ศิลปะ หัตถกรรม สถาปัตยกรรม ประติมากรรม สันทนาการ >>
ประเภทของโบราณสถาน
หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
อนุสัญญามรดกโลก
แหล่งมรดกทางธรรมชาติ
แหล่งมรดกโลกของไทย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคำว่า โบราณสถาน
ประเภทของโบราณสถาน
การแบ่งแยกประเภทของโบราณสถานอาจกระทำได้ 2 วิธี โดยแบ่งแยกจากหลักการที่ใช้ในการพิจารณาซึ่งได้แก่ หลักกรรมสิทธิ์ และหลักการขึ้นทะเบียน หากใช้หลักกรรมสิทธิ์ในการพิจารณาก็จะแบ่งประเภทของโบราณสถานได้เป็น
- โบราณสถานที่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
- โบราณสถานที่ไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย
แต่ถ้าใช้หลักการขึ้นทะเบียนในการพิจารณา โบราณสถานก็จะถูกแบ่งออกเป็นสองประเภทเช่นเดียวกัน คือ
- โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียน
- โบราณสถานที่มิได้ขึ้นทะเบียน
- การขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
การขึ้นทะเบียนโบราณสถานเป็นหลักการที่ปรากฏมานานตั้งแต่สมัย
ที่ใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ
และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ. 2477
ก็มีหลักการขึ้นทะเบียนโบราณสถานนี้อยู่แล้วแต่กฎหมายมิได้ใช้คำว่า
การขึ้นทะเบียน เช่นในปัจจุบันแต่ใช้คำว่า จัดทำบัญชี ดังจะเห็นได้จากมาตรา 6
ซึ่งบัญญัติว่า
มาตรา 6
ให้อธิบดีจัดทำบัญชีบรรดาโบราณสถานทั้งหลายที่มีอยู่ในประเทศสยามขึ้นไว้
ไม่ว่าจะเป็นโบราณสถานที่มีเจ้าของเป็นของเอกชนคนใดหรือไม่มีเจ้าของ
หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน รวมทั้งโบสถ์ วัดวาอาราม
และสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นอันเกี่ยวแก่ศาสนา บัญชีนั้นบุคคลใดๆ
ย่อมตรวจดูและขอคัดสำเนาได้
หรือขอรับสำเนาบัญชีหรือย่อรายการอันรับรองว่าถูกต้องได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมตามที่อธิบดี จะกำหนดไว้ แต่ไม่เกินห้าบาท
ในกฎหมายฉบับปัจจุบัน คำว่า จัดทำบัญชี
ก็ยังคงหลงเหลือให้เห็นกันอยู่บ้าง ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8
แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ.
2504 ว่า
มาตรา 8 บรรดาโบราณสถานซึ่งอธิบดีกรมศิลปากรได้จัดทำบัญชี
และประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุ
และการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ให้ถือว่าเป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วตามพระราชบัญญัตินี้ด้วย