ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
ลักษณะทั่วไปของปรัชญาตะวันตก ปรัชญาตะวันออก
ลักษณะทั่วไป
ความแตกต่างระหว่างปรัชญาตะวันออก ตะวันตก
ลักษณะปรัชญาอินเดีย
ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาตะวันตก
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญากรีก
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยกลาง
เปรียบเทียบ ปรัชญาอินเดียกับปรัชญาสมัยใหม่
ปรัชญาเปรียบเทียบ
ศิลปะในวิธีการศึกษา
ปรัชญาเปรียบเทียบ
วิธีการในปรัชญาเปรียบเทียบ
- ศึกษาเชิงภาษาเปรียบเทียบ (Philological approach)
เป็นการหาความเข้าใจปรัชญาจากการศึกษาคำศัพท์ในระบบปรัชญาที่ต่างกัน แมกซ์
มีลเลอร์, บลูมฟิลด์ ใช้วิธีการนี้
- ศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ (Historical approach)
ศึกษาเกี่ยวข้องกันทางประวัติศาสตร์
อันจำทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความคิดต่างระบบและเห็นการเกิดขึ้นของความคิดใหม่
ๆ ในระบบนั้น ๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
- ศึกษาเชิงเปรียบเทียบโดยตรง (Comparative approach)
เป็นการเปรียบเทียบกันระหว่างระบบความต่างวัฒนธรรม
หรือระหว่างระบบความคิดในวัฒนธรรมเดียวกัน
จะทำให้เห็นความเหมือนระหว่างระบบความคิดตลอดไปจนถึงสาเหตุของความเหมือนความต่างเหล่านั้น
- ศึกษาเชิงบูรณาการ (Integrative approach) พิจารณาโลกทัศน์หรือชีวทัศน์ทุกแห่งทุกมุมเพื่อที่จะได้รู้ว่าระบบชีวิตนั้น ๆ มีปรัชญาอะไรอยู่เบื้องหลังหรือว่ามีปรัชญาอะไรเป็นรากฐาน น๊อตชร๊อป เชลตัน ใช้วธีนี้
- ศึกษาเชิงประเมินค่าตามระบบ (Formal evaluative approach)
เป็นการพิจารณาความสมเหตุสมผลของระบบ
ตลอดถึงการแก้ปัญหาชีวิตและความสำเร็จในการแก้ปัญหาของปรัชญาแต่ละระบบว่ามีมากน้อยเพียงไร
- ศึกษาเชิงปรากฏการณ์วิทยา (Phenomenological approach)
เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างนักคิดกับสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม
ระหว่างแนวคิดกับระบบระหว่างระบบกับลัทธิธรรมเนียม
ซึ่งจะทำให้เห็นขบวนกากรของพัฒนาการของปรัชญาระบบนั้น ๆ
- ศึกษาเชิงจิตวิทยา (Psychological approach)
เป็นการพิจารณาพฤติกรรมของปัจเจกชนที่มีต่อสังคม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเน้นในแง่ความผิดปกติของคน เช่น กรณีของนิตเช่ เป็นต้น
- ศึกษาเชิงสังคม-มานุษยวิทยา (Socio-Anthropological approach) เป็นการพิจารณาในแง่ที่ว่า สภาพสังคมได้มีบทบาทต่อระบบความคิดของนักคิดอย่างไรบ้าง ความคิดได้เปลี่ยนแปลงคล้อยตามสังคมไปอย่างไร