ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ลักษณะทั่วไปของปรัชญาตะวันตก – ปรัชญาตะวันออก

ลักษณะทั่วไป
ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก – ตะวันตก
ลักษณะปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาตะวันตก
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญากรีก
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยกลาง
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยใหม่
ปรัชญาเปรียบเทียบ
ศิลปะในวิธีการศึกษา

ลักษณะทั่วไป

มีลักษณะทั่วไปต่างกันดังนี้

  • ปรัชญาตะวันตก เป็นการค้นคว้าหาทางที่จะพ้นไปจากความสงสัย
  • ปรัชญาตะวันออก เป็นความรู้ภายหลังที่พ้นความสงสัยได้แล้ว

ปรัชญาตะวันตก เป็นการประติดประต่อความคิดของนักคิดหลายคนเข้าด้วยกัน โดยที่ความจริงแล้วความคิดเหล่านั้นไม่น่าจะสัมพันธ์ซึ่งกันและกันเลย เพราะเป็นความคิดคนละฐานกัน ส่วนปรัชญาตะวันออกนั้น อาศัยความตรัสรู้อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นฐานอันแน่นอนแล้วค่อยขยายตัวออกไปตามสติปัญญาของปรัชญาเมธีนั้น ๆ ในกาลต่อ ๆ มา ในขั้นนี้เรียกว่า มีพฤติการณ์ต่างกัน

มูลราก

  • มูลรากของ Philosophy คือความสงสัย เพราะเรายังสงสัยหาคำตอบไม่ได้ จึงพยายามค้นหาหลักฐานเพื่อให้คำตอบแก่สิ่งที่เราสงสัยนั้น Philosophy จึงเกิดจากความสงสัย
  • มูลรากของปรัชญา คือความตรัสรู้ของพระฤๅษีนั้นคือปรัชญาตะวันออก เกิดจากกาตรัสรู้ของผู้เป็นต้นลักทธิ

 

ตัวปรัชญา

  • การพยายามค้นหาคำตอบเพื่อแก้ความสงสัยนั่นเอง คือตัวปรัชญาของปรัชญาตะวันตก
  • การอธิบายความตรัสรู้ของพระฤๅษีนั้น ตามหลักเหตุผลนั้นคือตัวปรัชญาของปรัชญาตะวันออก

คำนิยามของปรัชญา

  • ในทางตะวันออก ปรัชญาคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความตรัสรู้เป็นบรรทัดฐาน
  • ในทางตะวันตก ปรัชญาคือพฤติการณ์ตามหลักเหตุผลอันเกิดจากความสงสัยหรือความแปลกใจ

ปรัชญาตะวันตก มุ่งสมัชชาภาพแล้วจึงกลับมาปัจเจกภาพ มีวิถีเป็นปฏิโลม ปรัชญาตะวันออก มุ่งปัจเจกภาพแล้วจึงขยายไปสู่สมัชชาภาพ มีวิถีเป็นอนุโลม การศึกษาปรัชญาตะวันตก ยังผลให้รู้พฤติการณ์ของธรรมชาติ ยังไม่รู้ถึงตัวธรรมชาติ การศึกษาปรัชญาตะวันออก เป็นการศึกษาถึงแดนเกิดของตัวบุคคล พฤติการณ์ของบุคคลที่ดำเนินอยู่ และอวสานอันบุคคลจะพึงบรรลุในวาระสุดท้าย เท่ากับเป็นการเรียนรู้ชีวิตของเราเองแต่เบื้องต้นจนอวสาน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย