วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
เส้นทางวรรณกรรมเพื่อชีวิต
จาก พ.ศ.2492-ปัจจุบัน
กบฏสันติภาพ
วรรณกรรมเพื่อชีวิตช่วง พ.ศ.2495-2501
ยุคมืดทางปัญญา ปี 2501-2507
วรรณกรรมเพื่อชีวิตก่อน 14 ตุลา (พ.ศ.2508-2516)
ตื่นเถิดเสรีชน
หนังสือเล่มละบาท
วรรณกรรมเพื่อชีวิตระหว่าง 14 ตุลา 16-6 ตุลา 19
กวีประชาชน
หนังสือต้องห้าม
วรรณกรรมเพื่อชีวิตหลัง 20 ตุลาคม 2520
วรรณกรรมที่กล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาที่เป็นเรื่องสั้นและนวนิยาย
หนทางข้างหน้า
ตื่นเถิดเสรีชน
การเติบโตของวรรณกรรมเพื่อชีวิตก่อน 14 ตุลา
ได้รับอิทธิพลมาจากวรรณกรรมเพื่อชีวิตยุคแรก ทั้งรูปแบบ เนื้อหา แนวคิด
และวิธีการนำเสนอ อาจมีบางคนทดลองใช้กลวิธีใหม่ในการนำเสนอ
แต่ทุกคนมีจุดยืนว่าการสร้างสรรค์วรรณกรรมต้องเป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์สังคม
เนื่องจากข้อจำกัดหลายอย่าง
วรรณกรรมเพื่อชีวิตที่สร้างสรรค์โดยนักศึกษาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องสั้นและกวีนิพนธ์
ที่เด่นๆ มี ตั๋วเดินทาง ของประเสริฐ สว่างเกษม ความเงียบ ของ สุชาติ
สวัสดิ์ศรี ละคอนโรงเก่า ของนัน บางนรา ฉันจึงมาหาความหมาย ของวิทยากร เชียงกูล
คนบนต้นไม้ ของนิคม รายวา ถนนไปสู่ก้อนเมฆ ของธัญญา ผลอนันต์ เบิ่งฟ้าแนมดิน
ของศรีศักดิ์ นพรัตน์ เราจะฝ่าข้ามไป ของ วิสา คัญทัพ สงครามในหลุมศพ ของ
สุวัฒน์ ศรีเชื้อ ดอกไม้ที่หายไป ของสาคร ใต้สำนึก ของ วิรุณ ตั้งเจริญ
ภาพชิ้นสำคัญ ของ วรฤทธิ์ ฤทธาคนี เนื้อในกระดูก ของ แน่งน้อย พงษ์สามารถ
หนุ่มหน่ายคัมภีร์ โง่เง่าเต่าตุ่น เมดอินยูเอสเอ ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ
เรื่องสั้นใช้รูปแบบนิยายวิทยาศาสตร์ เช่น ตัวทาส ของอนุช อาภาภิรม
กรุงเทพฯ 1982 ของ อดุล เปรมบุญ วันหนึ่งของกรุงเทพฯ ของศิริชัย นฤมิตรเรขการ
จุลินทรีย์พลาสติก และ การเคลื่อนที่ของเหล็กหมายเลขหนึ่ง ของสุวัฒน์ ศรีเชื้อ
นอกจากนี้มีบทละคร เช่น ชั้นที่ 7 ของ สุชาติ สวัสดิ์ศรี
ฉันเพียงแต่อยากออกไปข้างนอก, งานเลี้ยง, นายอภัยมณี ของ วิทยากร เชียงกูล
นกที่บินข้ามฟ้า ของคำรณ คุณะดิลก
ด้านกวีนิพนธ์
กวีรุ่นใหม่ประสานบทบาทกวีนิพนธ์เข้ากับการต่อสู้ทางการเมือง
โดยเฉพาะบทกวีของยุทธพงษ์ ภูริสัมบรรณ (รวี โดมพระจันทร์), วิสา คัญทัพ, เสกสรรค์
ประเสริฐกุล บทกวี ตื่นเถิดเสรีชน ของรวี โดมพระจันทร์
ตื่นเถิดเสรีชน อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน
ดาบหอกกระบอกปืน หรือทนคลื่นกระแสเรา ฯลฯ
บทกวีนี้กลายเป็นบทกวีแห่งการสู้รบของประชาชนในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516
และถูกขับขานทุกครั้งในการชุมนุมทางการเมือง
อีกคนหนึ่งคือ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ อดีตนักกลอนกลุ่มสายลม-แสงแดด
เริ่มหันมาเขียนบทกวีสะท้อนสังคมอย่างจริงจังเริ่มจาก เพลงขลุ่ยกลับมาหากอไผ่
เพลงเปลญวน ทางเดินแห่งหอยทาก
ทางด้านนักประพันธ์อาชีพ มีนิยายหลายเล่มกล่าวถึงสังคมและการเมือง ที่เด่นๆ
มี เขาชื่อกานต์ ของสุวรรณี สุคนธา และ ความรักสีเพลิง ของ สีฟ้า (ม.ล.ศรีฟ้า
มหาวรรณ) ที่กล่าวถึงทัศนะของนักศึกษาต่ออำนาจเผด็จการขณะนั้น
วรรณกรรมเพื่อชีวิตเริ่มทำหน้าที่ปลุกเร้าผู้คนให้ลุกขึ้นสู้กับเผด็จการ