สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>

เศรษฐศาสตร์กำลังคน

การมีงานทำ

  1. ช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาการว่างงานจะเกิดขึ้น ในการปฏิบัติการวัดการมีงานทำจะยุ่งยากตรงที่ การพยายามจำแนกประเภทของการมีงานทำ ส่วนผลกระทบของการว่างงานที่มีต่อประชาชนกลุ่มต่างๆ จะมีความแตกต่างกัน
  2. มูลเหตุเกี่ยวกับการว่างงานมักจะอธิบายด้วย 3 แนวคิดสำคัญดังนี้คือ การอธิบายการว่างงานด้วยปัจจัยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร พฤติกรรมของผู้ว่างงานและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
  3. การวิเคราะห์การว่างงานตามแนวคิดของคลาสสิก จะแตกต่างจากการวิเคราะห์การว่างงานตามแนวคิดของเคนส์ เมื่อมีแนวคิดในการวิเคราะห์ต่างกัน การเสนอกลยุทธ์การแก้ปัญหาการว่างงานจึงแตกต่างออกไปด้วย
  4. รูปแบบปัญหาการว่างงานที่เกิดในประเทศพัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างจากปัญหาการว่างงานที่เกิดในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งในประเทศกำลังพัฒนาเอง ปัญหาการว่างงานในเขตชนบมกับเขตเมืองจะมีรูปแบบและสาเหตุที่แตกต่างกันออกไป

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการมีงานทำ

  1. ภาวะเศรษฐกิจกับการมีงานทำนั้นมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน พบว่าเมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นายจ้างมักจะชะลอการจ้างงานออกไป ทำให้สังคมเผชิญกับปัญหาการว่างงาน
  2. ปัญหาการวัดภาวะการมีงานทำในปัจจุบัน อยู่ที่ความยุ่งยากในการจำแนกประชากรออกเป็นประเภทต่างๆ อย่างชัดเจนโดยเฉพาะในยามที่เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในประเทศอุตสาหกรรม นับตั้งแต่ ค.ศ. 1973 เป็นต้นมา ทำให้ประชากรจำนวนไม่น้อยตกอยู่ในสภาพคาบเกี่ยวกันระหว่างการมีงานทำ การหยุดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเนื่องจากความไม่พร้อมที่จะทำงาน และการว่างงาน
  3. ในภาวะปกติ ประชากรกลุ่มต่างๆ จะประสบกับภาวะการว่างงานอย่างทัดเทียมกัน แต่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ผลกระทบของการว่างงานต่อประชากรในกลุ่มต่างๆ จะมีความทัดเทียมกันยิ่งขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจกับการมีงานทำ

เพราะว่าเมื่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ นายจ้างจะชะลอการจ้างงานออกไป ทำให้อุปทานแรงงานมากกว่าอุปสงค์ต่อแรงงาน เกิดปัญหาการว่างตามมา

การวัดภาวะการมีงานทำ

สาเหตุสำคัญของปัญหาในการวัดภาวะการมีงานทำมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชากรจำนวนหนึ่งตกอยู่ในสภาพคาบเกี่ยวกัน ระหว่างการมีงานทำ การหยุดประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการว่างงาน

ผลกระทบและสาเหตุของการว่างงานในประชากรกลุ่มต่างๆ

เมื่อประชากรกลุ่มต่างๆ ถูกกระทบจากการว่างานอย่างไม่เท่าเทียมกัน การวัดความรุนแรงของปัญหานี้ในประชากรกลุ่มต่างๆ สามารถทำได้โดยการคำนวณเปรียบเทียบอัตราการว่างงานของแรงงานกลุ่มๆ หนึ่งต่ออัตราการว่างงานโดยเฉลี่ยของประชากรทั้งหมด ถ้าค่านี้สูงกว่า 1 แสดงว่า แรงงานในกลุ่มนั้นได้รับผลกระทบจากการว่างงานมากกว่าประชากรโดยเฉลี่ย และจะมีผลตรงข้าม ถ้าค่านี้น้อยกว่า 1

แนวคิดเกี่ยวกับการว่างงาน

  1. ปัญหาการเพิ่มขึ้นของอัตราการว่างงานในประเทศพัฒนาแล้วมีสาเหตุมาจากปัจจัยทางด้านการเปลี่ยนแปลงของประชากรและวัฒนธรรม แต่ที่สำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านตัวแปรที่กำหนดการจ้างงาน
  2. ปัญหาการว่างงานในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการที่คนงานลาออกจากงานโดยสมัครใจ และการจ้างให้ออกชั่วคราว
  3. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีโดยธรรมชาติแล้ว จะไม่ใช่ตัวสร้างหรือทำลายการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ

แนวคิดที่อธิบายการว่างงานจากการเปลี่ยนแปลงทางประชากร

การเปลี่ยนแปลงทางประชากรและวัฒนธรรม ทำให้มีการหลั่งไหลของประชากรในวัยแรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและสตรี เข้ามาสู่ตลาดแรงงานจำนวนมาก ในขณะที่การจ้างงานมิได้เพิ่มขึ้น ทำให้บุคคลจำนวนหนึ่งต้องกลายเป็นผู้ว่างาน

แนวคิดที่อธิบายการว่างงานจากพฤติกรรมของผู้ว่างงาน

แนวคิดที่อธิบายการว่างงานจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

การวิเคราะห์การว่างงาน

  1. การว่างงานตามแนวความคิดคลาสสิก เกิดขึ้นกรณีในตลาดแรงงานมีผู้เสนอขายแรงงานมากกว่าผู้ซื้อแรงงาน แต่ในตลาดสินค้ากลับมีการผลิตสินค้าออกมาน้อยกว่าอุปสงค์ต่อสินค้า ทำให้เกิดการว่างงานขึ้น การแก้ปัญหาการว่างงานจึงเน้นที่การใช้นโยบายภาษีอากร การลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อเพิ่มผลตอบแทนในการลงทุน ซึ่งจะนำมาสู่การลงทุนและการขยายการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ
  2. การว่างงานตามแนวคิดของเคนส์ เกิดจากการมีอุปทานส่วนเกินทั้งตลาดในตลาดแรงงานและตลาดสินค้า ทำให้ไม่มีการลงทุนเพื่อขยายกำลังการผลิตซึ่งจะส่งผลต่อการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาการว่างงานตามทัศนะนี้ จึงเป็นการกระตุ้นอุปสงค์รวมซึ่งผ่านการลงทุนโดยรัฐเพื่อส่งเสริมการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจ
  3. ในปัจจุบัน การว่างงานซึ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ล้วนมีสาเหตุมาจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจตั้งแต่ ค.ศ. 1973 ซึ่งเป็นผลของการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

 

การวิเคราะห์การว่างงานตามแนวคิดของคลาสสิกและแนวคิดตามแบบเคนส์

การว่างงานตามแนวคิดของคลาสสิก เกิดจาการมีทรัพยากรกำลังคนเกินกว่าระดับการจ้างงาน ขณะที่มีการผลิตสินค้าออกมาน้อยกว่าอุปสงค์ จึงเกิดปัญหาการว่างงาน แต่แนวคิดตามแบบเคนส์ (Keynesian) การว่างงานเกิดจากการมีอุปทานส่วนเกินในทั้งสองตลาด จึงมีนโยบายส่งเสริมการจ้างงานโดยการปรับอุปสงค์รวมให้สูงขึ้น

กลยุทธ์การแก้ปัญหาการว่างงาน

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1973 กับการมีงานทำ

สาเหตุการว่างงานอย่างรุนแรงในประเทศพัฒนาแล้ว เนื่องมาจากภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจนับตั้งแต่ ค.ศ. 1973 เป็นต้นมา และภายไต้วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจนี้ประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย ได้หันมาใช้นโยบายการปรับโครงสร้างทางการผลิต เพื่อสนับสนุนการแข่งขันในตลาดโลก จึงส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งมีลักษณะเป็นการทดแทนแรงงานด้วยเครื่องจักร จึงเกิดปัญหาการปลดคนงานออกอย่างกว้างขวาง

การว่างงานและการทำงานต่ำระดับในประเทศกำลังพัฒนา

  1. การว่างงานเปิดเผยเป็นปัญหาสำคัญของประเทศพัฒนาแล้ว แต่ในประเทศกำลังพัฒนานั้นปัญหาการว่างงานเปิดเผยกลับมีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ ปัญหาการทำงานต่ำระดับ ปัญหาการทำงานยาวนานแต่ได้รับค่าจ้างต่ำ และปัญหาการว่างงานตามฤดูกาล
  2. ปัญหาความยากจน การประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพิงธรรมชาติเป็นสำคัญ และการขาดนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบทแบบผสมผสานล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุของการทำงานต่ำระดับ และการว่างงานตามฤดูกาลในเขตชนบท
  3. นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจโดยเฉพาะการส่งเสริมการลงทุนต่างชาติ โดยการให้สิทธิประโยชน์ในรูปต่างๆ มักจะส่งเสริมให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เลือกใช้การผลิตแบบเน้นการใช้ทุน การจ้างงานจึงมีน้อย

การว่างงานและการทำงานต่ำระดับในเขตชนบท

ปัญหาความยากจน การเกษตรที่ต้องพึ่งธรรมชาติเป็นสำคัญ การขาดนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบทแบบผสมผสาน ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการทำงานต่ำระดับ และการว่างงานตาม ฤดูกาล

การว่างงานและการทำงานต่ำระดับในเขตเมือง

  1. เทคนิคการผลิตแบบเน้นการใช้เครื่องจักรทุ่นแรง หริเรียกว่าเทคนิคประหยัดแรงงาน จากนโยบายส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม ภาคเกษตรเป็นภาคที่มีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ แต่กลับดูดซับแรงงานได้มากกว่า
  2. การนำเข้าสินค้าทุนและสินค้ากลางในอัตราสูง ทำให้เกิดปัญหาการขาดดุลทางการค้า อันจะส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีลักษณะพึ่งพา และไม่มีผลดีต่อการจ้างงาน
  3. ความขาดแคลนแรงงานที่มีคุณภาพ และความชำนาญทางด้านการบริหาร ทำให้อุตสาหกรรมขนาดใหญ่เน้นการใช้ทุนเป็นหลัก จึงทำให้สัดส่วนของทุนต่อแรงงานอยู่ในระดับสูงและไม่ส่งเสริมการจ้างงาน

กำลังคนกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
หลักและแนวคิดเกี่ยวกับทุนมนุษย์
การลงทุนในทุนมนุษย์
กำลังคนกับการศึกษา
การฝึกอบรม
การลงทุนในสุขภาพอนามัย
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายกำลังคน
กำลังคนกับตลาดแรงงาน
กำลังแรงงานและการเข้าร่วมแรงงาน
ผลิตภาพของแรงงาน
การมีงานทำ
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนกำลังคน
เทคนิคการวางแผนกำลังคน
การวางแผนและนโยบายกำลังคนในประเทศไทย

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย