วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา >>
หลักการเบื้องต้นของการเรียงลำดับชั้นหิน
การเกิดซากดึกดำบรรพ์
ตารางธรณีกาล (Geologic time scale)
ยุคแคมเบรียน
ยุคออร์โดวิเชียน
ยุคไซลูเรียน
ยุคดีโวเนียน
ยุคคาร์บอนิเฟอรัส
ยุคเพอร์เมียน
ยุคไทรแอสสิก
ยุคจูแรสซิก
ยุคครีเทเซียส
ยุคเทอเธียรี
ยุคนีโอจีน
ยุคควอเทอร์นารี
ยุคแคมเบรียน
ชื่อยุคมาจากคำว่า แคมเบรีย (Cambria) ซึ่งเป็นชื่อโรมันของแคว้นเวลส์ (Wales) มีช่วงเวลายาวประมาณ 4 ล้านปี (จาก 454 ถึง 505 ล้านปีมาแล้ว) ในยุคนี้ทะเลน้ำตื้นได้ค่อยๆ รุกล้ำเข้าไปในผืนแผ่นดินส่วนใหญ่ หินที่พบเป็นพวกหินทราย หินดินดาน หินชนวนและหินปูน ยุคแคมเบรียนเป็นยุคที่พบซากดึกดำบรรพ์ที่รักษาสภาพไว้ดี ประกอบด้วยทั้งพืชและสัตว์ พืชเป็นพวกสาหร่ายทะเล แต่มักไม่เหลือร่องรอยไว้ในหิน ส่วนสัตว์พบมากมายหลายพวกเนื่องจากมีเปลือกหรือฝาหุ้มที่พบมากเป็นพวกไทรโลไบต์ มีมากกว่า 1,000 ชนิด แกรพโทไลท์มีเฉพาะพวกเป็นร่างแห (Dictyonema) หอยตะเกียงมีมากพอควร ส่วนใหญ่เป็นพวก horny inarticulate พวกหอยมีน้อยเป็นพวกหอยโข่งทะเล และหอยสองฝา
ไทร์โลไบท์ชนิด Nevadella
ไทร์โลไบท์ชนิด Cambropallas