ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญากรีกสมัยรุ่งเรือง

ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม

โสคราตีส

โสคราตีสเป็นบุคคลที่อุทิศชีวิตเพื่อการแสวงหาความรู้ทางปรัชญา นิยมการอภิปรายสนทนาประเด็นปัญหาทางปรัชญาและในที่สุดต้องยอมสละชีวิตเพื่อยืนยันอุดมการณ์ทางปรัชญาของตน ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและปรัชญาของโสคราตีสตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันก็เพราะบทสนทนาที่พลาโต้ได้เขียนเอาไว้

ประวัติ

โสคาตีส (Socrates พ.ศ.73-144) เกิดที่กรุงเอเธนส์ บิดาชื่อโวโฟรนิสคุส เป็นช่างแกะสลัก มารดาชื่อเฟนารีเตเป็นหมอตำแย โสคราตีสเรียนวิชาแก่สลักจากบิดาและประกอบอาชีพเจริญรอยตามบิดาอยู่ไม่นานก็เลิกทำ ต่อมาเมื่อเอเธนส์ประกาศสงครามชิงความเป็นใหญ่กับสปาร์ตา โสคราตีสสมัครเป็นทหารไปรบในกองทัพเอเธนส์ถึง 3 ครั้ง ในการออกรบครั้งแรกที่โปติเดอา โสคราติสได้ช่วยชีวิตอัสซิเบียเดสเอาไว้

โสคราตีสอายุได้ 50 ปี ได้แต่งานกับซานธิปปี มีบุตรด้วยกัน 3 คน ภรรยาของท่านเป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าปากร้าย โสคราตีสไม่ได้ประกอบอาชีพอะไร ยิ่งแก่ตัวลงท่าก็ยิ่งจน งานประจำของท่านคือออกไปพบปะประชาชน ทุกๆ เช้าโสคราตีสจะออกไปตามท้องตลาดหรือย่านชุมชน แล้วตั้งวสนทนาขึ้นที่นั่น ท่านสนทนากับคนทุกประเภทในทุกเรื่อง ในการสนทนาแต่ละครั้ง โสคราตีสพูดเป็นพระเอกอยู่ตลอดเวลา ท่านเชี่ยวชาญในการตอนคู่สนทนาไปจนมุมจนคำพูด เทคนิคการสนทนาของท่านมีชื่อว่า “วิธีการของโสคราตีส” โสคราตีสจึงเป็นนักพูดขวัญใจของเด็กหนุ่มชาวเอเธนส์ หลายคนฝากตัวเป็นศิษย์ของโสคราตีส ซึ่งท่านก็ถ่ายทอดความรู้ให้โดยไม่เรียกเก็บค่าเล่าเรียนแต่อย่างใด

บั้นปลายชีวิต โสคราตีสพบกับความยุงยาก สาเหตุสำคัญนั้นเนื่องมาจาก ภายหลังที่รัฐบาลทรราชถูกโค่นล้ม รัฐบาลประชาธิปไตยกลับคืนสู่อำนาจโดยความเห็นชอบของสปาร์ตา ผู้มีอำนาจในรัฐบาลชุดใหม่ไม่อาจปฏิบัติการล้างแค้นเอากับคณะสามสิบทรราชโดยตรง ดังนั้นเป้าแห่งความประสงค์ร้ายจึงเบนไปที่กลุ่มบุคคลผู้เคยสนับสนุนคณะทรราช หรือแสดงตัวเป็นปฏิปักษ์กับประชาธิปไตยเนื่องจากโสคราตีสคัดค้านประชาธิปไตยอันไร้สติของเอเธนส์ ประกอบกับโสคราตีสเองได้สร้างศัตรูไว้มากมาย เหตุนี้เองโสคราตีสจึงต้องรับเคราะห์จากการปฏิบัติการจองเวรของนักการเมือง

นักการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยชื่อนีตุส นักกวีชื่อเมเลตุส และนักพูดชื่อไลคอน ได้ร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องโสคราตีสด้วยข้อกล่าวหาว่า โสคราตีสไม่นับถือเทพเจ้าประจำชาติ โสคราตีสสร้างเทพเจ้าองค์ใหม่ขึ้นแทน และโสคราตีสมอมเมาจิตใจเยาวชน ศาลของเอเธนส์ในยุคนั้นเรียกว่า “ศาลประชาชน” เพราะมีผู้พิพากษาถึง 500 คน การตัดสินใช้การลงคะแนนเสียงจากผู้พิพากษา คะแนนเสียงข้างมากเป็นฝ่ายชนะ โจทก์และจำเลยจะต้องพยายามสุดเหวี่ยงในการพูดโน้นำจิตของคณะผู้พิพากษา โจทก์และจำเลยจะต้องพูดสุดเวี่ยงในการโน้มนำจิตใจของคณะผู้พิพากษา โจทก์และจำเลยจะต้องพูดเอง

สุดท้ายโสคราตีสต้องแพ้คดีจึงต้องถูกโทษประหาร ด้วยการดื่มยาพิษ

ปรัชญาของโสคราตีส

ปรัชญาของโสคราตีสเกิดขึ้นมาก็เพื่อหักล้างคำสอนของโซฟิสต์โดยตรง ความคล้ายคลึงกันประการเดียวระหว่างโสคราตีสกับโซฟิสต์ก็คือ ทั้งสองฝ่ายไม่สนใจปรัชญาธรรมชาติที่แพร่หลายอยู่ในสมัยเริ่มต้นของปรัชญากรีก

โสคราตีสมีทัศนะว่าเหตุผลเป็นเครื่องแสวงหาความรู้ที่ช่วยให้คนเราค้นพบความจริงแบบปรนัยหรือมโนภาพของสิ่งทั่งหลาย

ศัทพ์ที่ใช้ในปรัชญาของโสคราตีสที่ควรรู้คือ สัญชาน(Perception) ได้แก่การรับรู้ที่เกิดจากกรกระทบระหว่างประสาทสัมสัมผัส (Senses) ทั้งห้า สัญชานจึงเป็นความรู้ระดับผัสสะ ความรู้ระดับสัญชานจึงเป็นการรู้จักสิ่งเฉพาะ จินตภาพ(Image)คือภาพของสิ่งเฉพาะที่ปรากฎในใจ มโนภาพ(Concept) คือความรู้จักสิ่งสากล

โซฟิสต์ยอมรับเฉพาะสัญชานเท่านั้นว่าเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ ความรู้ของโซฟิสต์เป็นความรู้จักสิ่งเฉพาะในทฤษฎีนี้ความจริงสากลจึงไม่มี โซฟิสต์ ความรู้เป็นเพียงทัศนะอัตนัย

ทฤษฎีความรู้ของโสคราตีส

ถือว่าเหตุผลเป็นเครื่องมือแสวงหาความรู้ ในปรัชญาของโสคราตีส เหตุผลช่วยให้ค้นพบมโนภาพ ความรู้ทุกอย่างจึงเป็นความรู้ที่ได้มาจากมโนภาพ มโนภาพคือความรู้สากล จะค้นพบมโนภาพได้ก็โดยอาศัยการสร้างคำจำกัดความ(Definition) เพราะมโนภาพหมายถึงสิ่งเดียวกันกับคำจำกัดความ

ปรัชญาของโสคราตีส ความรู้คือการรู้มโนภาพของสิ่งทั้งหลาย ค้นพบมโนภาพของสิ่งต่างๆ ได้โดยอาศัยกรรมวิธีของการสร้างคำจำกัดความ โสคราตีสเชื่อว่าทุกคนมีมโนภาพเกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายอยู่แล้ว ท่านไม่ได้ยัดเยียดความรู้ใหม่แก่คนอื่น แต่ท่านช่วยคู่สนทนาให้ค้นพบมโนภาพที่ตนมีอยู่แล้ว งานของท่านจึงคล้ายกับอาชีพของหมอตำแย ท่านเรียกงานของท่านว่า “การผดุงครรภ์ทางปัญญา” เทคนิคการผดุงครรภ์ของท่านมีชื่อเรียกว่า “วิธีการของโสคราตีส”

 

วิธีการของโสคราตีส

ศิลปะการสนทนาที่โสคราตีสใช้ประคับประคองการสนทนาให้ดำเนินไปสู่คำตอบของปัญหาที่กำลังอภิปราย โดยทั่วไปเรียกว่า “วิพาษวิธี(Dialectic)” ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 5 ประการ คือ

  1. สังสัย (Sceptical) ไปถามผู้ที่รู้ในเรื่องนั้นและถามข้อสงสัยในเรื่องนั้นกับผู้ที่รู้
  2. สนทนา (Conversation) เพื่อหาคำจำกัดความในการสนทนาหาประเด็นหลักของการสนทนาในเรื่องนั้น
  3. หาคำจำกัดความ(Defintionl) หาคำจำกัดความที่คิดว่าถูกต้องที่สุดเพื่อจะหาสิ่งที่เป็นสากลหรือเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
  4. อุปนัย(Inductive) การสร้างคำจำกัดความจะเริ่มจากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งสากลต่างๆ ในสังคม เพื่อมาสร้างเป็นคำนิยาม
  5. นิรนัย(Deductuve) คือ การสรุปจากสิ่งสากลทั่วไปที่คนยอมรับไปสู่สิ่งเฉพาะ

จริยศาสตร์

คนที่มีความรู้ทุกคนจะเป็นคนประพฤติดี คนประพฤติดีเป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออก โสคราตีสสกล่าวว่า “ความรู้คือคุณธรรม” (Knowledge is Virtue) นั่นคือ คนที่รู้ผิดชอบชั่วดีย่อมจะทำความดี เป็นไปไม่ได้ที่คนที่รู้ว่าความดีคืออะไรแล้วยังฝืนทำความชั่ว ส่วนคนทำความชั่วก็เพราะขาดความรู้ผิดชอบชั่วดี เหตุนั้น โสคราตีสจึงกล่าวว่า “ไม่มีใครทำผิดโดยจงใจ”

* เหตุที่ทำให้โสคราตีสต้องถูกประหารชีวิตเพราะความเข้าใจผิดที่คิดว่าโสคราตีสเป็นกลุ่มนักคิดของพวกโซฟิส แต่แท้ที่จริงโสคราตีสไม่ได้เป็นกลุ่มโซฟิส ข้อแตกต่างที่ทำให้เห็นว่าโสคราตีสไม่ใช่กลุ่มโซฟิส มีดังนี้

  1. โสคราตีสไม่ได้เก็บค่าเล่าเรียนกับผู้ที่มาเรียนอย่างกลุ่มโซฟิส
  2. ความคิดเห็นเรื่องทฤษฎีความรู้ที่ต่างกัน โซฟิสสัญชานเท่านั้นเป็นบ่อเกิดของความรู้ โสคราตีสเห็นว่าความรู้มาจากการใช้เหตุผล
  3. โสคราตีสไม่ได้เป็นอาจารย์ที่เร่ร่อนไปสอนตามสถานที่ต่างๆ

โปรแทกอรัส (Protagoras พ.ศ.63-133)
โสคราตีส
พลาโต้ (Plato พ.ศ.116-196)
อาริสโตเติล (Aristotle)

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย