ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>
โลกแบบในทัศนะของอริสโตเติล
เอกภาพ (The Unities)
ความเป็นสากล (universality)
ความแตกต่างระหว่างกวีนิพนธ์กับประวัติศาสตร์
ประวัติของอริสโตเติล
โศกนาฏกรรม - หัสนาฏกรรม
การเรียนรู้และการอนุมาน (learning and inference)
ความรู้สึกสงสารและความกลัว (pity and fear)
katharsis (catharsis) การระบายอารมณ์ความรู้สึก
หนังสือเล่มที่สองของ Poetics ที่หายไป
หัสนาฏกรรม
เปรียบเทียบระหว่างละครโศกนาฏกรรมกับมหากาพย์
เอกภาพ
(The Unities)
ส่วนใหญ่แล้ว เนื้อหาเรื่อง Poetics ได้รับการอุทิศให้กับการละคร
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับโศกนาฏกรรม Aristotle
ได้นำเสนอถึงประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับพัฒนาการของกวีนิพนธ์และการละคร
รวมถึงให้กรอบการวิจารณ์สำหรับการประเมินคุณค่าละครโศกนาฏกรรมด้วย
Poetics ถือเป็นความเรียงที่เป็นระบบเรื่องแรกในทฤษฎีวรรณกรรม
อันเต็มไปด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง
และแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่นอย่างมากในการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ
คล้ายดั่งความพยายามด้านอื่นๆ ของ Aristotle จำนวนมากที่จะทำให้ขอบเขตความรู้หนึ่งๆ
เป็นระบบขึ้นมา กรอบความคิดนี้ค่อนข้างมีอิทธิพลอย่างมากกระทั่งปัจจุบัน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ส่งอิทธิพลในช่วงระหว่างยุคเรอเนสซองค์
และช่วงต้นยุคสมัยใหม่ของยุโรป
Aristotle เน้นถึงความต้องการทำให้เกิดเอกภาพในผลงาน
พล็อตเรื่องควรถูกทำให้มีเอกภาพ การพรรณา ผลกระทบ การแสดงที่ถูกยืดออก
ซึ่งเริ่มจากจุดตั้งต้น พัฒนาการต่อมา และจนถึงจุดวิกฤตในตอนจบ(climactic
conclusion). (แน่นอน มันไม่ควรถูกพัฒนาในแบบที่คาดเดาได้อย่างน่าเบื่อ
แต่ควรจะพลิกผันสร้างความประหลาดใจ
เพื่อจะทำให้คนดูสนใจและถูกปลุกเร้าอารมณ์ปรารถนา
รวมถึงความรู้สึกสงสารและความกลัว)
คุณลักษณะของตัวเอก(ตัวชูโรง) ควรคงเส้นคงวา และการแสดงของตัวละครทั้งหลาย
ควรกลั่นออกมาภายใต้สถานการณ์ต่างๆ ช่วงเวลาของการแสดงควรถูกทำให้เป็นเอกภาพด้วย
ทั้งนี้เพื่อทำให้พล็อตเรื่องสามารถเกาะติดกับความทรงจำในฐานะที่เป็นการแสดง.
Aristotle คิดว่า ปกติแล้วมีนัยยะว่า การแสดง(การดำเนินเรื่อง)
น่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงวันเดียว. เอกภาพการแสดงต่างๆ ตัวละคร
และช่วงเวลา
เหล่านี้ได้รับการพัฒนาและเพิ่มเติมต่อมาโดยบรรดานักประพันธ์ในยุคเรอเนสซองค์
เพื่อสร้างกฎเกณฑ์ รสนิยมที่ดี คุณสมบัติของความงาม(decorum) สำหรับการสร้างงานละคร
และความล้มเหลวในความใส่ใจเรื่องของเอกภาพ
มักจะหมายถึงการนำไปสู่ความล้มเหลวของผลงาน แน่นอน นี้คือสิ่งที่นำไปสู่การกบฎต่อ
Aristotle ซึ่งอันที่จริงคือคนที่ไม่รับผิดชอบสำหรับความเกินเลยไปจากกฎเกณฑ์
และไม่ต้องสงสัยว่ามิได้ตั้งใจที่จะสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ขึ้นมาชุดหนึ่งสำหรับนักแต่งบทละครเป็นประการแรก
ส่วนเรื่องของมาตรฐานการวิจารณ์ของเขากลับไม่มีอิทธิพลต่อมาในการประเมินคุณค่าละครและนวนิยาย
โดยไม่ต้องกล่าวถึงงานอื่นๆ. แต่เรื่อง Poetics
ยังคงประสบความสำเร็จอย่างน่าประทับใจ
และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งจำนวนมากยังคงความน่าเชื่อถือมาอย่างต่อเนื่อง
ดูเหมือนว่ามันยังคงเป็นกฎเกณท์ทั่วไปที่ดี ซึ่งพล็อตเรื่องหนึ่งๆ
ควรถูกทำให้มีเอกภาพ
ในงานละคร นักแสดงควรจะเผยตัวออกมาด้วยการกระทำ
ความแปรผันน่าประหลาดใจคือตัวช่วยที่สำคัญสำหรับพล็อตเรื่องหนึ่ง
ตราบเท่าที่สิ่งเหล่านี้จะไม่เหลือเชื่อจนเกินไป
และไม่ควรที่จะพยายามครอบคลุมห้วงเวลาที่เป็นจริงยาวนานเกินไปในช่วงเวลาของละคร