ปรัชญา อภิปรัชญา ญาณวิทยา จิตวิทยา ตรรกศาสตร์ >>

ปรัชญาความงาม

โลกแบบในทัศนะของอริสโตเติล
เอกภาพ (The Unities)
ความเป็นสากล (universality)
ความแตกต่างระหว่าง”กวีนิพนธ์”กับ”ประวัติศาสตร์”
ประวัติของอริสโตเติล
โศกนาฏกรรม - หัสนาฏกรรม
การเรียนรู้และการอนุมาน (learning and inference)
ความรู้สึกสงสารและความกลัว (pity and fear)
katharsis (catharsis) – การระบายอารมณ์ความรู้สึก
หนังสือเล่มที่สองของ Poetics ที่หายไป
หัสนาฏกรรม
เปรียบเทียบระหว่างละครโศกนาฏกรรมกับมหากาพย์

ความแตกต่างระหว่าง”กวีนิพนธ์”กับ”ประวัติศาสตร์”

ศิลปะได้รับการนิยามโดย Aristotle ในฐานะที่เป็นการตระหนักถึงรูปแบบภายนอกของความคิดที่เป็นจริงอันหนึ่ง และได้รับการตามรอยย้อนกลับไปสู่ความรักในธรรมชาติเกี่ยวกับการเลียนแบบที่แสดงลักษณะพิเศษของมนุษย์ และความพึงพอใจซึ่งเรารู้สึกในการยอมรับความเหมือนจริง(likenesses). อย่างไรก็ตาม ศิลปะมิได้ถูกจำกัดเพียงแค่การสำเนาหรือเลียนแบบ แต่ศิลปะทำให้ธรรมชาติเป็นอุดมคติและทำให้ข้อบกพร่องสมบูรณ์ขึ้น กล่าวคือ ศิลปะแสวงหาหรือไขว่คว้าแบบของความเป็นสากลในปรากฏการณ์แต่ละปัจเจก

โดยเหตุนี้ ความแตกต่างระหว่าง”ศิลปะกวีนิพนธ์”กับ”ประวัติศาสตร์” จึงไม่ใช่เรื่องของการใช้มาตรวัด ส่วนอีกด้านหนึ่งไม่ใช้. ความแตกต่างคือ “ขณะที่ประวัติศาสตร์ถูกจำกัดด้วยข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น กวีนิพนธ์ได้ให้ภาพหรือพรรณาสิ่งต่างๆ ในลักษณะที่เป็นสากลของพวกมัน และด้วยเหตุนี้ กวีนิพนธ์จึงมีลักษณะในเชิงปรัชญาและยกระดับขึ้นเกินกว่าประวัติศาสตร์”. การเลียนแบบอาจแสดงออกหรือเป็นตัวแทนผู้คนซึ่งอาจทำได้ดีกว่าหรือเลวกว่าที่คนๆ นั้นเป็น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ก็ไปพ้นหรือต่ำกว่ามาตรฐานโดยเฉลี่ย



หัสนาฏกรรม (Comedy)
“หัสนาฏกรรม”คือการเลียนแบบตัวอย่างที่เลว (worse examples) ของมนุษยชาติ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องไม่เข้าใจไปในความหมายความเลวบริสุทธิ์(absolute badness), เป็นแต่เพียงสิ่งที่ต่ำลงมาและเป็นเรื่องชั่วร้ายหรือเป็นเรื่องของพวกไพร่ (ignoble) อันเป็นเรื่องที่น่าหัวเราะและตลกขบขัน

โศกนาฏกรรม(Tragedy)
“โศกนาฏกรรม”คือการเป็นตัวแทนเรื่องราวที่จริงจังหรือมีความหมาย โศกนาฏกรรมคือการเป็นตัวแทนซึ่งถูกทำขึ้นโดยการแสดง มิใช่เพียงการเล่าเรื่อง มันถูกทำให้เหมาะเจาะด้วยการถ่ายทอดหรือพรรณาถึงเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความหวาดกลัวและน่าตื่นเต้น เกิดความรู้สึกสงสารในใจของผู้ชม ผู้ชมจักได้รับการชำระล้างและทำให้บริสุทธิ์จากความรู้สึกเหล่านั้น และสามารถที่จะยืดขยายและควบคุมความรู้สึกเห็นอกเห็นใจได้ ด้วยเหตุนี้ มันจึงเป็นการแก้ไขปัญหาหรือการเยียวยาในแบบวิธีการ homeopathic curing (หนามยอก เอาหนามบ่ง) เกี่ยวกับกิเลสตัณหาต่างๆ

โดยทั่วไป ตราบเท่าที่ศิลปะทำให้เหตุการณ์เฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นสากลขึ้นมา โศกนาฏกรรมได้ให้ภาพสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์รุนแรงและวิกฤตต่างๆ ซึ่งดูดดึงใจผู้ดูออกจากความเห็นแก่ตัวและจุดยืนที่เป็นเรื่องส่วนตัว พร้อมมองสิ่งที่เกิดขึ้นในความเชื่อมโยงกับมนุษย์จำนวนมากทั่วไป. อันนี้คล้ายคลึงกับคำอธิบายของ Aristotle เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทางด้านดนตรีที่ไร้การควบคุม ความเมามายสุดเหวี่ยง ในการบูชาเทพ Bacchus [Dionysus] และเทพเจ้าอื่นๆ กล่าวคือ มันเป็นช่องระบายอย่างหนึ่งสำหรับความรู้สึกท่วมท้นในศาสนา และด้วยเหตุนี้จึงทำให้อารมณ์ความรู้สึกทางศาสนาของคนๆ นั้นมั่นคง แน่วแน่ ไม่สั่นคลอน

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย