ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม อารยธรรม >>

ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ที่สำคัญในจังหวัดลำพูน

ประเพณีขึ้นดอยขะม้อ

ก่อนจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยเป็นประจำทุกปีของจังหวัดลำพูน3 วัน หรือในวันขึ้น 15 ค่ำของทุกปี จะมีประเพณีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของจังหวัดลำพูน คือประเพณีขึ้นดอยขะม้อ ซึ่งเชื่อกันว่าการขึ้นไปนมัสการบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์และได้นำน้ำศักดิ์สิทธิ์มาดื่มกินจะทำให้เกิดสิริมงคลในชีวิตและรักษาโรคต่างๆให้บรรเทาลงได้ ทุกปีจึงมีประชาชนทั้งในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมประเพณีดังกล่าวเป็นจำนวนมาก

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ดอยขะม้อตั้งอยู่บนภูเขาทางทิศตะวันออกของอำเภอเมืองลำพูน อันเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ธิ-แม่ตีบ-แม่สาร ในเขตท้องที่ตำบลมะเขือแจ้ มีลักษณะสูงชัน ยอดเขาแหลมแตกต่างจากบอดเขาที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันดุจกับเคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน มีลักษณะเหมือน”หม้อคว่ำ” ชาวเมืองแต่โบราณเรียกว่า “ดอยหม้อคว่ำ”ภายหลังเพี้ยนมาเป็น “ดอยขะม้อ”ปัจจุบันนี้บางคนเรียกว่า”ดอยขะม้อบ่อน้ำทิพย์” เพราะว่าบนยอดดอย มีบ่อน้ำเกิดกลางแผ่นดินสูง จึงถือว่าเป็นบ่อน้ำศํกดิ์สิทธิ์หรือชาวบ้านเรียกว่า “บ่อน้ำทิพย์”

มีตำนานเล่าขานกันต่อมาเกี่ยวกับประวัติของบ่อน้ำทิพย์นี้ว่า.......เมื่อครั้งพุทธกาลที่พระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ ได้เสด็จจาริกโปรดเวไนยสัตว์ในที่ต่างๆมาแวะฉันอาหารบนยอดดอยนี้ ก่อนที่จะฉันอาหารพระองค์ได้ทรงบิณฑบาตร แล้วขึ้นไปจัดแจงแต่งดาบนดอยลูกหนึ่งทางตอนเหนือของดอยขะม้อ ดอยลูกนั้นจึงได้ชื่อว่า “ดอยห้างบาตร”(ห้างเป็นภาษาเหนือที่แปลว่าแต่งดา) ดอยห้างบาตรรอยู่ในเขตตำบลห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ที่บนดอยห้างบาตรมีรอยบาตรประทับบนแผ่นดิน เมื่อจัดแจงแต่งดาบาตรเสร็จก็ออกบิณฑบาตไปตามหมู่บ้านต่างๆ แล้วไปแวะพักฉันอาหารบนยอดดอยขะม้อ เมื่อฉันอาหารเสร็จไม่มีน้ำจะเสวย

พระอานนท์จึงได้ไปตักน้ำยังลำห้วยแห่งหนึ่งทางทิศเหนือของดอยขะม้อ ปรากฏว่าลำห้วยตีบตันไปหมดไม่สามารถตักน้ำได้ จึงกลับมากราบทูลให้พระองค์ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า”ดูก่อนอานนท์ ต่อไปในภายภาคหน้าคนทั้งหลายจะเรียกลำห้วยนี้ว่า “แม่ตีบ”

พระอานนท์ขึงไปยังลำธารอีกแห่งหนึ่งทางทิศใต้ของดอยนี้ น้ำในลำธารใสสะอาดบังเอิญมีเกวียนผ่านไปเล่มหนึ่งทำให้น้ำขุ่นหมด พระอานนท์รอ(ท่า) อยู่เป็นเวลานานน้ำก็ไม่ใสสักทีจึงกลับไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ดูก่อนพระอานนท์ ต่อไปลำธารสายนี้ คนทั้งหลายจะเรียกว่า “แม่ท่า” ภายหลังเพี้ยนเป็น “แม่ทา” ในปัจจุบัน

<script async src="//pagead2.googlesyndication.com/pagead/js/adsbygoogle.js"></script>
<!-- center_2559 -->
<ins class="adsbygoogle"
style="display:block"
data-ad-client="ca-pub-2716469986870548"
data-ad-slot="8796964454"
data-ad-format="auto"></ins>
<script>
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
</script>

พระอานนท์จึงไปยังหนองน้ำแห่งหนึ่งทางทิศตะวันตกของดอยนี้ เมื่อพระอานนท์ไปถึงพญานาคที่รักษาหนองน้ำแห่งนั้นก็บันดาลให้หนองน้ำแห่งนั้นแห้งไปหมดไม่สามารถตักน้ำได้ พระอานนท์จึงรับกลับไปกราบทูลให้พระพุทธองค์ให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า “ดูก่อนพระอานนท์ ต่อไปในภายภาคหน้าคนทั้งหลายจะเรียกหนองน้ำแห่งนี้ว่า “หนองแล้ง” ปัจจุบันเป็นบ้านหนองแกล้ง (ไชยสถาน อยู่ในตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน)

เมื่อเป็นดังนี้ พระพุทธองค์จึงอธิษฐานถึงบารมีทาน แล้วใช้พระหัตถ์กดลงบนแผ่นหิน ฉับพลันก็มีน้ำพุ่งมาให้เสวยได้สมพระทัย พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “ดูก่อนพระอานนท์ เมื่อตถาคตเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ธาตุของตถาคตจะไปตั้งอยู่กลางเมืองหริภุญชัยในสมัยพญาอาทิตยกราช แล้วคนทั้งหลายจะมาตักเอาน้ำแห่งนี้ไปสรงพระธาตุของตถาคต”

ในประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย มีขึ้นเป็นประจำทุกปีตรงกับวันเพ็ญเดือนหก(วันวิสาขบูชา) หรือ วันเพ็ญเดือนแปด (เหนือ) ชาวบ้านเรียกว่า “ประเพณีเดือนแปดเป็ง”แล้วจะมีการตัดน้ำจากบ่อน้ำทิพย์ก่อนสรงน้ำ 3 วัน

บนยอดดอยขะม้อมีความกว้างประมาณ 12 เมตร ยาวประมาณ 30 เมตร ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อนอันเป็นต้นน้ำของลำห้วย”แม่ตีบ”

    พระวิหารหลังหนึ่งตั้งอยู่กับพระบาทจำลอง มีจาริกเป็นภาษาล้านนาจาริกว่า”เดือนยี่แรม7ค่ำได้เริ่มสร้างพระพุทธรูปในวิหารแล ต่อนั้นมาได้ซ่อมแซมพระพุทธบาท เถิงปี2472 ตั้งแต่เดือน5ขึ้น5ค่ำ ได้เริ่มทำบุญฉลอง โดยครูบาสิงห์ชัย วัดสะแล่ง พระครูชัยลังกา วัดศรีชุม ขุนจันทนุปาน กำนันตำบลมะเขือแจ้ และนายชัยกำนันตำบลบ้านกลาง หลังพระวิหารเก่าแก่นี้เป็นบ่อน้ำทิพย์เป็นลักษณะบ่อที่เกิดกลางแผ่นดิน ปากบ่อกว้างประมาณ 3 เมตรความลึกไม่สามารถวัดได้ มีรั้วล้อมรอบและมีป้ายห้ามผู้หญิงเจ้าไป เพราะมีความเชื่อว่าถ้าผู้หญิงเข้าไปแล้วน้ำในบ่อจะแห้งทันที

นอกจากนี้จะใช้น้ำทิพย์ในการสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัยแล้ว ยังได้มีการใช้น้ำทิพย์จากดอยขะม้อ ในพิธีบรมราชาภิเษกและงานราชพิธีต่างๆ โดยในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฆเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พ.ศ.2453 (โดยพิธีจัดในปี 2454) ให้มีการพลีกรรมตักน้ำจากแม่น้ำและแหล่งน้ำต่างๆที่ถือว่าสำคัญและเป็นศิริมงคลมาตั้งทำน้ำพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ณ มหาเจดียสถานที่เป็นมหานครโบราณ 7 แห่ง คือ

1.แม่น้ำป่าสัก ตำบลท่าราบ (เมืองศรีเทพ)
2.ทะเลแก้วและสระแก้ว เมืองพิษณุโลก
3.น้ำโชคชมภู่ น้ำบ่อแก้ง น้ำบ่อทอง เมืองสวรรคโลก
4.แม่น้ำนครไชยศรี ตำบลบางแก้ว จังหวัดนครปฐม (เมืองนครชัยศรีโบราณ)
5.บ่อวัดหน้าพระลาน บ่อวัดเสมาชัย บ่อวัดเสมาเมือง เมืองนครศรีธรรมราช
6.บ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
7. บ่อน้ำวัดธาตุพนม เมืองนครพนม

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ใช้น้ำจากบ่อน้ำทิพย์ดอยขะม้อในราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยในปี พ.ศ.2468 รัชกาลที่ 8 ไม่มีพิธีราชาภิเษกและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ใช้น้ำทิพย์ดอยขะม้อในพิธีบรมราชาภิเษกในปี 2493 และมีการใช้น้ำจากบ่อน้ำทิพย์นราชพิธีต่างๆตามโบราณราชประเพณี

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย