ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์ บุคคลสำคัญ ประเทศและทวีป >>

หลักฐานทางประวัติศาสตร์

      หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่เป็นตัวหนังสือ มนุษย์ในแต่ละสังคมได้ทิ้งหลักฐานที่เป็นตัวหนังสือประเภทต่างๆ ไว้มากมาย บนแผ่นศิลา โลหะ ใบลาน กระดาษ หรือผ้าไหม หลักฐาน ลายลักษณ์ของไทย เช่น จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ หนังสือพิมพ์ วารสาร กฎหมาย จดหมาย เอกสารราชการ งานวรรณกรรม เละงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์

หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์ หมายถึง หลักฐานที่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่เป็นผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นและหลงเหลือตกทอดมาตามกาลเวลา หลักฐานประเภทนี้มีทั้งหลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์และหลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ ได้แก่

  • หลักฐานทางโบราณคดี ได้แก่ โบราณสถาน เช่น พระราชวัง วัด เจดีย์ กำแพงเมือง คูเมือง และ โบราณวัตถุ เช่น พระพุทธรูป เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับหินหรือเปลือกหอย เป็นต้น

  • หลักฐานทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม เช่น จิตกรรม ประติมากรรม ปราสาทหิน ปราสาทราชมณเฑียร เรือนไทย พระพุทธรูป เจดีย์ เป็นต้น

  • หลักฐานทางนาฏกรรมและดนตรี เช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงกล่อมเด็ก ละคร ดนตรี เป็นต้น

  • หลักฐานจากขนบธรรมเนียมประเพณีและคติความเชื่อของชนกลุ่มต่าง ๆ

  • หลักฐานจากคำบอกเล่า ที่ถ่ายทอดหรือเล่าสืบต่อกันมาและการสัมภาษณ์สอบถามจากบุคคลทั่วไป

  • หลักฐานประเภทโสตทัศน์ เช่น ภาพถ่าย ภาพถ่ายทางอากาศแผนที่ ภาพยนตร์

หลักฐานข้อมูลทางประวัติศาสตร์เป็นข้อมูลสำคัญที่นักประวัติศาสตร์สามารถนำมาใช้ในการสืบค้นเรื่องราวต่างๆ ในอดีต งานศึกษา ทางประวัติศาสตร์ จะพิจารณาจากเวลาที่เริ่มมีหลักฐาน ประเภท ลาย-ลักษณ์เป็นจุดแบ่ง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการศึกษาอดีตในยุคประวัติศาสตร์จะใช้เฉพาะหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์เท่านั้น การใช้หลักฐานอย่างกว้างขวางจะช่วยให้งานศึกษาประวัติศาสตร์มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น



สำหรับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยนั้น งานเขียนประวัติศาสตร์ไทยเมื่อแรกเริ่มนั้นจารึก ตำนาน พงศาวดาร ซึ่งมีลักษณะการบันทึกแบบบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของศาสนาและพระมหากษัตริย์จนถึงสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทย ได้รับแนวทางการศึกษาประวัติศาสตร์ แบบ ตะวันตก ที่ให้ความสำคัญในการตรวจสอบหลักฐาน และปล่อยให้หลักฐานบอกความหมายของตัวเอง เป็นพัฒนาการอีกระดับหนึ่งจากการบอกเล่าแบบพงศาวดาร แต่ในด้านเอกสาร หลักฐานยังเน้นที่การเปรียบเทียบพงศาวดารเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเมืองการปกครอง โดยเน้นความสำคัญของเมืองและศูนย์รวมอำนาจ

ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์ไทย ขยายขอบเขตจากประวัติศาสตร์การเมือง ไปศึกษา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ประวัติศาสตร์สังคม และประวัติศาสตร์ท้องถิ่นกันมากขึ้น เป็นความพยายามขยายการศึกษาทุกแง่ทุกมุมในพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต จึงมีการใช้หลักฐานใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์มาก่อน เช่น วรรณกรรม จิตกรรม ภาพถ่าย และคำบอกเล่า ทำให้ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับความเป็นอยู่และการทำมาหากินของประชาชนชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นได้ขยายประวัติศาสตร์ที่เคยมองแต่ราชธานีออกไปยังชนบทอย่างทั่วถึง โดยใช้หลักฐานใหม่ๆ เช่น ภาษาและ วรรณกรรมท้องถิ่น วัฒนธรรมพื้นเมือง เพลงพื้นบ้าน การใช้หลักฐานที่หลากหลายยิ่งขึ้นทำการศึกษาประวัติศาสตร์ไปเกี่ยวข้องกับศาสตร์สาขาอื่น ๆ มากขึ้นด้วย เช่น ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์โบราณคดีและธรณีวิทยา เป็นต้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย