วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>
เส้นทางวรรณกรรมเพื่อชีวิต
จุดเริ่มของ วรรณกรรมเพื่อชีวิต
น่าจะมาจากแนวคิดเรื่อง ศิลปะเพื่อชีวิต ซึ่งนำเสนอโดย อัศนี พลจันทร
(อินทรายุทธ, นายผี) และอุดม สีสุวรรณ (พ.เมืองชมพู, บรรจง บรรเจิดศิลป์)
ทั้งสองเสนอแนวคิดเรื่องนี้ในบทความที่ตีพิมพ์ในนิตยสารชั้นนำในขณะนั้น
อินทรายุทธ เสนอความคิดในอักษรสาส์นรายเดือน ในปิตุภูมิและมหาชน
เขาวิจารณ์วรรณคดีไทยโบราณหลายเรื่อง โดยยึดหลักการว่ากวีต้องอยู่เคียงข้างประชาชน
และวรรณคดีต้องนำเสนอความเป็นจริงแห่งชีวิต และสังคม ส่วน พ.เมืองชมพู
ยืนยันโดยหนักแน่นว่า ศิลปะเพื่อศิลปะ ไม่มี และก็ไม่อาจมี มีแต่
ศิลปะเพื่อชีวิต เพราะศิลปะกำเนิดจากชีวิตและเกี่ยวพันกับชีวิต
ชมรมนักประพันธ์ ก่อตั้งขึ้นในเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2493
โดยการริเริ่มของมาลัย ชูพินิจ (แม่อนงค์)
ชมรมนี้จัดประชุมอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ่อยครั้ง
ด้วยหัวข้อที่เกี่ยวกับการประพันธ์ ครั้งหนึ่งมีการเสนอคำว่า ศิลปะเพื่อชีวิต
เข้าสู่วงอภิปราย
นักเขียนเพื่อชีวิตในยุคแรกหลายคนได้แสดงจุดยืนและอุดมการณ์ในการสร้างสรรค์วรรณกรรม
เช่น อิศรา อมันตกุล ประกาศว่า ข้าพเจ้าจะไม่ให้ยาพิษแก่ประชาชน ศรีบูรพา
ตั้งคำถามว่า จะใช้ศิลปะเพื่อให้เป็นคุณกับคนส่วนมากหรือเป็นคุณกับคนส่วนน้อย
และกล่าวว่า
ทำอย่างไรจึงจะทำให้ศิลปะนั้นเป็นประโยชน์แก่ชีวิตมนุษย์อย่างไพศาลที่สุดที่จะเป็นได้
การอภิปรายของ ชมรมนักประพันธ์
น่าจะจุดประกายความคิดสร้างจิตสำนึกแก่นักประพันธ์รุ่นใหม่ในยุคนั้นไม่น้อย
ในช่วงนี้มีวรรณกรรมเพื่อชีวิตเกิดขึ้นมากมาย ประเภทนวนิยาย,
เรื่องสั้น, กวีนิพนธ์ ที่เด่นๆ มี กุหลาบ สายประดิษฐ์ (ศรีบูรพา) เขียน
นักบุญจากชานตัน ขอแรงหน่อยเถอะ เรื่องสั้น จนกว่าเราจะพบกันอีก นวนิยาย, อุดม
อุดาการ (อ.อุดาการ) เขียน บนผืนแผ่นดินไทย เรื่องสั้น, อัศนี พลจันทร (นายผี)
เขียน อีศาน กวีนิพนธ์, อิศรา อมันตกุล เขียน เขาตะโกนหานายกรัฐมนตรี กวีนิพนธ์,
เสนีย์ เสาวพงศ์ เขียน ความรักของวัลยา นวนิยาย, ศรีรัตน์ สถาปนวัฒน์ เขียน
แผ่นดินนี้ของใคร นวนิยาย, ประคิณ ชุมสาย ณ อยุธยา (อุชเชนี) เขียน บทกวีใน
ขอบฟ้าขลิบทอง และ ดาวผ่องนภาดิน กวีนิพนธ์ นอกจากนี้ยังมีกวีนิพนธ์ของเปลื้อง
วรรณศรี และทวีป วรดิลก (ทวีปวร)
หนังสือสารคดีมี เดชา รัตนโยธิน เขียน วิวัฒนาการทางสังคม อุดม สีสุวรรณ
(อรัญญ์ พรหมชมภู) เขียน ไทยกึ่งเมืองขึ้น, อุดม สีสุวรรณ (บรรจง บรรเจิดศิลป์)
เขียน ชีวิตกับความใฝ่ฝัน, สุภา สิริมานนท์ เขียน แคปิตะลิสม์
นอกจากนี้ยังมี รวมปาฐกถาภาคฤดูร้อน พ.ศ.2495 ซึ่งมีบทความเด่นๆ เช่น
ฐานะของสตรีตามที่เป็นมาในประวัติศาสตร์ ของกุหลาบ สายประดิษฐ์ และ
การประพันธ์และสังคม ของเสนีย์ เสาวพงศ์
ช่วงนี้คือช่วงผลิบานของวรรณกรรมเพื่อชีวิตยุคแรก
กบฏสันติภาพ
วรรณกรรมเพื่อชีวิตช่วง พ.ศ.2495-2501
ยุคมืดทางปัญญา ปี 2501-2507
วรรณกรรมเพื่อชีวิตก่อน 14 ตุลา (พ.ศ.2508-2516)
ตื่นเถิดเสรีชน
หนังสือเล่มละบาท
วรรณกรรมเพื่อชีวิตระหว่าง 14 ตุลา 16-6 ตุลา 19
กวีประชาชน
หนังสือต้องห้าม
วรรณกรรมเพื่อชีวิตหลัง 20 ตุลาคม 2520
วรรณกรรมที่กล่าวถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาที่เป็นเรื่องสั้นและนวนิยาย
หนทางข้างหน้า
ที่มา :
คัดจากหนังสือ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาคม 2516 จากข้อมูลของฝ่ายนิทรรศการ 25 ปี 14
ตุลา ในชื่อเดิมว่า 25 ปี 14 ตุลา มองผ่านวรรณกรรมเพื่อชีวิต จัดพิมพ์โดย
สำนักพิมพ์สายธาร, ตุลาคม 2541.