป็นการลดทอนการใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างไรก็ตามนักวิจารณ์บางคนกล่าวว่า มีปัญหาอยู่เหมือนกันสำหรับพวกผู้ยึดเอาประโยชน์ในการใช้หลักการทำแท้งให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัญหานี้จะต้องระบุข้อแตกต่างระหว่างการทำแท้งไว้อย่างหนึ่ง และความเป็นโรคอันเนื่องมาจากข้อห้ามทางศาสนา และการคุมกำเนิดไว้อีกอย่างหนึ่ง การทำแท้งถือเป็นการเอาชีวิต และเป็นการลดการนำเอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ ดังนั้น ถ้าถือว่าเป็นการผิดศีลธรรม การห้ามไม่ให้ชีวิตเกิดใหม่ ก็จะต้องถือว่าเป็นการลดประโยชน์ของการนำไปใช้ด้วย ซึ่งก็คงจะเหมือนกับการทำแท้งนั่นเอง ดังนั้นเราพูดว่าการทำแท้งผิด การคุมกำเนิดและการเป็นโสด ก็ต้องถือว่าผิดด้วย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย