วรรณกรรม สุภาษิต ข้อคิด คำคม สำนวน โวหาร งานเขียน >>

ศรีปราชญ์ คือ กวีผู้แต่ง
“ทวาทศมาส”

หลักฐานในโคลงท้ายบทของทวาทศมาส
ลักษณะรูปแบบการใช้คำประพันธ์
การกล่าวรำพึงรำพันพาดพิงถึงหญิงคนเดียวกัน
บรรณานุกรม

ลักษณะรูปแบบการใช้คำประพันธ์

ศรีปราชญ์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการใช้คำประพันธ์ ที่ปรากฏชัดเจน คือ นิยมใช้คำที่พูดถึงในบาทที่ 3 แล้วนำมากล่าวย้ำอีกครั้งหนึ่งในบาทที่ 4 ซึ่งเป็นบาทสุดท้าย และในวรรคที่สองของบาทที่ 4 นิยมซ้ำคำหรือย้ำคำ คือกล่าวคำเดียวกันสองครั้งโดยมีคำอื่นมาคั่น ดังตัวอย่างต่อไปนี้ :-

รยมรักษ์ใดที่อ้าง เอวสมร
กามลนนลุงลานแด เดือดไหม้
เยียมาเทพ สาคร ครวญสวาท
เสียง สาคร ร้องไห้ ส่ง สยง สุด สยง
(กำศรวลศรีปราชญ์)

ฤดูเดือนเชฐฟ้า ครรชิต
สายพรุณรองไร เรื่อยฟ้า
ไพศาจ ร่ำแรม นิทร นงโพธ ดยวแม่
แรม ร่ำ แรม โดยหน้า ร่วง โรย แรง โรย
(ทวาทศมาส)


การเล่นคำ และการล้อคำ

 

เป็นเอกลักษณ์เฉพาะอีกอย่างหนึ่ง ที่ปรากฏในงานของยอดกวีศรีปราชญ์ การเล่นคำและล้อคำที่ว่านี้ หมายถึง การนำเอาคำใดคำหนึ่งอาจจะเป็นชื่อบุคคล สถานที่ หรือสิ่งของที่ได้กล่าวแล้วในบาทต้น ๆ แล้วนำเอาคำนั้นมากล่าวซ้ำอีกในบาทต่อมา เช่น:-

ขอม เพรงบังเหตุเต้น ตัดหวาย
หวาย เท่าแทงตน ขอม ตอกต้อง
ขอม ถือทอดตนตาย ดด่าว
ห้ยมกว่าเพรงใดพร้อง ที่น้นน หวาย ยงง
(กำศรวลศรีปราชญ์)

มฤคจรดมาเต้นพี่ นึกโคม สฤา
กล เมื่อ กล กาม กล ตื่นต้อน
กล นุชแนบแนมโจรม จรดราค
กล เมื่อเจ็บรยมข้อน ขอดแสดง
(ทวาทศมาส)


วิธีการล้อและเล่นคำทำนองนี้ กวีในชั้นหลังอย่างนายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) และสุนทรภู่ ก็นิยมนำมาใช้ ทำให้งานกวีนิพนธ์มีความไพเราะ สละสลวย และงดงามในทางภาษา ถือว่าเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการกวี เป็นการเพิ่มคุณค่าและจุดเด่นของงาน ประพันธ์ ร้อยกรองให้สูงส่งยิ่งขึ้น

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย