ศาสนา ลัทธิ ความเชื่อ นิกาย พิธีกรรม >>

ฮวงจุ้ยและชัยภูมิ

» ภูมิศาสตร์-ศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องของทำเลและที่ตั้ง

» แนวคิดทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับทำเลและที่ตั้ง

» แนวคิดเชิงสิ่งแวดล้อมนิยมและแนวคิดเชิงกำหนดนิยม

» แนวคิดเชิงความเป็นไปได้และแนวคิดเชิงความน่าจะเป็น

» ความเชื่อมโยงของแนวคิดทางภูมิศาสตร์กับโบราณอุบายฮวงจุ้ยและชัยภูมิ

» สร้างบ้านแปงเมือง

» การสร้างเมืองหลวงและเมืองรองของบรรพกษัตริย์ไทย

» นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ อัจฉริยภาพในการเลือกชัยภูมิ

» ชัยภูมิศาสตร์

» การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของโบราณอุบาย

» ความเป็นมงคลและอัปมงคลในการสร้างบ้าน

» บทวิเคราะห์และสรุป

» การเปรียบเทียบแนวคิดทางภูมิศาสตร์

» บทสรุป

» เอกสารอ้างอิง

ความเป็นมงคลและอัปมงคลในการสร้างบ้าน

แท้จริงแล้ว คนไทยก็มีความเชื่อเรื่องความเป็นมงคลและอัปมงคลในการสร้างบ้านเช่นเดียวกัน เช่น ก่อนสร้างบ้านต้องมีการยกเสาเอก ถ้าเป็นบ้านที่ต้องมีบรรได ขั้นบรรไดต้องมีจำนวนเป็นเลขคี่ และถ้าจะให้อยู่ดีมีสุขต้องปลูกต้นขนุนไว้หลังบ้าน และต้นมะยมไว้หน้าบ้าน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจและน่าภูมิใจมากไปกว่านี้คือ ภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่ได้ใช้ประสบการณ์และการเรียนรู้จากธรรมชาติมาเป็นประโยชน์ในการสร้างที่พักอาศัย ถามคนทั่วไปว่าบ้านทรงไทยมีรูปร่างลักษณะเป็นอย่างไร? เชื่อว่าทุกคนตอบได้ว่า เป็นบ้านที่ยกเสาสูง สร้างด้วยไม้ หลังคามีความลาดเทมาก และมีชานบ้าน เป็นต้น แต่ถ้าถามต่อไปว่าทำไมบ้านทรงไทยจึงมีลักษณะเป็นเช่นที่กล่าว? เชื่อเช่นเดียวกันว่าหลายคนอาจตอบหรืออธิบายไม่ได้ เพราะคนไทยมักชอบเห็นในสิ่งที่ตนเห็นมากกว่าการทำความเข้าใจในสิ่งที่ตนเห็น

ลักษณะบ้านทรงไทยดังที่กล่าวข้างต้นคือ ความสามารถของบรรพบุรุษในการสร้างที่อยู่อาศัยให้กลมกลืนกับธรรมชาติจะได้พักอาศัยอย่างสุขสบาย ไม่ต้องกลัวภัยธรรมชาติที่รุนแรง รบกวน ความที่ประเทศไทยของเราอยู่ในเขตอากาศร้อนและฝนตกค่อนข้างชุกและในปริมาณที่ค่อนข้างมาก การสร้างบ้านที่มีเสาสูงนอกจากเป็นการป้องกันภัยน้ำท่วมแล้ว ยังเป็นที่พักผ่อนที่เย็นสบายในเวลากลางวัน เนื่องจากมีลมโชยมาแทนที่อากาศร้อนที่ลอยตัวสูงขึ้นตามหลักกายภาพ การที่หลังคาบ้านมีความลาดเทมากก็เพื่อให้เกิดการระบายน้ำฝนได้อย่างดี เมื่อยามมีฝนตกหนักและที่บ้านทรงไทยใช้ไม้เป็นวัสดุที่สำคัญก็เพราะประเทศของเราเคยเป็น “เมืองไม้” มาก่อนนั่นเอง

 

มิใช่เฉพาะการสร้างบ้านหรืออาคารที่พักอาศัยเท่านั้น ภูมิปัญญาของบรรพชนที่สะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้ธรรมชาติยังปรากฏให้เห็นได้ในรูปของศาสนสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศาลาการเปรียญและอุโบสถ อาคารทางศาสนาทั้ง 2 ลักษณะ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจหรือศาสนพิธีที่พุทธศาสนิกชนจำนวนหนึ่งไปรวมตัวกัน ความเป็นเมืองร้อนและเป็นเมืองฝนคือปัจจัยทางธรรมชาติที่มีอิทธิพลทำให้รูปลักษณ์ของศาลาการเปรียญ ซึ่งเป็นอาคารค่อนข้างใหญ่ เมื่อเทียบกับอาคารที่พักอาศัยมีความสูงโปร่งที่อากาศสามารถถ่ายเทได้จากทุกทิศทาง กรณีของอุโบสถมีลักษณะเป็นอาคารที่ผนังโดยรอบและมิดชิด เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป และสิ่งมีคุณค่าทางศาสนาอย่างอื่น ซึ่งโดยรูปลักษณ์ผู้เข้าร่วมศาสนกิจในอาคารเช่นนี้จะรู้สึกร้อนและอบอ้าว ตรงกันข้าม ผู้ที่มีโอกาสเข้าไปในอุโบสถจะมีความรู้สึกสงบและร่มเย็น (ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพลัง “ชี่” ซึ่งหมายถึง พลัง “ธรรมะ” ในตัวมนุษย์เอง) อันเนื่องมาจากความสามารถและความฉลาดของช่างโบราณที่สร้างอุโบสถให้มีหลังคาหลายชั้น ทำหน้าที่เป็นช่องระบายความร้อนของอากาศที่ลอยตัวสูงขึ้น อากาศที่เย็นกว่าจะเคลื่อนที่ผ่านช่องประตูและหน้าต่างของอุโบสถ สิ่งที่น่าเรียนรู้มากไปกว่านั้นคือการใช้วัสดุกายภาพประเภทหินอ่อนและหินแกรนิตเป็นพื้นหรือผนังอุโบสถ ยิ่งทำให้บรรยากาศภายในอุโบสถมีความสงบเย็นเพิ่มขึ้นอีก เพราะคุณสมบัติในการดูดซับความเย็นของวัสดุดังกล่าว

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย