ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการถ่ายภาพ
เทคนิคการทำภาพ
เป็นเทคนิคที่จะทำให้เกิดภาพที่น่าสนใจได้เช่นเดียวกัน มีวิธีการ
ดังนี้
1. การทำโฟโตแกรม (Photogram) เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ผู้สนใจ
ได้เรียนรู้กระบวนการทำภาพได้โดยมิต้องใช้ฟิล์มแต่สามารถทำภาพได้ โดยการวาง
วัตถุลงบนกระดาษอัดขยายภาพที่มีความเร็วต่อแสง เมื่อปล่อยแสงผ่านลงบนกระดาษ
ในห้องมืดแสงสีขาวจะทำปฏิกิริยากับกระดาษทำให้ส่วนที่ได้รับแสงมีสีคล้ำ แต่ส่วนใด
ที่วัตถุบังแสงอยู่ก็จะมีสีขาว
แต่ถ้าหากส่วนใดที่ถูกแสงบ้างเล็กน้อยก็จะมีลักษณะเป็น สีเทา
ดังนั้นสามารถจินตนาการมาทำเป็นภาพสีให้มีความแปลกตา และมีสีสรรสวย งามได้
2. การทำภาพกึ่งเนกาติฟกึ่งโฟสิติฟ (Solarization) เป็นเทคนิค
การทำภาพให้เกิดความสวยงามแปลกตาอีกชนิดหนึ่ง โดยการนำฟิล์มเนกาติฟที่ถ่าย
ภาพแล้วไปล้างในน้ำยาสร้างภาพใช้เวลา 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 ของเวลาทั้ง หมด
เสร็จแล้วนำฟิล์มไปล้างน้ำและนำไปถูกแสงอีกครั้งหนึ่ง อาจใช้หลอดไฟ ทังสเตน 25
วัตถ์ ห่างจากฟิล์ม 2-3 ฟุตหรืออาจติดหลอดไฟในโคมไฟนิรภัยก็ได้
แต่ไม่ใส่ฟิลเตอร์เพื่อให้ฟิล์มได้รับแสงสะท้อนที่ไม่จ้าเกินไป
จากนั้นนำฟิล์มไปล้างใน น้ำยาล้างภาพ
จนครบเวลาและกระบวนการของการล้างฟิล์มจะสังเกตเห็นว่า ภาพ
ตรงบริเวณที่สูงแสงมากผิดปกติแทนที่จะมีความดำเพิ่มมากขึ้น แต่มีความดำลดลง
แทนที่จะได้ภาพเนกาติฟแต่กลับได้ภาพกึ่งโฟสิติฟ เมื่อนำฟิล์มไปอัดขยายจะได้ภาพที่
แปลกตาสวยงามมาก
3. การขยายภาพหลายครั้ง (Photomontage Multiple Printing)
เป็นเทคนิคที่สามารถอัดขยายภาพจากฟิล์มเนกาติฟหลาย ๆ ภาพลงใน กระดาษอัดแผ่นเดียวกัน
เพื่อช่วยเพิ่มเติมส่วนที่หายไปหรือตัดบางส่วนออกแล้วแทนที่
ด้วยสิ่งที่น่าสนใจกว่าได้การอัดขยายนี้จะเป็นต้องกะทดลองวางแผน เพื่อแก้ไขในข้อ
บกพร่องต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นเมื่ออัดหลาย ๆ ภาพลงไปต้องต้องกะดูว่า ภาพอะไร
จะให้เกิดตรงใหน หรือเพิ่มเติมอะไรลงในแผ่นกระดาษนั้น วิธีทำคือขยายภาพจาก
เนกาติฟแรก และใช้กระดาษแข็งบังส่วนที่จะเกิดภาพจากเนกาติฟแผ่นต่อ ๆ ไป
เมื่อครบตามที่วางแผนเอาไว้ในกระดาษไปล้างตามกรรมวิธีก็จะได้ภาพตามต้องการ
4. การทำภาพสลักหิน (Bas - Relief) เป็นเทคนิคการอัดขยาย
ภาพจากเนกาติฟลงบันแผ่นฟิล์ม โดยทั่วไปนิยมใช้ฟิล์มที่มีความตัดกันของสีสูง เช่น
High Contrast Ortho Kodalith Film) แล้วนำฟิล์ม High Contrast ไป
ล้างในน้ำยาตามกรรมวิธีจะได้ภาพโฟสิติฟบนฟิล์ม High Contrast นั้น นำฟิล์มต้น ฉบับ
และ High Contrast ซ้อนเหลื่อมกันเล็กน้อย แล้วนำไปอัดขยายลงบนแผ่น กระดาษอัด
ก็จะได้ภาพที่มีลักษณะเหมือนการสลักหินอย่างไรก็ตามอาจนำฟิล์ม High Contrast
ไปอัดลงบนฟิล์ม High Contrastอีกแผ่นหนึ่งให้ได้ภาพเนกาติฟ แล้วนำภาพโฟสิติฟ
และเนกาติฟของฟิล์ม High Contrastซ้อนเหลื่อมกันนำไปอัด ขยายอีกก็ได้
ซึ่งจะได้ภาพสลักหินสวยงาม
5. การขยายภาพลอย (Vignetting) เป็นเทคนิคที่นำมาใช้เพื่อลบ
พื้นหลังของภาพ หรือทำให้ภาพเกิดการลอยเด่นอยู่บนกระดาษอัดสีขาว วิธีการทำ
ภาพลอยนี้ เหมือนการอัดขยายภาพปกติทุกประการ เพียงให้แสงลอดผ่าน ช่องรู รูปวงกลม
วงรี รูปไข่สี่เหลี่ยม หรือรูปต่าง ๆ ของกระดาษสีดำที่เจาะเป็นรู รูป ต่าง ๆ
ดังกล่าวนั้น ขอบ ๆ ของรูที่เจาะบนกระดาษควรตัดริมให้เป็นหยักเพื่อเกลี่ย
แสงให้จางลง บริเวณขอบในขณะที่ปล่อยแสงลงบนกระดาษอัดขยายควรเลื่อน
กระดาษดำขึ้นลงด้วยเพื่อไม่ให้เกิดเงาเข็งบนขอบของรูลักษณะต่าง ๆ นั้น เมื่อ
กระดาษถูกแสงจนครบเวลากำหนดแล้วนำไปล้างตามกรรมวิธี ก็จะได้ภาพลอยตาม ต้องการ
6. การเผาและการบังแสง (Burning-in and Dodging-out)
เป็นเทคนิคอย่างหนึ่งที่นิยมนำมาใช้เพื่อการปรับปรุงภาพให้มีความสวยงาม มีราย
ละเอียด มีสีสันที่กลมกลืนตามต้องการบริเวณพื้นที่ ที่มีสีขาวมากบนกระดาษอัดขยาย
เกิดความหนา หรือความดำของฟิล์มซึ่งแสงผ่านได้น้อย ดังนั้นเราสามารถเผาแสง
(Burning-in) เพิ่มเติมลงเฉพาะบริเวณนี้ได้ และในขณะเดียวกันบังเกิดแสง
(Dodging-out) บริเวณอื่น ๆ ที่ได้รับแสงพอแล้วออกไป การบังแสงบางส่วน
อาจใช้กระดาษแข็งตัดเป็นรูปวงกลมติดด้วยลวด เล็ก ๆ
เป็นที่จับหรืออาจใช้มือบังแสงเลยก็ได้ มีข้อควรรำลึกก็คือในขณะที่ปล่อย
แสงลงบนกระดาษอัดขยาย ต้องเคลื่อนวัตถุที่ใช้บังนั้นขึ้นลง
เพื่อเกลี่ยแสงไม่ให้เกิด เงาแข็งที่ขอบรอยต่อของการบังและการเผาแสง
ซึ่งจะทำให้ภาพไม่น่าดูได้ ส่วน การเผาแสงบางส่วน
อาจใช้กระดาษเจาะเป็นรูเพื่อให้แสงลอดรูนั้นไปบนกระดาษ
เฉพาะบริเวณที่ต้องการเท่านั้น
7. การทำภาพที่มีโทนของสีต่างกัน (Tone Seperation) เป็น
เทคนิคที่นำเอาฟิล์มที่มีโทนสีต่างกันมาขยายรวมกันจากเนกาติฟต้นฉบับเดียวกัน แต่
ให้แสงในการขยายแตกต่างแล้วอัดจากเนกาติฟเดียวกัน 3 ครั้งที่ให้แสงต่างกัน จะ
ได้ภาพโฟสิติฟที่โทนสีแตกต่างกัน 3 ชนิด อาจเป็น Normal, over และUnder
เสร็จแล้วนำภาพโฟสิติฟไปอัดลงบนแผ่นฟิล์มออร์โธโครเมติคทีละแผ่นอีกครั้งหนึ่งเพื่อ
ให้ได้ภาพเนกาติฟที่มีโทนสีต่างกัน 3 ชนิดเช่นเคย หลังจากนั้นนำเอาฟิล์มเนกาติฟ
ที่ได้ไปอัดลงบนกระดาษอัดทีละแผ่นให้ภาพทับเหลื่อมกันเล็กน้อย และนำกระดาษไป
ล้างตามกรรมวิธีจะได้ภาพที่มีโทนสีแตกต่างกันถึง 3 สี ตามต้องการ
» การเก็บข้อมูลทางมนุษย์ศาสตร์ และสังคมศาสตร์ด้วยภาพถ่าย
» ข้อเสนอแนะการบันทึกข้อมูลด้วยภาพถ่าย
» คุณลักษณะของภาพถ่ายที่ดี ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
» ส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการเก็บรักษากล้องถ่ายรูป
» การพิจารณาเลือกกล้องถ่ายรูปแบบเลนส์เดี่ยว
» ลักษณะของเลนส์ของกล้องถ่ายรูป
» การใช้และการระมัดระวังรักษาเลนส์
» ข้อพิจารณาในการเลือกซื้อฟิล์ม
» แฟลชอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้กับกล้องSLR
» ความสัมพันธ์ของชัตเตอร์กับขนาดรูรับแสง
» การใช้อุปกรณ์อื่นวัดแสงแทนเครื่องวัดแสง
» การเลือกองค์ประกอบพื้นฐานของการจัดภาพ
» เทคนิคพิเศษทางการถ่ายภาพและทำภาพ
» หลักการถ่ายภาพให้ได้ภาพสีที่ดี