สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

หลักการของสหนัยนิยม

หลักการของสหนัยนิยมและปัญหาโดยทั่วไป
ปัญหาเรื่อง input จาก Audi
การแก้ปัญหาของ Banjour
การแก้ปัญหาของ Bonjour เกี่ยวกับความเป็น Directness
การแก้ปัญหาประเด็นคนบ้าที่คิดว่าตนเป็นพระเจ้าตาก
การแก้ปัญหาประเด็นความเชื่อทางศาสนา

การแก้ปัญหาประเด็นคนบ้าที่คิดว่าตนเป็นพระเจ้าตาก

ส่วนในกรณีของคนที่คิดว่าตนคือพระเจ้าตากนั้น Audi ก็จะบอกว่ากลุ่มความเชื่อของคนเสียสติคนนั้นมันครอบคลุ่มความเชื่อรวมถึงความเชื่อที่ว่าเขาคือพระเจ้าตากนั้น แต่ Bonjour ก็จะบอกว่าคนที่เสียสตินั้นผิดพลาดตรงที่มีความไม่สอดสอดคล้องกันโดยที่คนที่เสียสติคนนั้นไม่รู้ หรือ รู้แต่ไม่ยอมรับ ซึ่ง Bonjour เองได้กล่าวไว้ว่าตามหลักความคิดของสหนัยนิยมนั้นอาจจะทำให้บางคนสรุปเลยไปว่าคนบ้าหรือคนไม่ยอมรับความจริงนั้นสามารถนำหลักสหนัยนิยมไปสนับสนุนความคิดหรือความเชื่อที่เค้ามีอยู่โดยไม่อิงกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเลย โดย Bonjour เองก็ได้พิจารณาข้อบกพร่องดังกล่าว

ดังกรณีตัวอย่างของ Audi ที่ว่าพระเจ้าตากที่จริงสวรรคตไปแล้วนั้นเอง และคนบ้าก็คือคนที่ไม่เห็นสิ่งที่ควรจะเห็นนั้นก็คือความไม่สอดคล้องกันระหว่างความเชื่อ สำหรับ Bonjour ก็อาจจะตอบปัญหาดังกล่าวว่า ความไม่สอดคล้องนั้นแท้จริงแล้วมีอยู่ เพียงแต่สำหรับคนธรรมดานั้นจะรู้ได้ในขณะที่คนบ้านั้นบ้าเพราะเห็นความสอดคล้องในความไม่สอดคล้องนั้นเอง ซึ่งสำหรับคนที่จะไม่เห็นด้วยอย่าง Audi ก็จะบอกว่า คนบ้านั้นกลุ่มความเชื่อของเขานั้นสอดคล้องกัน ในขณะที่ Bonjour จะบอกว่าความเชื่อของเขามีบางอย่างที่ไม่สอดคล้องกัน เช่นความเชื่อกับความจริง ที่คนบ้าคนนั้นไม่ยอมรับความไม่สอดคล้องดังกล่าว ดังเช่นในกรณีภาพยนตร์เรื่อง Beautiful Mind ที่พระเอก John Nash มีโลกจิตนาการไปว่ามีเพื่อนคนหนึ่งซึ่งมีหลานสาว และตัว John Nash เองก็มีกลุ่มความเชื่ออยู่กลุ่มหนึ่งที่คอยมาสนับสนุนว่าโลกจินตนาการของเขาเป็นจริง แต่สิ่งที่เขาไม่รู้ก็คือมีบางอย่างในโลกแห่งความเป็นจริงและในโลกแห่งจิตนาการที่มันไม่สอดคล้องกัน แล้วพอมาในตอนกลางเรื่องนั้น John Nash กลับค้นพบว่ามีสิ่งหนึ่งที่ไม่สอดคล้องกับกลุ่มความเชื่ออื่นที่ใหญ่กว่านั้นก็คือ เด็กสาวที่เป็นหลานของเพื่อนตนในโลกแห่งจิตนาการนั้นไม่เคยโตขึ้นสักที ไม่ว่าจะกี่ปีผ่านมาแล้วก็ตาม ซึ่งในกรณีนี้ กลุ่มความเชื่อที่ John Nash มีที่ใหญ่กว่ากลุ่มความเชื่อของโลกจินตนาการนั้นคือ กลุ่มความเชื่อที่ว่าสิ่งมีชีวิตต้องเจริญเติบโตได้นั้นเอง ที่นี้พอตนค้นพบแล้วว่ามีบางอย่างไม่สอดคล้องกัน เขาก็เลยเริ่มที่จะยอมรับว่าที่แท้จริงนั้นเด็กคนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโลกจิตนาการนั้นเอง ส่วนในกรณีของ Audi คนที่คิดว่าตนเป็นพระเจ้าตากนั้น คือคนที่ไม่ยอมรับว่าในระบบความเชื่อของตนมีความไม่สอดคล้องกันอยู่ระหว่างโลกแห่งความเป็นจริงกับโลกแห่งความเป็นจริงนั้นเอง

 

และข้อแตกต่างระหว่างสองมุมมองนี้ก็ยังสามารถนำไปถกเถียงกันได้อีกไม่จบไม่สิ้นอีกในประเด็นของญาณวิทยาเรื่องที่ว่า coherentist theory of justification เป็นทฤษฏีเดียวกับ coherentist theory of truth จะต้องเป็นทฤษฏีเดียวกันหรือไม่ justification กับ truth แตกต่างกันอย่างไร และหากแตกต่างกัน และมันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร ตามที่ Audi ได้เสนอมาว่า

Now, however, we face what seems an artificial separation between what justifies a belief and what is plausibly taken to count towards it truth. If, because it implies truth, knowledge must in some way reflect experience or reason, should not justification, which seem in some way to count toward truth, also reflect them? Is it really reasonable to suppose that what justifies a belief may in some way count towards its truth?

Bonjour เองก็ให้ความสำคัญกับประเด็นนี้ด้วยเช่นกัน โดยการบอกว่าการ justify ความเชื่อก็เป็นเรื่องหนึ่งแต่ความจริงก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยการแยกว่า justification กับ knowledge นั้นต่างกัน (เช่นเดียวกับ Audi ที่อ้างว่า justification เป็นการสนับสนุนความรู้ แต่ไม่ใช่ความรู้ เพราะฉะนั้นคนที่ไม่มี justification นั้นสามารถให้ justification กับคนอื่นได้ แต่ในขณะที่คนที่ไม่มีความรู้ไม่สามารถให้ความรู้กับใครได้) โดยที่ Bonjour นั้นก็ได้ใช้ Model ของ Gettier ในการอธิบายความแตกต่างระหว่าง justification ได้ว่า justification นั้นสนับสนุนกันเองได้แบบลอยๆอยู่โดยที่ไม่เกี่ยวกับความเป็นจริงก็ได้ หรือแม้แต่ justification จะตรงกับความเป็นจริงแต่หากผู้มี justification นั้นไม่คำนึงถึง set ของjustification ที่สนับสนุนกันอยู่แบบลอยๆโดยที่ไม่เกี่ยวกับโลกแห่งความเป็นจริง กลุ่มของ justification นั้นก็ยังไม่ใช่ความรู้อยู่ดี

ที่นี้หาก coherent theory of justification กับ truth นั้นต่างกันเท่านี้ก็ถือว่า coherentism ไม่เหมาะสมที่จะถูกเรียกได้ว่าเป็นทฤษฏีทางญาณวิทยา เพราะทฤษฏีทางญาณวิทยาหากไม่ได้ชี้ไปที่ความรู้เกี่ยวกับ truth ก็ถือว่าไม่สมควรที่จะเรียกได้ว่าเป็นทฤษฏีที่ดีจริง ในที่นี้ข้าพเจ้าไม่ได้หมายความว่าทฤษฏีไหนผิดก็ไม่ใช่ญาณวิทยาแต่ ทฤษฏีไหนที่ถูกพิสูจน์ได้ว่า หลักการ justification ไม่ได้ชี้ไปที่ truth แล้วก็ไม่สมควรจะใช่เพื่อเป็นทฤษฏีการอธิบายความรู้ตามจุดประสงค์ของญาณวิทยาได้ เพราะจุดประสงค์ของทฤษฏีหรือหลักการต่างๆใน ญาณวิทยานั้นไม่ได้มีขึ้นมาเพื่ออธิบายหลักจิตวิทยาเกี่ยวกับความเชื่อหรือความรู้ เพราะนั้นจะเป็นหน้าที่ของวิชาจิตวิทยาไป ซึ่งหากมองย้อนกลับไปที่ประเด็นปัญหาของ Mad Man นั้นก็จะมีอะไรที่ญาณวิทยาอธิบายแล้วจะเกิดปัญหาจนสามารถเอาไปแย้งกับระบบความคิดแบบสหนัยนิยมได้ดังที่ Audi ทำไป แต่หากเปลี่ยนไปอธิบายประเด็น Mad Man ด้วยแนวคิดหรือหลักการทางจิตวิทยาเราก็อาจจะอธิบายได้ง่ายๆว่า หลักการสนับสนุนความเชื่อของคนบ้านั้นมีข้อบกพร่อง อยู่ตรงที่คนบ้านั้นไม่ยอมรับว่าจริงๆแล้วมันมีอะไรที่ไม่สอดคล้องกันในระบบความเชื่อของเขานั้นเอง

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย