สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ การเมือง เศรษฐศาสตร์ >>
แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
โรเบิร์ท มัลทัส เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจปัญหาประชากร ซึ่งมีอัตราการเพิ่มมากกว่าอาหารที่ผลิตได้และทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ของเขาได้ชี้ให้เห็นว่า ระบบเศรษฐกิจจะมีภาวะการล้นตลาด
เดวิด ริคาร์โด เป็นผู้ที่เห็นว่า การกระจายรายได้ เป็นปัญหาหลักของระบบเศรษฐกิจ เมื่อเศรษฐกิจเติบโตจะมีความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ของคน 2 กลุ่มในสังคม คือนายทุนและเจ้าของที่ดิน
มิลล์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สนใจปัญหาด้านอื่ๆ ควบคู่ไปกับปัญหาทางเศรษฐกิจ และพยายามที่จะให้รัฐบาลเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกรณีที่การแข่งขันอาจจะนำไปสู่ความไม่เป็นธรรมในสังคม
โรเบิร์ท มัลทัส
โรเบิร์ท มัลทัส เป็นผู้หนึ่งที่วางรากฐานให้กับเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ผลงานของเขาทำให้มีการสำรวจจำนวนประชากรในประเทศอังกฤษ ปัญหาประชากรเกิดจาก ประชากรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าจำนวนอาหาร ขนาดของประชากรที่เหมาะสมตามทรรศนะของ โรเบิร์ท มัลทัส คือ จำนวนประชากรที่ผลิตผลต่อหัวสูงสุด และในระยะยางอัตราค่าจ้างจะเท่ากับระดับพอยังชีพ
ตามทฤษฎีค่าเช่าของ โรเบิร์ท มัลทัส ค่าเช่าเป็นผลตอบแทนต่อการใช้ที่ดิน และถูกกำหนดโดยราคาของผลิตผลบนที่ดิน
ตามทฤษฎีมูลค่าของ โรเบิร์ท มัลทัส มูลค่าของสิ่งของจะถูกกำหนดโดยต้นทุนการผลิต แต่ราคาที่ซื้อขายมักจะสูงกว่าราคาธรรมชาติ ภาวะการล้นตลาดในทรรศนะของ โรเบิร์ท มัลทัส เกิดจากความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยเกินไปที่จะซื้อสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตได้
ประวัติและผลงานของ โรเบิร์ท มัลทัส
กฏประชากรของ โรเบิร์ท
มัลทัส
กฎประชากรของ โรเบิร์ท มัลธัส อธิบายว่า
ปัญหาประชากรเกิดจากการที่ประชากรเพิ่มขึ้นรวดเร็วกว่าจำนวนอาหาร
การแก้ปัญหาต้องใช้ทั้งวิธีการแก้ไขและการป้องกัน
ขนาดประชากรที่เหมาะสม และอัตราค่าจ้าง ซึ่งเท่ากับระดับพอยังชีพ
ในระยะยาว อัตราค่าจ้างจะเท่ากับระดับพอยังชีพ การปรับตัวของประชากรในระยะยาว
จะทำให้ค่าจ้างระยะยาวเท่ากับระดับพอยังชีพ
กล่าวคือเมื่อค่าจ้างสูงขึ้นกว่าระดับพอยังชีพ ประชากรจะเพิ่มมากขึ้น
เพราะถือว่ามีรายได้สูงพอที่จะเลี้ยงดูสมาชิกในครอบครัวได้
จำนวนแรงงานจะมากขึ้นทำให้ค่าจ้างลดลง
ในทางตรงข้ามเมื่อค่าจ้างต่ำกว่าระดับพอยังชีพจำนวนประชากรจะลดลง จำนวนแรงงานลดลง
และค่าจ้างจะสูงขึ้นไปจนเท่ากับระดับพอยังชีพ
ทฤษฎีค่าเช่าของ โรเบิร์ท
มัลทัส
ทฤษฎีค่าเช่าของ โรเบิร์ท มัลธัส
แสดงว่าการผลิตสินค้าเกษตรจะเผชิญกับกฎการลดน้อยถอยลงของผลได้
เพราะเมื่อใช้ทุนและแรงงานจำนวนมากขึ้นทำการผลิตบนที่ดินจำนวนเท่าเดิม
จะให้ผลตอบแทนลดลง
ทฤษฎีมูลค่าของ โรเบิร์ท มัลทัส
ทฤษฎีมูลค่าของ โรเบิร์ท มัลธัส
อธิบายว่า อุปสงค์ อุปทาน เป็นตัวกำหนดมูลค่าของสิ่งของ
มัลธัสยังคงเห็นว่ามูลค่าของสิ่งของถูกกำหนดโดย ต้นทุนการผลิต
แม้ว่าเขาจะเห็นว่ามูลค่าที่ซื้อขายกันจะสูงกว่าต้นทุนการผลิต
ทฤษฎีภาวะการล้นตลาดของ โรเบิร์ท มัลทัส
ตามทรรศนะของ โรเบิร์ท
มัลธัส ภาวะการล้นตลาดเกิดจากการที่อุปสงค์มีไม่พอที่จะซื้อสินค้า
และบริการที่ผลิตขึ้นมาได้
ทฤษฎีมูลค่าแสดงว่าคนงานมีรายได้ต่ำกว่ามูลค่าสินค้าที่ตนเองผลิตได้
และเจ้าของที่ดินมีฐานะดีพอที่จะเพิ่มอุปสงค์และแก้ภาวะการล้นตลาดได้
การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
การศึกษาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
ระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
ระบบเศรษฐกิจแบบแมนเนอร์
การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจสมัยกลาง
การก้าวไปสู่ระบบทุนนิยม
ชนชั้นกระฎุมพีกับสังคมศักดินา
การปฏิวัติอุตสาหกรรม
สภาพเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสงครามโลก
สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1
สภาพเศรษฐกิจและสังคมในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาหลังทศวรรษ 1960
วิกฤตการณ์เศรษฐกิจโลกหลังทศวรรษ 1970
ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้ว
การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจสู่สมัยใหม่ในเอเชีย
แนวคิดก่อนคลาสสิก
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมในช่วงก่อนกำเนิดแนวคิดพาณิชยนิยม
แนวคิดพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม
แนวคิดธรรมชาตินิยม
แนวคิดคลาสสิกของอดัม สมิธ
แนวคิดคลาสสิกของโรเบิร์ท มัลธัส
แนวคิดของเดวิด ริคาร์โด
แนวคิดของจอห์น สจ๊วต มิลล์
แนวคิดสังคมนิยม
แนวคิดสังคมนิยมแบบมาร์ก
แนวคิดนีโอคลาสสิก
แนวคิดเศรษฐศาสตร์สำนักโลซาน
เศรษฐศาสตร์ของพาเรโต
แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ในปัจจุบัน
ประวัติแนวคิดและนักคิดการเงินนิยม
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน
แนวคิดสำนักพึ่งพา