ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ลักษณะทั่วไปของปรัชญาตะวันตก – ปรัชญาตะวันออก

ลักษณะทั่วไป
ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก – ตะวันตก
ลักษณะปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาตะวันตก
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญากรีก
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยกลาง
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยใหม่
ปรัชญาเปรียบเทียบ
ศิลปะในวิธีการศึกษา

เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญากรีก

ปรัชญาของพวกไอโอนิก ธเลส (624-547 BC) เหมือนกับปรัชญาพระเวทและอุปนิษัท จึงน่าได้รับความคิดนี้ไปจากอินเดียหรือนักคิดพวกนี้อาจจะไม่ใช่ชาวกรีกด้วยซ้ำไป

  • ความคิดเรื่องการดูดของแม่เหล็กเหมือนกับความคิดของสางขยะ
  • ความคิดเรื่องน้ำเป็นปฐมธาตุของสิ่งทั้งปวงก็มีปรากฏอยู่ในพระเวท
  • ความคิดของอแมกซิเมเพสเรื่องอากาศหรืออีเธอร์เป็นปฐมธาตุของโลกก็มีปรากฏอยู่ในอุปนิษัทและเวทานตะ
  • นักคิดในสำนักนี้เชื่อว่ามีวิญญาณหรือเชื่อชีวิตอยู่ในธาตุต่าง ๆ ทั้งสิ้น ความคิดนี้ก็คล้ายกับเรื่องบุรุษมีอยู่ในสิ่งทั้งปวงนั่นเอง

ความคิดของพวกอีเลียติก (540 BC) ก็คล้ายกับพรามวิทยาหรือเวทานตะ คือพูดถึงมายา (ปรากฏการณ์ทางผัสสะ) และเน้นความสำคัญของเหตุผลมากกว่าความประจักษ์ทางอายตนะทั้ง 5

ความคิดของเฮราไคลตุส (544-484 ก่อน ค.ศ.) ก็คล้าย ๆ กับพุทธปรัชญาคือพูดถึงความเปลี่ยนแปลงว่าเป็นความจริงของจักรวาล และถือว่าไฟเป็นธาตุดั้งเดิม ในอรรถกถาของพระพุทธศาสนาก็มีกล่าวถึงโลกว่าเริ่มต้นด้วยไฟและสลายไปด้วยไฟเช่นกัน เฮราไคลตุสพูดถึงโลกว่าประกอบด้วยสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน ซึ่งในพุทธศาสนาก็มีกล่าวถึงสิ่งตรงกันข้ามกันไว้มากมาย เช่น กุศล-อกุศล, อณหเตโช-สีตเตโช เป็นต้น และความคิดเหล่านี้พุทธสาสนาได้สอนไว้ก่อนเฮราไคลตุสนมนานและเป็นคำสอนที่มีอยู่ในลัทธิเต๋าด้วย

อ-แนกซ์กอรัส (500-428 BC) ก็กล่าวถึงเรื่องเม็ดสสารหรือเม็ดธาตุเล็ก ๆ ไว้คล้ายกับความคิดเรื่องกลละของพระอภิธรรม และถือว่าสสารจะเกิดจากอสสารไม่ได้

เอมพิลโดเดลส (484-424 BC) มีคำสอนคล้ายลัทธิไวเศษิก แต่ไม่พิสดารเท่า



เดโมคริตุส (460-370 BC) ได้เสนอความคิดเรื่องปรมาณูไว้คล้ายกับความคิดของไวเศษิกและสางขยะ และความคิดเรื่องปรมาณูของพุทธศาสนาด้วย แต่เขาไม่เชื่อเรื่องคุณสมบัติของปรมาณู โดยเขาเชื่อว่าลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุนั้นมนุษย์เห็นไปเอง ส่วนในเรื่องวิญญาณเดโมคริตุสมีความคิดคล้ายกับเรื่องสุขุมสรีระของสางขยะ

นักคิดสำนักต่าง ๆ ของกรีกดังกล่าวมาข้างต้น ล้วนเกิดขึ้นภายหลังพุทธกาลทั้งนั้น สมัยของพุทธกาล คือ 623-543 ก่อน ค.ศ.

พวกโสฟิตส์นั้นคล้าย ๆ กับพวกปริทาชกในอินเดียและไม่ได้เสนอความคิดทางปรัชญาอย่างเป็นระบบใด ๆ เลย ความคิดทางตรรกของโสคราติส (469-399 ก่อน ค.ศ.) นั้นคล้ายกับความคิดของลัทธินยายะ ส่วนความคิดเชิงปรัชญาของเขาคล้ายปรัชญาพราหมณ์ และความคิดเกี่ยวกับมนุษย์และโลกของเขาคล้ายกับความคิดของลัทธิโลกายตะ คือมุ่งความสุขเฉพาะหน้า แต่ดีกว่าโลกายตะตรงที่เขาเน้นเรื่องคุณธรรม

พลาโต (427-360 ก่อน ค.ศ.) มีความคิดเรื่องสัจจะหรือความจริงคล้าย ๆ กับพุทธปรัชญา คือถือว่าความจริงมี 2 ระดับ คือความจริงระดับผัสสะกับความจริงระดับเหตุผลคล้ายความจริงระดับสมมติกับระดับปรมัตถ์ของพุทธศาสนา แต่ความหมายต่างกันมาก ความจริงของพลาโตมีลักษณะเป็นสัสตะ ส่วนความคิดทางการเมืองของเขากว้างขวางกว่าความคิดของชาวอินเดีย

อริสโตเติล (384-322 BC) ยอมรับความเปลี่ยนแปลงของโลกว่าเป็นจริง คล้ายความคิดเรื่องอนิจจังของพุทธศาสนา มีความคิดเรื่องสาเหตุของความเปลี่ยนแปลงของโลกว่าเป็นจริง คล้ายความคิดเรื่องอนิจจังของพุทธศาสนา แต่เขากลับเชื่อเรื่องพระเจ้าทำนองเดียวกับเรื่องบุรุษของสางขยะ อันเป็นเหตุให้สสารหรือประกฤติเปลี่ยนแปลง

ความคิดของเอนิตโลรัส (342-270 BC) คล้ายกับลัทธิไวเศษิก มีความเชื่อเรื่องเหตุผลคล้ายพุทธศาสนา แต่มีความคิดทางจริยศาสตร์คล้ายพวกจารวาก. แต่เรื่องจุดหมายปลายทางของชีวิตกลับไปคล้ายกับโมกษะของฮินดู

พวกกรีกมีความคิดเรื่องวิวัฒนาการละเอียดกว่าพุทธปรัชญา แต่อธิบายขบวนการวิวัฒนาการสู้หลักปฏิจจสมุปบาทไม่ได้

ความคิดทางการแพทย์ของพวกกรีกก็คล้าย ๆ กับอายุรเวทของอินเดีย พวกกรีกจึงน่าจะได้ความคิดเหล่านี้ไปจากอินเดีย เพราะฮิปโปคราสติส (430 BC) ผู้วางรากฐานการแพทย์ของกรีกอยู่ที่เกาะ Cos ซึ่งติดกับฝั่งทะเลตุรกี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย