สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
ความหมายของบรรพชนไทย
ข้าวและวิถีชีวิตของคนในชุมชน
การตั้งถิ่นฐานของบรรพชนไทย
แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณเอเชียกลางฯ
แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณมณฑลเสฉวนเทเรียน
แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณทางใต้ของจีน
แนวความคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณพื้นที่ที่เป็นประเทศไทย
แนวความคิดที่เชื่อว่าถิ่นกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีนฯ
ความหมายของประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ร่องรอยทางประวัติศาสตร์
แนวคิดที่เชื่อว่าชนชาติไทยอยู่บริเวณเอเชียกลางแนวคิดนี้เกิดขึ้นหลัง พ.ศ. 2450 เป็นต้นมา
โดยนักประวัติศาสตร์ในช่วงนั้นต่างมีความเชื่อกันว่าแหล่งกำเนิดอารยธรรมของโลกมีจุดกำเนิดอยู่ทางแถบ เอเชียกลางใกล้ทะเลแคสเปียน ก่อนที่กระจายไปยังทิศทางต่าง ๆ ดร.วิลเลียม คลิฟตัน ดอดหมอสอนศาสนาชาวอเมริกันได้นำความเชื่อนี้ไปกล่าวไว้ในงานเขียน เกี่ยวกับชนชาติไทยของเขาว่าพวกมุงซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบรรพบุรุษของคนไทยได้อพยพโยกย้ายถิ่นฐานมาจากถิ่นกำเนิดของตนในเอเชียกลางมายังชายแดนด้าน ตะวันตกของจีนขุนวิจิตรมาตรา ( สง่า กาญจนาคพันธ์ ) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ในหนังสือหลักไท ( พ.ศ. 2471 ) เชื่อว่าแหล่งกำเนิดของชนชาติไทยอยู่บริเวณเทือกเขาอัลไตของเอเชียกลาง ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพวกมองโกลด้วยกัน
ภายหลังจึงได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานแถบบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง และแม่น้ำแยงซีต่อมาเมื่อถูกรุกราน จึงค่อย ๆ อพยพลงมาสู่สุวรรณภูมิต่อมาภายหลัง เมื่อมีการศึกษาทางด้านโบราณคดีและด้านภูมิศาสตร์ ทำให้แนว ความคิดนี้ไม่ได้รับการยอมรับอีกต่อไปเพราะทาง แถบบริเวณเทือกเขาอัลไตของเอเชียกลางนั้นเป็นเขตแห้งแล้ง อากาศมีความหนาวเย็น และถ้าอพยพโยกย้ายลงมาก็ต้องผ่านทะเลทรายที่กว้างใหญ่และทุรกันดารมาก จึงไม่เหมาะสำหรับจะเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์